เมนู

11. ปังกธาสูตร



ว่าด้วยผู้สรรเสริญและไม่สรรเสริญ



[531] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในประเทศ-
โกศล
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถึงตำบลปังกธา ประทับพักที่นั่น
คราวนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาสในตำบลนั้น ที่นั่น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริง ด้วย
ธรรมมีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระองค์ทรงสอนภิกษุให้เห็นแจ้ง ...อยู่
ภิกษุกัสสปโคตรเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับสำราญพระอิริยาบถ ณ ตำบลปังกธา
ตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงกรุงราชคฤห์ ประทับ ณ
ภูเขาคิชกูฏ
ฝ่ายภิกษุกัสสปโคตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน
เกิดร้อนรำคาญใจได้คิดขึ้นว่า เราเสีย ๆ แล้ว เราได้ชั่วแล้ว ซึ่งเมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรม-
มีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เราเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
อย่ากระนั้นเลย เราไปเฝ้าสารภาพโทษเถิด ครั้นตกลงใจแล้ว จึงเก็บงำเสนาสนะ
ถือบาตรจีวรไปกรุงราชคฤห์ ถึงภูเขาคิชฌกูฏ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
ครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับพัก ณ ตำบลปังกธา ประเทศโกศล ที่นั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อทรงสอนภิกษุ...อยู่ ข้าพระพุทธเจ้า

เกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก คราวนั้นพระองค์ประทับสำราญ
พระอิริยาบถ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกมากรุงราชคฤห์
พอเสด็จแล้วไม่นานข้าพระพุทธเจ้าก็รู้สึกร้อนรำคาญใจได้คิดว่า เราเสียๆ แล้ว
เราได้ชั่วแล้ว ซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
สมาทานอาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ เราเกิดความไม่
พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก อย่ากระนั้นเลย เราไปเฝ้าสารภาพโทษเถิด
ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความผิด (ฐานนึกล่วงเกิน) ได้เกิดแก่ข้าพระ-
พุทธเจ้าแล้ว โดยที่เขลา โดยที่หลง โดยที่ไม่ฉลาด ซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอน...อยู่ ข้าพระพุทธเจ้าเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโทษโดยความเป็นโทษ เพื่อข้าพระพุทธเจ้าจะ
สังวรต่อไปเถิด.
พ. ตรัสว่า จริงละ กัสสป ความผิดได้เกิดแก่ท่านแล้ว โดยที่เขลา
โดยที่หลง โดยที่ไม่ฉลาด ซึ่งเมื่อเราสอน ...อยู่ ท่านได้เกิดความไม่พอใจ
ขึ้นว่า สมณะนี้เคร่งเกินไป เมื่อท่านเห็นความผิดแล้วทำคืนตามวิธีที่ชอบ
เรารับโทษโดยความเป็นโทษ อันการที่เห็นความผิดแล้วทำคืนตามวิธีที่ชอบ
ถึงความสังวรต่อไป นั่นเป็นความเจริญในวินัยของพระอริย.
แน่ะกัสสป ถ้าภิกษุเถระก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุนวกะก็ดี
เป็นผู้ไม่ใคร่ศึกษา ไม่กล่าวคุณแห่งการบำเพ็ญสิกขา ไม่ชักชวนภิกษุอื่น ๆ
ที่ไม่ใคร่ศึกษาให้ศึกษา ไม่ยกย่องภิกษุอื่น ๆ ที่ใคร่ศึกษา โดยที่จริงที่แท้
ตามเวลาอันควร กัสสป เราไม่สรรเสริญภิกษุเถระ ภิกษุมัชฌิมะและ
ภิกษุนวกะรูปนี้เลย เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า (ถ้าเราสรรเสริญ) ภิกษุ
อื่น ๆ รู้ว่าพระศาสดาสรรเสริญภิกษุรูปนั้น ก็จะพากันคบภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
เหล่าใดคบภิกษุรูปนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็จะถึงทิฏฐานุคติ (ได้เยี่ยงอย่าง) ของ
ภิกษุรูปนั้น ซึ่งจะเป็นทางเกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เกิดทุกข์แก่ภิกษุผู้คบ

ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุรูปนั้น จะเป็นเถระ
มัชฌิมะ นวกะก็ตาม
แต่ถ้าภิกษุเถระก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุนวกะก็ดี เป็นผู้ใคร่
ศึกษา กล่าวคุณแห่งการบำเพ็ญสิกขา ชักชวนภิกษุอื่น ๆ ที่ไม่ใคร่ศึกษาให้
ศึกษา ยกย่องภิกษุอื่น ๆ ที่ใคร่ศึกษา โดยที่จริงที่แท้ตามเวลาอันควร
เราสรรเสริญภิกษุเถระ ภิกษุมัชฌิมะ และภิกษุนวกะ เช่นนี้ เพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ภิกษุอื่น ๆ รู้ว่าพระศาสดาสรรเสริญเธอ ก็จะพึงคบเธอ ภิกษุ
เหล่าใดคบเธอ ภิกษุเหล่านั้นก็จะพึงได้เยี่ยงอย่างของเธอ ซึ่งจะพึงเป็นทาง
เกิดประโยชน์ เกิดสุขแก่ภิกษุผู้คบตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึง
สรรเสริญภิกษุเช่นนั้นจะเป็นเถระ มัชฌิมะ นวกะก็ตาม.
จบปังกธาสูตรที่ 11
จบสมณวรรคที่ 4


อรรถกถาปังกธาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปังกธาสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปํกธา นาม โกสลานํ นิคโม ความว่า นิคมในโกสลรัฐ
ที่มีชื่ออย่างนี้ว่า ปังกธา. บทว่า อาวาสิโก ความว่า ภิกษุเจ้าอาวาสร้าง
อาวาสหลังใหม่ ๆ ขึ้น บำรุงรักษาอาวาสหลังเก่าๆ. บทว่า สิกฺขาปทปฏิสํ-
ยุตฺตาย
ได้แก่ ปฏิสังยุตด้วยบทกล่าวคือสิกขา อธิบายว่า ประกอบด้วย
สิกขา 3. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ ทรงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นเหมือนอยู่
พร้อมหน้า. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ให้ภิกษุทั้งหลายถือเอา. บทว่า สมุตฺเต