เมนู

สูงอย่างใด ต่ำก็อย่างนั้น กลางวันอย่าง
ใด กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างใด
กลางวันก็อย่างนั้น ครอบงำทิศทั้งปวง
ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าผู้นั้นดำเนิน
เสขปฏิปทา มีความประพฤติหมดจดดี
กล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นปราชญ์
ปฏิบัติสำเร็จในโลก เพราะวิญญาณดับ
ความพ้นแห่งใจของผู้วิมุต เพราะสิ้น
ตัณหา ย่อมมีเหมือนความดับแห่งตะเกียง
(เพราะสิ้นเชื้อเพลิง) ฉะนั้น.

จบทุติยสิกขาสูตรที่ 10

อรรถกถาทุติยสิกขาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสิกขาสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า อาสวานํ ขยา นี้ มีอธิบายว่า อรหัตมรรค ชื่อว่า
อธิปัญญาสิกขา. ส่วนผลไม่ควรกล่าวว่า สิกขา เพราะเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ได้ศึกษาสิกขาแล้ว.
บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า ในตอนต้น ท่านศึกษา
ในสิกขา 3 อย่าง ภายหลังก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในบทที่ 2 ก็มีนัย
นี้แล. บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธํ ความว่า ท่านพิจารณาเห็นกาย

เบื้องต่ำ ด้วยสามารถแห่งอสุภะอย่างใด ก็พิจารณาเห็นกายเบื้องสูงอย่างนั้น
เหมือนกัน. แม้ในบทที่ 2 ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยถา ทิวา ตถา
รตฺตึ
ความว่า ในเวลากลางวันท่านศึกษาสิขา 3 อย่าง แม้ในเวลากลางคืน
ก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่1 อภิภุยฺย ทิสา สพฺพา ความว่า
ครอบงำทิศทั้งปวง คือ ครอบงำ ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. บทว่า อปฺปมาณ-
สมาธินา
คือ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรค. บทว่า เสกฺขํ ได้แก่
ผู้ยังศึกษาอยู่ คือผู้ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ผู้ปฏิบัติ.
บทว่า สํสุทฺธจารินํ ได้แก่ ผู้มีจรณะบริสุทธิ์ดี คือ ผู้มีศีลบริสุทธิ์. บทว่า
สมฺพุทฺธํ ได้แก่ผู้ตรัสรู้สัจจะ 4. บทว่า ธีรํ ปฏิปทนฺตคุํ. ความว่า
เป็นปราชญ์ คือผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ ด้วยอำนาจแห่งปัญญา
เครื่องทรงจำ ในขันธ์ธาตุ และอายตนะ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งวัตรปฏิบัติ.
บทว่า วิญฺญาณสฺส ได้แก่ แห่งจริมกวิญญาณ (จิตดวงสุดท้าย).
บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย อรหัตผลวิมุตติ กล่าวคือ
ความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา. บทว่า ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพานํ หมายความว่า
เปรียบเหมือนการดับไปของดวงประทีป. บทว่า วิโมกฺโข โหติ เจตโส
ความว่า ความหลุด คือ ความพ้น ได้แก่ ภาวะคือความไม่เป็นไปแห่งจิต
มีอยู่. อธิบายว่า ก็ความหลุดพ้นไปแห่งจิตที่เปรียบเหมือนการดับไปของ
ดวงประทีปย่อมมี แก่พระขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา เพราะจริมก-
วิญญาณดับไป สถานที่ที่พระขีณาสพไปก็ไม่ปรากฏ ท่านเป็นผู้เข้าถึงความ
เป็นผู้หาบัญญัติมิได้เลย.
จบอรรถกถาทุติยสิกขาสูตรที่ 10

11. ปังกธาสูตร



ว่าด้วยผู้สรรเสริญและไม่สรรเสริญ



[531] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในประเทศ-
โกศล
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถึงตำบลปังกธา ประทับพักที่นั่น
คราวนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาสในตำบลนั้น ที่นั่น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริง ด้วย
ธรรมมีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระองค์ทรงสอนภิกษุให้เห็นแจ้ง ...อยู่
ภิกษุกัสสปโคตรเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับสำราญพระอิริยาบถ ณ ตำบลปังกธา
ตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงกรุงราชคฤห์ ประทับ ณ
ภูเขาคิชกูฏ
ฝ่ายภิกษุกัสสปโคตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน
เกิดร้อนรำคาญใจได้คิดขึ้นว่า เราเสีย ๆ แล้ว เราได้ชั่วแล้ว ซึ่งเมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรม-
มีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เราเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
อย่ากระนั้นเลย เราไปเฝ้าสารภาพโทษเถิด ครั้นตกลงใจแล้ว จึงเก็บงำเสนาสนะ
ถือบาตรจีวรไปกรุงราชคฤห์ ถึงภูเขาคิชฌกูฏ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
ครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับพัก ณ ตำบลปังกธา ประเทศโกศล ที่นั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อทรงสอนภิกษุ...อยู่ ข้าพระพุทธเจ้า