เมนู

อรรถกถาจตุตถเสขสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถเสขสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตํ วา ปน อนภิสมฺภวํ อปฺปฏิวิชฺฌํ ความว่า
พระอนาคามียังไม่บรรลุ ยังไม่แทงตลอดอรหัตผลนั้น. นักศึกษาพึงทราบ
ความหมายในที่ทุกแห่ง (ที่มีคำว่า ตํ วา ปน อนภิสมฺภวํ อปฺปฏิวิชฺฌํ)
โดยนัยนี้. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสิกขา 3 อย่างไว้คละกัน
ทีเดียว.
จบอรรถกถาจตุตถเสขสูตรที่ 8

9. ปฐมสิกขาสูตร



ว่าด้วยไตรสิกขา



[529] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา 3 นี้ สิกขา 3 คืออะไรบ้าง
คืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขานี้อย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจาก
กาม...จากอกุศลกรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน... นี้
เรียกอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า
นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิกขา 3.
จบปฐมสิกขาสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมสิกขาสูตร



ในสูตรที่ 9 มีความหมายง่ายทั้งนั้น. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสสิกขา 3 ไว้ปนกันแล.
จบอรรถกถาปฐมสิกขาสูตรที่ 9

10. ทุติยสิกขาสูตร



ว่าด้วยไตรสิกขา



[530] (สูตรนี้ ตอนต้นเหมือนสูตรก่อน ต่างกันแต่ตอนแก้ อธิ-
ปัญญาสิกขา
คือสูตรก่อนแสดงอริยสัจเป็นอธิปัญญาสิกขา ส่วนสูตรนี้
แสดงพระอรหัต เป็นอธิปัญญาสิกขา และมีนิคมคาถาดังนี้)
อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ นี้เรียกว่าอธิปัญญา-
สิกขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลสิกขา 3
ผู้มีความเพียร มีกำลัง มีปัญญา มี
ความพินิจ มีสติ รักษาอันทรีย์ พึงประพฤติ
อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ก่อนอย่างใด
ภายหลังก็อย่างนั้น ภายหลังอย่างใด
ก่อนก็อย่างนั้น ต่ำอย่างใด สูงก็อย่างนั้น