เมนู

6. อปัณณกสูตร


ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด


[455] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา1 และเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลายชื่อว่า
เป็นอันภิกษุนั้นได้เริ่มแล้วด้วยธรรม 3 ประการ คืออะไรบ้าง คือภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแท้ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ เป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน
1. ก็ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่าง-
ไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว . .ฟังเสียงด้วยหูแล้ว
ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว
..รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาโดยนิมิต2 ไม่ถือเอาโดยอนุ-
พยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล จะพึงไหล
ไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ...
ใจอยู่ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ...
กาย...ใจ อันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก
... ลิ้น ... กาย ... ใจนั้น รักษาอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ...
กาย ... ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ ตา ... หู ...จมูก ... ลิ้น ...
กาย ... ใจ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วใน
อินทรีย์ทั้งหลาย
1. ข้อปฏิบัติไม่ผิด
2. ถือโดยนิมิต ได้แก่รวบถือเอาทั้งหมดในรูปที่ได้เห็น ฯลฯ ว่างาม ท่านเปรียบด้วยกิริยาที่
จระเข้ฮุบเหยื่อ ถือโดยพยัญชนะ ได้แก่เลือกถือเอาเป็นอย่าง ๆ ในรูป ฯลฯ นั้นว่า
คิ้วงาม นัยน์ตางาม จมูกงาม เป็นต้น ท่านเปรียบด้วยกิริยาที่เป็ดไซ้หาเหยื่อ

2. ก็ภิกษุเป็นผู้รู้จักบ่ระมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา
มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อบ่ระเทืองผิว เพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อ
ยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อหายความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์1 ด้วยคิดว่า
ด้วยการกินอาหารนี้ เราจักระงับเวทนาเก่า2 เสียได้ด้วย เราจักไม่ยังเวทนํ.
ใหม่3 ให้เกิดขึ้นด้วย ความสมประกอบ ความไม่มีโทษและความอยู่ผาสุก
จักมีแก่เรา อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
3. ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอนอย่างไร ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม4 ด้วยการจงกรม5
ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่ง ตอนยามกลาง สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา
ซ้อนเท้าให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา ไว้ในใจ ตอน
ยามปลาย กลับลุกขึ้นชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา และเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า
เป็นอันภิกษุนั้นได้เริ่มแล้วด้วย.
จบอปัณณกสูตรที่ 6
1. คือเพื่อให้มีกำลังบำเพ็ญพรหมจรรย์ต่อไป 2. ความหิว 3. ความอึดอัดเพราะกินเกิน
ประมาณหรือโทษต่าง ๆ ที่เกิดเพราะกินไม่รู้จักประมาณ 4. ธรรมคือเครื่องกั้นจิตไม่ให้
บรรลุความดี คือ นิวรณ์นั่นเอง 5. เดินทำกัมมัฏฐาน เพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถไป
ในตัว

อรรถกถาอปัณณกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยใน อปัณณกสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อปณฺณกปฏิปทํ ความว่า พระอริยบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติ
ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาด คือข้อปฏิบัติที่ดีโดยส่วนเดียว ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์
ออกจากกาม ข้อปฏิบัติที่ประกอบด้วยเหตุ ข้อปฏิบัติที่มีสาระ ข้อปฏิบัติ
ที่เป็นหลัก (มัณฑปฏิปทา) ข้อปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก ข้อปฏิบัติที่เหมาะสม
ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติโดยการคาดคะเน (ตักกวิทยา)
หรือโดยถือเอาตามนัย. เพราะว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา
ผู้ก่อปฏิบัติอย่างนี้ (ถือโดยตักกะ ถือโดยนัย)จะเสื่อมจากมนุษยสมบัติ เทวสมบัติ
และนิพพานสมบัติ. ส่วนผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา จะไม่เสื่อมจากสมบัติเหล่านั้น.

นายกองเกวียน 2 พวก



เหมือนในอดีตสมัย เมื่อนายกองเกวียน 2 พวก เดินทางไปสู่ที่
กันดาร นายกองเกวียนผู้โง่เขลา เชื่อคำของยักษ์ ถึงความฉิบหายพร้อมกับ
พวกพ่อค้า (ส่วน) นายกองเกวียนผู้ฉลาด ไม่เชื่อฟังคำของยักษ์ คิดว่า
เราจักทิ้งน้ำในที่เราได้พบน้ำ ดังนี้แล้ว ให้สัญญาณกับพวกพ่อค้า1 แล้วจึง
เดินทางไป ซึ่งท่านหมายเอา กล่าว คาถานี้ ว่า
คนพวกหนึ่งได้กล่าว ฐานะ ที่ไม่
ผิด นักคาดคะเน กล่าวฐานะที่สอง (ผิด)
นักปราชญ์รู้ฐานะถูกผิดนี้แล้ว ควรถือเอา
แต่ฐานะที่ไม่ผิด.

1. ปาฐะว่า สตฺถวาเหน สทฺธึ สตฺเถ อนยพฺสนํ ปตเต ฉบับพม่าเป็น พาลสตฺถวาโห สทฺธึ
สตฺเถน อพฺยสนํ ปตฺเต แปลตามฉบับพม่า.