เมนู

7. ตติยเสขสูตร



ว่าด้วยเสขบุคคล



[527] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ 150 นี้ ย่อมมาสู่
อุทเทสทุกกึ่งเดือน ฯลฯ* นี้แล สิกขา 3 ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำพอประมาณในสมาธิและในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เวียนว่าย
ตายเกิดไปในเทวโลกและมนุษยโลก 7 ชาติเป็นอย่างมาก ก็ทำที่สุดทุกข์
(คือทำทุกข์ให้สิ้น. สำเร็จพระอรหัต) ได้ เป็น โกลังโกละ เวียนว่าย
ตายเกิดไป 2 หรือ 3 ชาติ ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ เป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์
อีกชาติเดียว ก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 ราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น
สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ในศีลและในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ เป็น อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามี
(ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ) เป็น สสังขาร-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) เป็น อสังขาร-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก) เป็น อุปหัจจ-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด) เป็น อันตรา-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง)
* ความพิสดารเหมือน ทุติยเสขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ทั้งในศีล ทั้งในสมาธิ ทั้งในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ ย่อมทำได้ดีเพียง
เอกเทศ ผู้ทำได้บริบูรณ์ ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ เราจึงกล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
หาเป็นหมันไม่.
จบตติยเสขสูตรที่ 3

อรรถกถาตติยเสขสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในตติยเสขสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-

พระโสดาบัน



บทว่า โกลํโกโล ได้แก่ (พระโสดาบัน) ไปจากตระกูลสู่ตระกูล.
ก็ในบทว่า. ตระกูล นี้ ท่านประสงค์เอา ภพ เพราะเหตุนั้น แม้ในบทว่า
2 หรือ 3 ตระกูล นี้ พึงทราบความหมายว่า 2 หรือ 3 ภพ. จริงอยู่
พระโสดาบันนี้ย่อมท่องเที่ยวไป 2 ภพบ้าง 3 ภพบ้าง หรืออย่างสูงที่สุดก็ 6
ภพ เพราะเหตุนั้น พึงเห็นวิกัป (ข้อกำหนด) ในบทนี้อย่างนี้ว่า 2 ภพบ้าง
3 ภพบ้าง 4 ภพบ้าง 5 ภพบ้าง 6 ภพบ้าง.

พระสกทาคามี



บทว่า เอกวีชี มีรูปวิเคราะห์ว่า พืชของภพหนึ่งเท่านั้น ของพระ-
อริยะนี้มีอยู่ เหตุนั้น พระอริยะนี้จึงชื่อว่า เอกวีชี (ผู้มีพืชครั้งเดียว).