เมนู

ลักษณะพระสกทาคามี



บทว่า ตนุตฺตา แปลว่า เพราะ (กิเลสทั้งหลาย) เบาบาง. อธิบายว่า
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ของพระสกทาคามีเบาบางไม่แน่นหนา เปรียบ-
เหมือนชั้นแผ่นเมฆและเปรียบเหมือนปีกแมลงวัน.

ลักษณะของพระอนาคามี



บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ได้แก่ เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
สํโยชนานํ ได้แก่ สังโยชน์ (เครื่องผูกทั้งหลาย).บทว่า ปริกฺขยา แปลว่า
เพราะความสิ้นไป. บทว่า โอปปาติโก โหติ ได้แก่ เป็นผู้อุบัติขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ปรินิพฺพายี ได้แก่ มีอันไม่ลงมาเกิดในภพชั้นต่ำ ๆ จะ
ปรินิพพานในภพชั้นสูงนั้นแล. บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่
หวนกลับมาอีกเป็นธรรมดา ด้วยอำนาจกำเนิดและคติ.

ผู้ทำได้เป็นบางส่วน - ผู้ทำได้สมบูรณ์



ในบทว่า ปเทสํ ปเทสฺการี เป็นต้น มีอธิบายว่า พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้มีปกติทำได้เป็นบางส่วน
คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีนั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์
ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น (ส่วน) พระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์
คือ พระอรหันต์นั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์ได้บริบูรณ์ทีเดียว. บทว่า
อวญฺฌานิ คือ ไม่เปล่า อธิบายว่า มีผล มีกำไร. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา 3 ไว้คละกัน.
จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ 6

7. ตติยเสขสูตร



ว่าด้วยเสขบุคคล



[527] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ 150 นี้ ย่อมมาสู่
อุทเทสทุกกึ่งเดือน ฯลฯ* นี้แล สิกขา 3 ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำพอประมาณในสมาธิและในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เวียนว่าย
ตายเกิดไปในเทวโลกและมนุษยโลก 7 ชาติเป็นอย่างมาก ก็ทำที่สุดทุกข์
(คือทำทุกข์ให้สิ้น. สำเร็จพระอรหัต) ได้ เป็น โกลังโกละ เวียนว่าย
ตายเกิดไป 2 หรือ 3 ชาติ ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ เป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์
อีกชาติเดียว ก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 ราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น
สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ในศีลและในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ เป็น อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามี
(ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ) เป็น สสังขาร-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) เป็น อสังขาร-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก) เป็น อุปหัจจ-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด) เป็น อันตรา-
ปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง)
* ความพิสดารเหมือน ทุติยเสขสูตร