เมนู

ลักษณะพระสกทาคามี



บทว่า ตนุตฺตา แปลว่า เพราะ (กิเลสทั้งหลาย) เบาบาง. อธิบายว่า
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ของพระสกทาคามีเบาบางไม่แน่นหนา เปรียบ-
เหมือนชั้นแผ่นเมฆและเปรียบเหมือนปีกแมลงวัน.

ลักษณะของพระอนาคามี



บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ได้แก่ เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
สํโยชนานํ ได้แก่ สังโยชน์ (เครื่องผูกทั้งหลาย).บทว่า ปริกฺขยา แปลว่า
เพราะความสิ้นไป. บทว่า โอปปาติโก โหติ ได้แก่ เป็นผู้อุบัติขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ปรินิพฺพายี ได้แก่ มีอันไม่ลงมาเกิดในภพชั้นต่ำ ๆ จะ
ปรินิพพานในภพชั้นสูงนั้นแล. บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่
หวนกลับมาอีกเป็นธรรมดา ด้วยอำนาจกำเนิดและคติ.

ผู้ทำได้เป็นบางส่วน - ผู้ทำได้สมบูรณ์



ในบทว่า ปเทสํ ปเทสฺการี เป็นต้น มีอธิบายว่า พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้มีปกติทำได้เป็นบางส่วน
คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีนั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์
ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น (ส่วน) พระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์
คือ พระอรหันต์นั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์ได้บริบูรณ์ทีเดียว. บทว่า
อวญฺฌานิ คือ ไม่เปล่า อธิบายว่า มีผล มีกำไร. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา 3 ไว้คละกัน.
จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ 6