เมนู

พระขีณาสพต้องอาบัติ



ก็ในบทว่า ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺฐาติปิ นี้ มีอธิบายว่า พระ-
ขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ
เท่านั้น และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ เมื่อ
ต้องทางกาย ก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยลิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทาง
วาจา ก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทางใจ
ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า น หิ
เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหสาย ก็ในที่นี้
เราตถาคตมิได้กล่าวว่า พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้องและการออกจาก
อาบัติเห็นปานนี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกานิ ความว่า สิกขาบทที่เป็นมหาศีล 4
ซึ่งเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์. บทว่า พฺรหฺมจริยสารุปฺปานิ
ความว่า สิกขาบทที่เป็นมหาศีลเหล่านั้นแล เหมาะสม คือ สมควรแก่
มรรคพรหมจรรย์ที่ 4. บทว่า ตฺตฺถ ได้แก่ ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ลักษณะพระโสดาบัน



บทว่า ธุวสีโล แปลว่า ผู้มีศีลประจำ. บทว่า ฐิตสีโล แปลว่า
ผู้มีศีลมั่นคง. บทว่า โสตาปนฺโน ได้เเก่ ผู้เข้าถึงผล ด้วยมรรคที่
เรียกว่า โสตะ. บทว่า อวินิปาตธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่ตกไปในอบาย 4
เป็นสภาพ. บทว่า นิยโต ได้แก่ ผู้เที่ยงด้วยคุณธรรมเครื่องกำหนด คือ
โสดาปัตติมรรค. บทว่า สมฺโพธิปรายโน ได้แก่มีปัญญาเครื่องตรัสรู้พร้อม
คือ มรรค 3 เบื้องสูง ที่เป็นไปในเบื้องหน้า.

ลักษณะพระสกทาคามี



บทว่า ตนุตฺตา แปลว่า เพราะ (กิเลสทั้งหลาย) เบาบาง. อธิบายว่า
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ของพระสกทาคามีเบาบางไม่แน่นหนา เปรียบ-
เหมือนชั้นแผ่นเมฆและเปรียบเหมือนปีกแมลงวัน.

ลักษณะของพระอนาคามี



บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ได้แก่ เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
สํโยชนานํ ได้แก่ สังโยชน์ (เครื่องผูกทั้งหลาย).บทว่า ปริกฺขยา แปลว่า
เพราะความสิ้นไป. บทว่า โอปปาติโก โหติ ได้แก่ เป็นผู้อุบัติขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ปรินิพฺพายี ได้แก่ มีอันไม่ลงมาเกิดในภพชั้นต่ำ ๆ จะ
ปรินิพพานในภพชั้นสูงนั้นแล. บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่
หวนกลับมาอีกเป็นธรรมดา ด้วยอำนาจกำเนิดและคติ.

ผู้ทำได้เป็นบางส่วน - ผู้ทำได้สมบูรณ์



ในบทว่า ปเทสํ ปเทสฺการี เป็นต้น มีอธิบายว่า พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้มีปกติทำได้เป็นบางส่วน
คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีนั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์
ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น (ส่วน) พระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์
คือ พระอรหันต์นั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์ได้บริบูรณ์ทีเดียว. บทว่า
อวญฺฌานิ คือ ไม่เปล่า อธิบายว่า มีผล มีกำไร. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา 3 ไว้คละกัน.
จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ 6