เมนู

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ ย่อมได้ดี
เพียงเอกเทศ ผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ เราจึงกล่าวว่าสิกขาบท
ทั้งหลายหาเป็นหมันไม่.
จบทุติยเสขสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยเสขสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเสขสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตกามา ได้แก่ กุลบุตรทั้งหลายผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตน. บทว่า ยตฺเถตํ สพฺพํ สโมธานํ คจฺฉติ ความว่า สิกขาบท 150
ทั้งหมดนี้ถึงการสงเคราะห์เข้าในสิกขาแม้เหล่าใด. บทว่า ปริปูริการี โหติ
ความว่า ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์. บทว่า มตฺตโสการี ความว่า
เป็นผู้มีปกติทำพอประมาณ อธิบายว่า ไม่สามารถจะทำได้ทั้งหมด. บทว่า
ขุทฺทานุขุทฺทกานิ ได้แก่ สิกขาบทที่เหลือเว้นปาราชิก 4. อนึ่ง ในบทว่า
ขุทฺทานุขุทฺทกานิ นั้น มีอธิบายว่า สังฆาทิเสส ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ถุลลัจจัย ชื่อว่า อนุขุททกสิกขาบท อนึ่ง ถุลลัจจัย ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ปาจิตตีย์ ชื่อว่า อนุขุททกสิกขาบท.อนึ่งปาจิตตีย์ ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ปาฏิเทสนียะทุกกฏและทุพภาสิต ชื่อว่า อนุขุททุกสิกขาบท. แต่อาจารย์
ผู้ใช้อังคุตตรมหานิกายนี้กล่าวว่า สิกขาบทที่เหลือทั้งหมดยกเว้นปาราชิก 4
ชื่อว่า ขุททานุขุททกสิกขาบท.

พระขีณาสพต้องอาบัติ



ก็ในบทว่า ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺฐาติปิ นี้ มีอธิบายว่า พระ-
ขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ
เท่านั้น และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ เมื่อ
ต้องทางกาย ก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยลิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทาง
วาจา ก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทางใจ
ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า น หิ
เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหสาย ก็ในที่นี้
เราตถาคตมิได้กล่าวว่า พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้องและการออกจาก
อาบัติเห็นปานนี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกานิ ความว่า สิกขาบทที่เป็นมหาศีล 4
ซึ่งเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์. บทว่า พฺรหฺมจริยสารุปฺปานิ
ความว่า สิกขาบทที่เป็นมหาศีลเหล่านั้นแล เหมาะสม คือ สมควรแก่
มรรคพรหมจรรย์ที่ 4. บทว่า ตฺตฺถ ได้แก่ ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ลักษณะพระโสดาบัน



บทว่า ธุวสีโล แปลว่า ผู้มีศีลประจำ. บทว่า ฐิตสีโล แปลว่า
ผู้มีศีลมั่นคง. บทว่า โสตาปนฺโน ได้เเก่ ผู้เข้าถึงผล ด้วยมรรคที่
เรียกว่า โสตะ. บทว่า อวินิปาตธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่ตกไปในอบาย 4
เป็นสภาพ. บทว่า นิยโต ได้แก่ ผู้เที่ยงด้วยคุณธรรมเครื่องกำหนด คือ
โสดาปัตติมรรค. บทว่า สมฺโพธิปรายโน ได้แก่มีปัญญาเครื่องตรัสรู้พร้อม
คือ มรรค 3 เบื้องสูง ที่เป็นไปในเบื้องหน้า.