เมนู

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ ย่อมได้ดี
เพียงเอกเทศ ผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ เราจึงกล่าวว่าสิกขาบท
ทั้งหลายหาเป็นหมันไม่.
จบทุติยเสขสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยเสขสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเสขสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตกามา ได้แก่ กุลบุตรทั้งหลายผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตน. บทว่า ยตฺเถตํ สพฺพํ สโมธานํ คจฺฉติ ความว่า สิกขาบท 150
ทั้งหมดนี้ถึงการสงเคราะห์เข้าในสิกขาแม้เหล่าใด. บทว่า ปริปูริการี โหติ
ความว่า ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์. บทว่า มตฺตโสการี ความว่า
เป็นผู้มีปกติทำพอประมาณ อธิบายว่า ไม่สามารถจะทำได้ทั้งหมด. บทว่า
ขุทฺทานุขุทฺทกานิ ได้แก่ สิกขาบทที่เหลือเว้นปาราชิก 4. อนึ่ง ในบทว่า
ขุทฺทานุขุทฺทกานิ นั้น มีอธิบายว่า สังฆาทิเสส ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ถุลลัจจัย ชื่อว่า อนุขุททกสิกขาบท อนึ่ง ถุลลัจจัย ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ปาจิตตีย์ ชื่อว่า อนุขุททกสิกขาบท.อนึ่งปาจิตตีย์ ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ปาฏิเทสนียะทุกกฏและทุพภาสิต ชื่อว่า อนุขุททุกสิกขาบท. แต่อาจารย์
ผู้ใช้อังคุตตรมหานิกายนี้กล่าวว่า สิกขาบทที่เหลือทั้งหมดยกเว้นปาราชิก 4
ชื่อว่า ขุททานุขุททกสิกขาบท.