เมนู

สกฺโกมิ อหํ (เราสามารถ) ได้ยินว่า ภิกษุนั้นสำคัญอยู่ว่า เมื่อเราศึกษา
อยู่ในสิกขาบทจำนวนเท่านี้ได้ ก็ไม่หนักใจที่จะศึกษาในไตรสิกขา จึงกราบทูล
อย่างนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกสิกขาอีก 2 สิกขา ขึ้นไว้
ในลำดับที่สูงขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สามารถจะศึกษาในสิกขาข้อเดียว จึงตรัสคำว่า
ตสฺมาติห ตฺว ภิกฺขุ เป็นต้น เปรียบเหมือนบุคคลผูกกำหญ้า 100 กำ
วางไว้บนศีรษะของบุคคลผู้ไม่สามารถจะยกกำหญ้า 50 กำขึ้นได้ฉะนั้น.

ตัวอย่าง


ได้ยินว่า ในโรหณชนบท ชาวชนบทคนหนึ่งชื่ออุตตระ อยู่ใน
เภรปาสาณวิหาร. อยู่มา ภิกษุหนุ่มทั้งหลายได้พูดกะเขาว่า อุตตระ โรงไฟถูก
ฝนรั่วรด ขอเธอจงทำหญ้าให้เหมาะสมแล้วให้เถิดดังนี้แล้ว พาเขาเข้าไปป่า
มัดหญ้าที่อุตตระนั้นเกี่ยวแล้วให้เป็นฟ่อน ๆ แล้วกล่าวว่า อุตตระ เธอจัก
สามารถแบกหญ้า 50 ฟ่อนไปได้ไหม ? อุตตระนั้นกล่าวว่า จักไม่สามารถ
หรอกครับ. แต่ (ถ้า) 80 ฟ่อนเล่า เธอจักสามารถไหม ? จักไม่สามารถ
หรอกครับ. 100 ฟ่อน (ที่มัดรวมเป็นฟ่อนเดียวกัน) เล่า เธอจักสามารถ
ไหม ?. (ถ้าอย่างนั้น) ได้ขอรับ ผมแบกไปได้. ภิกษุหนุ่มทั้งหลายจึงมัดหญ้า
100 ฟ่อน รวมกันเข้าแล้ววางไว้บนศีรษะเขา. นายอุตตระนั้นยกขึ้นแล้ว
ทอดถอนใจไปโยนทิ้งไว้ใกล้โรงไฟ. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวว่า
เหนื่อยละซี่อุตตระ. นายอุตตระตอบว่า เหนื่อยครับท่าน พวกพระหนุ่มลวงผม
(อันที่จริง) ผมไม่สามารถแบกกำหญ้า 100 กำนี้ได้หรอก (แต่) ท่านบอกว่า
เธอจงแบกไป 50 กำ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ใช่อุตตระ พวกพระหนุ่มลวงเธอ
พึงทราบข้ออุปไมยนี้เป็นอย่างนั้น.
แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา 3 ไว้ปนกัน.
จบอรรถกถาวัชชีปุตตสูตรที่ 4