เมนู

คุนฺนํ ความว่า ของแม่โคทั้งหลายเป็นฉันใด จริงอยู่ โคทั้งหลายมีสีคำบ้าง
มีสีแดงบ้าง มีสีขาวเป็นต้นบ้าง แต่ว่า ลาไม่มีสีเช่นนั้น และสีเป็นฉันใด
เสียงก็ดี รอยเท้าก็ดี ก็เหมือนกันฉันนั้นนั่นแหละ.
บทที่เหลือมีความหมายง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสสิกขา 3 ไว้คละกันแล.
จบอรรถกถาคัทรภสูตรที่ 2

3. เขตตสูตร



กิจเบื้องต้นของชาวนาและภิกษุ



[523] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะ (กิจที่ต้องทำก่อน)
ของคฤหบดีชาวนา 3 นี้ บุพกรณียะ 3 คืออะไร คือ คฤหบดีชาวนา
ไถคราดพื้นที่นาให้ดีก่อน ครั้นแล้ว ปลูกพืชลงในเวลาอันควร ครั้นแล้ว
ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้างตามคราว นี้แล บุพกรณียะของคฤหบดี
ชาวนา 3
ฉันเดียวกันนั่นเทียว ภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะของภิกษุ 3 นี้
3 คืออะไร คือการสมาทานอธิสีลสิกขา การสมาทานอธิจิตตสิกขา การสมา-
ทานอธิปัญญาสิกขา นี้ บุพกรณียะของภิกษุ 3
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
อย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบเขตตสูตรที่ 3

อรรถกถาเขตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเขตตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า สุกฏฺฐํ กโรติ
ความว่า ชาวนาทำนาให้เป็นอันไถดีแล้วด้วยไถ. บทว่า สุมติกตํ ความว่า
(ทำนา) ให้มีพื้นที่เรียบร้อย คือ ราบเรียบ. บทว่า กาเลน ได้แก่
ตามกาลที่ควรหว่าน.
บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา 3
ไว้คละกันทีเดียว.
จบอรรถกถาเขตตสูตรที่ 3

4. วัชชีปุตตสูตร



ว่าด้วยการเจริญไตรสิกขาเพื่อละอกุศลมูล



[524] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ กูฏาคาร-
ศาลา
ในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง
เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบทที่สำคัญ 150 นี้
ย่อมมาสู่อุทเทส (คือสวดในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่อาจศึกษา (คือปฏิบัติรักษา) ในสิกขาบทมากนี้ได้พระเจ้าข้า.
พ. ก็ท่านอาจหรือไม่ ภิกษุ ที่จะศึกษาในสิกขา 3 คืออธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.