เมนู

สมณวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาสมณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมณสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมณสฺส แปลว่า อันเป็นของสมณะ. บทว่า สมณกรณียานิ
แปลว่า กิจอันสมณะพึงทำ. ในบทว่า อธิสีลสิกฺขาสมาทานํ เป็นต้นมี
อธิบายว่า การถือ เรียกว่า สมาทาน การสมาทาน การถือ การ
บำเพ็ญอธิสีลสิกขา ชื่อว่า อธิสีลสิกขาสมาทาน. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อธิศีล - อธิจิต - อธิปัญญา



อนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบการจำแนกดังนี้ว่า ศีล อธิศีล จิต อธิจิต
ปัญญา อธิปัญญา
ในการจำแนกนั้น ศีล 5 ชื่อว่า ศีล ศีล 10 ชื่อว่า
อธิศีล เพราะเทียบเคียงกับศีล 5 นั้น ปาริสุทธิศีล 4 ชื่อว่า อธิศีล เพราะ
เทียบเคียงกับศีล 10 นั้น อนึ่ง โลกิยศีลทั้งหมด จัดเป็นศีล โลกุตรศีล
จัดเป็นอธิศีล อธิศีลนั้นแหละเรียกว่า สิกขา เพราะต้องศึกษา. ส่วน
กามาวจรจิต ชื่อว่า จิต รูปาวจรจิต ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบเคียง
กับกามาวจรจิตนั้น อรูปาวจรจิต ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบเคียงกับ
รูปาวจรจิตนั้น. อนึ่ง โลกิยจิตทั้งหมดจัดเป็นจิต โลกุตรจิตจัดเป็นอธิจิต.
แม้ในปัญญาก็มีนัยเดียวกันนี้แล. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่กิจ
อันสมณะพึงทำทั้ง 3 เหล่านี้. บทว่า ติพฺโพ ได้แก่หนา. บทว่า ฉนฺโท
ได้แก่ ความพอใจในกุศล คือ ความเป็นผู้ต้องการจะทำ.
สิกขา 3 ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
สูตรนี้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสมณสูตรที่ 1

2. คัภรสูตร



ภิกษุไร้ไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค



[522] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาเดินตามฝูงโคไป แม้จะร้องว่า
ข้ า ฯ เป็นโค ข้า ฯ เป็นโค แต่สีของมันไม่เหมือนโค. เสียงก็ไม่เหมือน
รอยเท้าก็ไม่เหมือน มันได้แต่เดินตามฝูงโค ร้องไปว่า ข้า ฯ เป็นโค ข้า ฯ
เป็นโค เท่านั้น ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้
เดินตามหมู่ภิกษุ แม้ประกาศไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ
แต่ฉันทะในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของ
ภิกษุรูปนั้น ไม่มีเหมือนภิกษุอื่น ๆ ภิกษุนั้นก็ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุประกาศ
ไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
จักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบคัทรภสูตรที่ 2

อรรถกถาคัทรภสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในคัทรภสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต แปลว่า ข้างหลัง ๆ. บทว่า อหมฺปิ
อมฺหา อหมฺปิ อมฺหา
ความว่า แม่วัวร้องอยู่ว่า อหมฺปิ อมฺหา (ฉันใด)
(ฬาก็ร้องว่า) อหมฺปิ คาวี (แม้เราก็เป็นแม่วัว) (ฉันนั้น). บทว่า เสยฺยถาปิ