เมนู

สมณวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาสมณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมณสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมณสฺส แปลว่า อันเป็นของสมณะ. บทว่า สมณกรณียานิ
แปลว่า กิจอันสมณะพึงทำ. ในบทว่า อธิสีลสิกฺขาสมาทานํ เป็นต้นมี
อธิบายว่า การถือ เรียกว่า สมาทาน การสมาทาน การถือ การ
บำเพ็ญอธิสีลสิกขา ชื่อว่า อธิสีลสิกขาสมาทาน. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อธิศีล - อธิจิต - อธิปัญญา



อนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบการจำแนกดังนี้ว่า ศีล อธิศีล จิต อธิจิต
ปัญญา อธิปัญญา
ในการจำแนกนั้น ศีล 5 ชื่อว่า ศีล ศีล 10 ชื่อว่า
อธิศีล เพราะเทียบเคียงกับศีล 5 นั้น ปาริสุทธิศีล 4 ชื่อว่า อธิศีล เพราะ
เทียบเคียงกับศีล 10 นั้น อนึ่ง โลกิยศีลทั้งหมด จัดเป็นศีล โลกุตรศีล
จัดเป็นอธิศีล อธิศีลนั้นแหละเรียกว่า สิกขา เพราะต้องศึกษา. ส่วน
กามาวจรจิต ชื่อว่า จิต รูปาวจรจิต ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบเคียง
กับกามาวจรจิตนั้น อรูปาวจรจิต ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบเคียงกับ
รูปาวจรจิตนั้น. อนึ่ง โลกิยจิตทั้งหมดจัดเป็นจิต โลกุตรจิตจัดเป็นอธิจิต.
แม้ในปัญญาก็มีนัยเดียวกันนี้แล. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่กิจ
อันสมณะพึงทำทั้ง 3 เหล่านี้. บทว่า ติพฺโพ ได้แก่หนา. บทว่า ฉนฺโท
ได้แก่ ความพอใจในกุศล คือ ความเป็นผู้ต้องการจะทำ.
สิกขา 3 ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
สูตรนี้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสมณสูตรที่ 1