เมนู

กลิ่นดอกไม้หาไปทวนลมได้ไม่ กลิ่น
จันทน์ กฤษณาและกระลำพักก็ไปทวน
ลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัตบุรุษ ไปทวนลมได้
สัตบุรุษย่อมขจรไปทุกทิศ.

จบคันธสูตรที่ 9

อรรถกถาคันธสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในคันธสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในเวลาหลังภัตตาหาร พระอานนท์
เถรเจ้ากลับจากบิณฑบาต แสดงวัตรต่อพระทศพลแล้ว ไปยังที่พักกลางวัน
ของตน แล้วคิดว่า ในโลกนี้ ต้นไม้ที่มีรากหอมมีอยู่ ต้นไม้ที่มีแก่นหอม
มีอยู่ ต้นไม้ที่มีดอกหอมมีอยู่ แต่กลิ่นทั้ง 3 อย่างนี้ ย่อมฟุ้งไปตามลมเท่านั้น
ไม่ฟุ้งไปทวนลม มีกลิ่นอะไรที่ฟุ้งไปทวนลมได้บ้างหรือหนอ ดังนี้แล้ว
เพราะเหตุที่ท่านรับพร คือการเข้าไปเฝ้าในเวลาที่เกิดความสงสัย1 ในกาลเป็น
ที่รับพร 8 ประการนั่นเอง ทันใดนั้น จึงออกจากที่พักกลางวันไปยังสำนัก
ของพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความ
สงสัยที่เกิดขึ้น จึงได้กราบทูลคำนี้ คือคำมีอาทิว่า ตีณิมานิ ภนฺเต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธชาตานิ ได้แก่ ของหอมโดยกำเนิดทั้งหลาย.
บทว่า มูลคนฺโธ ได้แก่กลิ่นที่ตั้งอยู่ในราก. หรือรากที่สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
นั่นเอง ชื่อว่า มูลคนฺโธ เพราะว่ากลิ่นของรากนั้น ย่อมฟุ้งไปตามลม.
แต่กลิ่นของกลิ่น (นั้น) ไม่มี. แม้ในกลิ่นที่แก่น และกลิ่นที่ราก ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
1. ปาฐะว่า อุปสงฺกมนสฺส คหิตฺตา ฉบับพม่าเป็น อุปสงฺกมนวรสฺส คหิตตฺตา.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อตฺถานนฺท คนฺธชาตํ นี้ ดังต่อไปนี้
การถึงสรณะเป็นต้น ชื่อว่า เป็นกลิ่น เพราะคล้ายกับกลิ่น โดยฟุ้งขจรไป
ทุกทิศ ด้วยสามารถแห่งการกล่าวสรรเสริญคุณความดีกลิ่นเหล่านั้น
มีบุคคลเป็นที่ตั้ง จึงชื่อว่า คันธชาต. บทว่า คนฺโธ คจฺฉติ
ความว่า ฟุ้งไปด้วยสามารถแห่งการกล่าวสรรเสริญ. บทว่า สีลวา ได้แก่
มีศีล โดยเป็นศีล 5 หรือศีล 10. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ความว่า
มีกัลยาณธรรม คือมีธรรมอันดีงาม โดยศีลธรรมนั่นเอง. อธิบายของคำมี
อาทิว่า วิคตมลมจฺเฉเรน เป็นต้น ได้ให้พิสดารไว้แล้ว ในคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้นแล. บทว่า ทิสาสุ ได้แก่ ในทิศใหญ่ 4 ในทิศน้อย 4.
บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่สมณพราหมณ์ผู้สงบบาป และลอยบาปแล้ว.
บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ ความว่า กลิ่นของดอกมะลิ
เป็นต้น จะไม่ฟุ้งขจรไปทวนลม. บทว่า น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา
มีอรรถาธิบายว่า ถึงกลิ่นของจันทน์ กฤษณา และกระลำพัก ก็ฟุ้งไปทวนลม
ไม่ได้. จริงอยู่ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้ในเทวโลก ก็ยังมีดอกมะลิ
ที่บานแล้วเหมือนกัน ในวันที่ดอกมะลินั้นบานแล้ว กลิ่นก็จะฟุ้งไปได้ตั้ง 100
โยชน์ แต่กลิ่นนั้นก็ไม่สามารถจะฟุ้งไปทวนลมได้ แม้เพียงคืบเดียว หรือ
เพียงศอกเดียว. บทว่า สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ ความว่า ส่วนกลิ่น
คือคุณมีศีลเป็นต้น ของสัตบุรุษทั้งหลาย คือบัณฑิตทั้งหลาย ได้แก่พระ-
พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวกทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปทวนลมได้.
บทว่า สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ความว่า สัตบุรุษคือบัณฑิต
ย่อมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ด้วยกลิ่นคือคุณความดี มีศีลเป็นต้น. อธิบายว่า มีกลิ่น
ตระหลบไปทั่วทุกทิศ.
จบอรรถกถาคันธสูตรที่ 9

10. จูฬนีสูตร



ว่าด้วยแสนโกฏิจักรวาล



[520] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับได้
รับมาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อานนท์ สาวกชื่ออภิภู ของพระ-
สิขีพุทธเจ้า ยืนอยู่บนพรหมโลก ย่อมให้ 1,000 โลกธาตุได้ยินเสียงได้ ดังนี้
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ทรงสามารถตรัสให้
โลกธาตุได้ยินพระสุรเสียงได้เท่าไร.
พ. พระอภิภูนั้นเป็นสาวก อานนท์ พระตถาคตทั้งหลาย ใครจะ
เปรียบประมาณมิได้.
ท่านพระอานนท์กราบทูลครั้งที่ 2 เหมือนครั้งแรก พระองค์ก็คงตรัส
ตอบอย่างนั้น ท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนั้นอีกเป็นครั้งที่ 3 พระองค์จึงตรัส
ถามว่า เธอเคยได้ฟังหรือไม่ อานนท์ สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุ
น้อย 1,000).
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาละ ข้าแต่พระสุคตเจ้า เป็นกาละ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วจักทรงจำไว้.
ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านพระอานนท์รับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
(เรื่องโลกธาตุ) ว่า อานนท์ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แผ่รัศมี ส่องแสงทำ
ให้สว่างไปทั่วทิศตลอดที่มีประมาณเท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้นจำนวน 1,000