เมนู

กลิ่นดอกไม้หาไปทวนลมได้ไม่ กลิ่น
จันทน์ กฤษณาและกระลำพักก็ไปทวน
ลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัตบุรุษ ไปทวนลมได้
สัตบุรุษย่อมขจรไปทุกทิศ.

จบคันธสูตรที่ 9

อรรถกถาคันธสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในคันธสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในเวลาหลังภัตตาหาร พระอานนท์
เถรเจ้ากลับจากบิณฑบาต แสดงวัตรต่อพระทศพลแล้ว ไปยังที่พักกลางวัน
ของตน แล้วคิดว่า ในโลกนี้ ต้นไม้ที่มีรากหอมมีอยู่ ต้นไม้ที่มีแก่นหอม
มีอยู่ ต้นไม้ที่มีดอกหอมมีอยู่ แต่กลิ่นทั้ง 3 อย่างนี้ ย่อมฟุ้งไปตามลมเท่านั้น
ไม่ฟุ้งไปทวนลม มีกลิ่นอะไรที่ฟุ้งไปทวนลมได้บ้างหรือหนอ ดังนี้แล้ว
เพราะเหตุที่ท่านรับพร คือการเข้าไปเฝ้าในเวลาที่เกิดความสงสัย1 ในกาลเป็น
ที่รับพร 8 ประการนั่นเอง ทันใดนั้น จึงออกจากที่พักกลางวันไปยังสำนัก
ของพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความ
สงสัยที่เกิดขึ้น จึงได้กราบทูลคำนี้ คือคำมีอาทิว่า ตีณิมานิ ภนฺเต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธชาตานิ ได้แก่ ของหอมโดยกำเนิดทั้งหลาย.
บทว่า มูลคนฺโธ ได้แก่กลิ่นที่ตั้งอยู่ในราก. หรือรากที่สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
นั่นเอง ชื่อว่า มูลคนฺโธ เพราะว่ากลิ่นของรากนั้น ย่อมฟุ้งไปตามลม.
แต่กลิ่นของกลิ่น (นั้น) ไม่มี. แม้ในกลิ่นที่แก่น และกลิ่นที่ราก ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
1. ปาฐะว่า อุปสงฺกมนสฺส คหิตฺตา ฉบับพม่าเป็น อุปสงฺกมนวรสฺส คหิตตฺตา.