เมนู

อรรถกถาสีลัพพตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสีลัพพตสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลพฺพตํ ได้แก่ศีลและพรต. บทว่า ชีวิตํ ได้แก่ความเพียร
ของผู้ทำกรรม ที่ทำได้โดยยาก. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์. บทว่า อุปฏฺฐานสารํ ความว่า ศีลเป็นต้นนี้ ชื่อว่าเป็นสาระ
เพราะเป็นธรรมเครื่องปรากฏ อธิบายว่า ปรากฏอย่างนี้ว่า ศีลเป็นต้นนี้
เป็นแก่นสาร ศีลเป็นต้นนี้เป็นของประเสริฐ ศีลเป็นต้นนี้ เป็นเหตุให้สำเร็จ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ศีลเป็นต้นนี้ เป็นของมีกำไร คือมีความเจริญ
ด้วยบทว่า สผลํ ดังนี้. บทว่า น เขฺวตฺถ ภนฺเต เอกํเสน ความว่า
(พระอานนท์ตอบว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ไม่ควรพยากรณ์โดย
ส่วนเดียวเลย. บทว่า อุปฏฺฐานสารํ เสวโต ความว่า เมื่อเสพศีลเป็นต้น
ที่เป็นสาระ คือเป็นเครื่องปรากฏอย่างนี้ว่า ศีลเป็นต้นนี้ เป็นสาระ เป็นสิ่ง
ประเสริฐ เป็นเหตุให้สำเร็จ.
บทว่า อผลํ ความว่า ไม่มีผล โดยผลที่ต้องการ. ด้วยคำโต้ตอบ
เพียงเท่านี้ เป็นอันถือเอาลัทธิภายนอกแม้ทั้งหมดที่เหลือ เว้นการบรรพชา
ของกรรมวาทีบุคคล และกิริยวาทีบุคคล. บทว่า สผลํ ได้แก่มีผล คือมีกำไร
โดยผลที่ต้องประสงค์ ด้วยคำโต้ตอบเพียงเท่านี้ เป็นอันถือเอาบรรพชาของ
กรรมวาทีบุคคล และกิริยวาทีบุคคล แม้ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ (พุทธ) ศาสนานี้.
ด้วยบทว่า น จ ปนสฺส สุลภรูโป สมสโม ปญฺญาย นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผู้ที่ตั้งอยู่ในเสขภูมิตอบปัญหาได้อย่างนี้ ที่จะเสมอ
ด้วยปัญญาของพระอานนท์นั้น หาไม่ได้ง่าย. ธรรมชื่อว่า เสขภูมิ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระสูตรนี้.
จบอรรถกถาสีลัพพตสูตรที่ 8

9. คันธสูตร



ว่าด้วยกลิ่นหอม 3 อย่าง



[519] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คันธชาต 3 นี้ กลิ่นไปได้แต่ตามลม
หาทวนลมได้ไม่ คันธชาต 3 คืออะไร คือ (มูลคันธะ) รากไม้หอม (สาร-
คันธะ) แก่นไม้หอม (ปุปผคันธะ) ดอกไม้หอม นี้แล พระพุทธเจ้าข้า
คันธชาต 3 ซึ่งกลิ่นไปได้แต่ตามลม หาทวนลมได้ไม่ มีหรือไม่ พระพุทธ-
เจ้าข้า คันธชาตอะไร ๆ ที่กลิ่นไปตามลมก็ได้ ทวนลมก็ได้ ทั้งตามลม
ทั้งทวนลมก็ได้.
พ. มี อานนท์...
อา. มีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ...
พ. อานนท์ สตรีหรือบุรุษก็ตาม ในหมู่บ้านหรือตำบลใด เป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นจากปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราเมรัย เป็นผู้มีศีล
มีธรรมงาม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาค
ปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ (คอยจะหยิบของให้ทาน) ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน สมณพราหมณ์ในทิศทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญเขาว่า หญิงหรือชาย ในหมู่บ้านหรือตำบลโน้น เป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้า ฯลฯ พอใจในการให้และการแบ่งปัน แม้เทวดาก็สรรเสริญว่า
หญิงหรือชาย ในหมู่บ้านหรือตำบลโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า ฯลฯ พอใจ
ในการให้และการแบ่งปัน นี้แล อานนท์ คันธชาต ซึ่งมีกลิ่นไปตามลมก็ได้
ทวนลมก็ได้ ทั้งตามลมทั้งทวนลมก็ได้.