เมนู

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันนี้ เธอไม่
ทำกรรมใหม่ และรับ ๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชราวิสุทธิพึงเห็นได้เอง
ฯลฯ อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.
นี้แล ท่านอภัย นิชชราวิสุทธิ 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็นผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.
เมื่อท่านอานนท์แสดงธรรมอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวีกล่าว
กะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า สหายอภัย ท่านไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์
ว่า ท่านแสดงดีดอกหรือ.
เจ้าอภัยลิจฉวีตอบว่า สหาย ข้าฯ จักไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่าน
พระอานนท์อย่างไรได้ ผู้ใดไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดย
ความเป็นสุภาษิต ศีรษะของผู้นั้นจะแตก.
จบนิคัณฐสูตรที่ 4

อรรถกถานิคัณฐสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนิคัณฐสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กูฏาคารสาลายํ ได้แก่พระคันธกุฏีที่เขาติดช่อฟ้า 2 ด้าน
มีหลังคา เหมือนหงส์รำแพน. บทว่า อปริเสลํ ญาณทสฺสนํ ปฏิชานาติ
ความว่า รู้ชัดญาณทัสนะทุกอย่าง ไม่เหลือแม้แต่นิดเดียว. บทว่า สตฺตํ
สมิตํ
ความว่า ตลอดทุกกาล คือชั่วนิรันดร. ด้วยบทว่า ญาณทสฺสนํ
ปจฺจุปฏฺฐิตํ
นี้ นิครนถนาฏบุตร แสดงว่าสัพพัญญุตญาณ ปรากฏแล้วแก่เรา.
บทว่า ปุราณานํ กมฺมานํ ได้แก่กรรมที่ประมวลมา. บทว่า ตปสา

พฺยนฺตีภาวํ ได้แก่กระทำให้กิเลสสิ้นไปด้วยตบะที่ทำได้โดยยาก. บทว่า
นวานํ กมฺมานํ ได้แก่กรรมที่พึงประมวลมาในปัจจุบัน. บทว่า อกรณา
ความว่า เพราะไม่ประมวลมา. ด้วยบทว่า เสตุ ฆาตํ นิครนถนาฏบุตร
กล่าวถึงการตัดทางเดิน คือทำลายปัจจัย. บทว่า กมฺมกขยา ทุกฺขกฺขโย
ได้แก่ความสิ้นวัฏทุกข์ เพราะกัมมวัฏสิ้นไป. บทว่า ทุกฺขกฺขยา เวทนากฺขโย
ได้แก่ความสิ้นเวทนา เพราะวัฏทุกข์สิ้นไป อธิบายว่า เมื่อวัฏทุกข์สิ้นไป
แม้การหมุนเวียนแห่งเวทนา ก็เป็นอันสิ้นไปแล้วเหมือนกัน. บทว่า เวทนา-
กฺขยา สพฺพํ ทุกฺขํ นิชฺชณฺณํ ภวิสฺสติ
ความว่า ก็วัฏทุกข์ทั้งสิ้น
จักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ เพราะเวทนาหมดสิ้นไป. บทว่า สนฺทิฏฐิกาย
ความว่า ที่จะพึงเห็นเอง คือ (เห็น) ประจักษ์. บทว่า นิชฺชราย วิสุทฺธิยา
ความว่า ชื่อว่า นิชฺชราย เพราะเป็นปฏิปทาแห่งความเสื่อมไปของกิเลส
หรือเพราะกิเลสทั้งหลายเสื่อมโทรมไปโดยไม่เหลือ ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะ
ยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชฺชราวิสุทธิ์.
บทว่า สมติกฺกโม โหติ ความว่า ความสงบระงับแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นจะมีได้.
บทว่า อิธ ภนฺเต ภควา กิมาห ความว่า นิครนถนาฏบุตร ถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สำหรับข้อปฏิบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร
คือทรงบัญญัติปฏิปทาแห่งความสิ้นไปของกิเลสนี้ไว้อย่างไร หรือบัญญัติไว้
เป็นอย่างอื่น.
บทว่า ชานตา ความว่า รู้ด้วยอนาวรณญาณ. บทว่า ปสฺสตา
ความว่า เห็นด้วยสมันตจักษุ. บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อต้องการให้
ถึงความบริสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความ
ล่วงพ้น. บทว่า อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความดับสูญ.
บทว่า ญายสฺส อธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์การบรรลุมรรคพร้อมด้วย

วิปัสสนา. บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉกิริยาย ความว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้ง
ซึ่งพระนิพพาน ที่หาปัจจัยมิได้.
บทว่า นวญฺจ กมฺมํ น กโรติ ความว่า ไม่ประมวลกรรมใหม่มา.
บทว่า ปุราณญฺจ กมฺมํ ได้แก่กรรมที่ประมวลมาแล้วในกาลก่อน. บทว่า
ผุสฺส ผุสฺส พยนฺตีกโรติ ความว่า เผชิญ (กรรมเก่าเข้าแล้ว) ก็ทำให้
สิ้นไป อธิบายว่า สัมผัส ผัสสะอันเป็นวิบากเเล้วทำกรรมนั้นให้สิ้นไป.
บทว่า สนฺทิฏฺฐิกา ความว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า อกาลิกา
ความว่า ไม่ทำหน้าที่ในเวลาอื่น. บทว่า เอหิปสฺสิกา ความว่า ควรเพื่อ
ชี้ให้เห็นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาดูเถิด. บทว่า โอปนยิกา ความว่า ควรในการ
น้อมเข้ามา คือเหมาะแก่ธรรมที่ตนควรข้องอยู่. บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ
วิญฺญูหิ
ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตน ๆ นั่นเอง
แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ดังนั้น มรรค 2 ผล 2 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ด้วยสามารถแห่งศีล เพราะว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล. ส่วนมรรค 3 ผล 3 ตรัสไว้แล้วด้วยสมาธิสมบัติ
มีอาทิว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ (เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลายนั่นเทียว)
เพราะพระอริยสาวกชั้นอนาคามีบุคคล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นผู้
ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ.
ด้วยคำมีอาทิว่า อาสวานํ ขยา พระองค์ตรัส (หมายถึง) พระ-
อรหัตผล. ก็ศีลและสมาธิบางประเภท อันสัมปยุตด้วยพระอรหัตผลทรงประสงค์
เอาแล้วในพระสูตรนี้ แต่เพื่อจะทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติด้วยสามารถแห่งศีลเเละ
สมาธิ แต่ละประเภท จึงทรงยกแบบอย่างขึ้นไว้ เป็นแผนก ๆ กันฉะนี้แล.
จบอรรถกถานิคัณฐสูตรที่ 4

5. สมาทปกสูตร



ว่าด้วยฐานะ 3 อย่าง



[515] ครั้งนั้น ท่านอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านอานนท์ว่า อานนท์ ท่านทั้งหลายจะพึง
เอ็นดูบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดจะพึงเชื่อฟัง เป็นมิตรอมาตย์ ญาติหรือ
สาโลหิตก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ท่านทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่นอยู่ในสถาน
3 เถิด ในสถาน 3 คืออะไร คือ ในความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณ
ในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิ โส ภควา ฯลฯ ภควา ในความเลื่อมใสอัน
หยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ... ฯลฯ วิญฺญูหิ ในความ
เลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระสงฆ์ว่า สุปฏิปนฺโน ฯลฯ โลกสฺส.
อานนท์ ความแปรแห่งมหาภูต 4 คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม
ธาตุไฟ พึงมีได้ แต่ความแปรแห่งอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
หยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่พึงมีเลย
นี้ความแปรในข้อนั้น คือ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลง
ด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์นั้นน่ะ จักไปนรกหรือ
กำเนิดดิรัจฉานหรือเปตติวิสัย ดังนี้ นี่มิใช่ฐานะจะมีได้เลย
อานนท์ ท่านทั้งหลายจะพึงเอ็นดูบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดจะพึง
เชื่อฟัง เป็นมิตร อมาตย์ ญาติ หรือสายโลหิตก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ท่าน
ทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่นอยู่ในสถาน 3 นี้เถิด.
จบสมาทปกสูตรที่ 5