เมนู

สมาธิเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
. . . จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน . . . นี้เรียกว่า
สมาธิเสขะ.
ปัญญาเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า
นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าปัญญาเสขะ.
มหานาม อริยสาวกนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ สมาธิอย่างนี้
ปัญญาอย่างนี้แล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันนี่.
อย่างนี้แล มหานาม ศีลเป็นเสขะก็มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เป็นอเสขะก็มี ตรัสสมาธิเป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ตรัสปัญญา
เป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสักกสูตรที่ 3

อรรถกถาสักกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คิลานา วุฏฺฐิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหาย
ประชวร. บทว่า เคลญฺญา ความว่า จากความเป็นไข้. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า พระเจ้ามหานามศากยะ เสร็จเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงถือเอา
ระเบียบและของหอมเป็นต้น มีบริวารเป็นอันมากห้อมล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้า
(พระผู้มีพระภาคเจ้า).

ด้วยบทว่า พาทายํ คเหตฺวา พึงทราบความว่า พระอานนทเถระ
เจ้า ไม่ได้จับพระพาหา (ของเจ้ามหานาม) ดึงมา (แต่) ลุกขึ้นจากอาสนะ
ที่นั่งแล้ว ตรงไปยังเจ้ามหานาม ใช้นิ้วมือสะกิดที่พระพาหาเบื้องขวา แล้ว
นำออกไป ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้า ครั้นบอกศีลสมาธิและ
ปัญญา อันเป็นของพระเสขะทั้ง 7 จำพวก โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนมหานาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลที่เป็นเสขะไว้ก็มี ดังนี้ แล้วเมื่อจะบอก ศีล สมาธิ
ปัญญา ของพระอเสขะ ด้วยสามารถแห่งอรหัตผลเบื้องสูง จึงแสดงว่า
วิปัสสนาญาณที่เป็นเสขะ และผลญาณที่เป็นอเสขะ เกิดขึ้นภายหลังสมาธิ
ที่เป็นเสขะ และผลสมาธิที่เป็นอเสขะเกิดขึ้นภายหลังวิปัสสนาที่เป็นเสขะดังนี้
ส่วนสมาธิที่เป็นสัมปยุตธรรม พึงทราบว่า เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกัน.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ 3

4. นิคัณฐสูตร



ว่าด้วยความบริสุทธิ์ 3 อย่าง



[514] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน
ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้น เจ้าอภัยลิจฉวี และเจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวี
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นเข้าไปถึงแล้วอภิวาทท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนหนึ่ง เจ้าอภัยลิจฉวี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กล่าวกะท่านพระอานนท์
ว่าท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร อ้างตนว่าเป็นสัพพัญญู (รู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งปวง)
เป็นสัพพทัสสาวี (เห็นสิ่งที่ควรเห็นทั้งสิ้น) ยืนยันญาณทัสนะ (ความรู้เห็น)