เมนู

3. สักกสูตร



ว่าด้วยไตรสิกขาของพระเสขะและพระอเสขะ



[513] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ วัดนิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ ประเทศสักกะ
คราวนั้น พระองค์ทรงพระประชวรไข้
เพิ่งหาย เจ้ามหานาม สักกะ เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า นานมาแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง-
แสดงว่า ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ หาเกิดแก่บุคคล
ผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิไม่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลถาม สมาธิเกิดก่อน
ญาณเกิดทีหลังหรือ หรือว่าญาณเกิดก่อน สมาธิเกิดทีหลัง พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ปริวิตกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประ-
ชวรไข้ เพิ่งหาย ก็แลเจ้ามหานามมากราบทูลถามปัญหาอันลึกยิ่ง อย่ากระนั้นเลย
เราจะเชิญเจ้ามหานามไปเสียทางหนึ่งแล้วแสดงธรรม (แทน) เถิด จึงจับพระ
พาหาเชิญเจ้ามหานามไป ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแสดงธรรมนี้ว่า
มหานาม ศีลเป็นเสขะก็มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นอเสขะ
ก็มี ตรัสสมาธิเป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ตรัสปัญญาเป็นเสขะก็มี
ตรัสเป็นอเสขะก็มี...
ศีลเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวม
ในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมาตรว่า
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลเสขะ.

สมาธิเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
. . . จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน . . . นี้เรียกว่า
สมาธิเสขะ.
ปัญญาเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า
นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าปัญญาเสขะ.
มหานาม อริยสาวกนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ สมาธิอย่างนี้
ปัญญาอย่างนี้แล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันนี่.
อย่างนี้แล มหานาม ศีลเป็นเสขะก็มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เป็นอเสขะก็มี ตรัสสมาธิเป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ตรัสปัญญา
เป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสักกสูตรที่ 3

อรรถกถาสักกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คิลานา วุฏฺฐิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหาย
ประชวร. บทว่า เคลญฺญา ความว่า จากความเป็นไข้. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า พระเจ้ามหานามศากยะ เสร็จเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงถือเอา
ระเบียบและของหอมเป็นต้น มีบริวารเป็นอันมากห้อมล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้า
(พระผู้มีพระภาคเจ้า).