เมนู

อรรถกถาอาชีวกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาชีวกสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตนหิ คหปติ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า อาชีวก
นี้เมื่อมาในที่นี้ ก็มิได้ประสงค์จะมาเพื่ออยากจะรู้ แต่มาเพื่อจะพิสูจน์ เราจะ
ตอบปัญหาที่พราหมณ์นี้ถามแล้ว ด้วยการย้อนถามนี้แหละ พระเถระประสงค์
จะให้พราหมณ์นั้น ตอบปัญหานั้นเสียเอง ด้วยอุบายนี้จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เตนหิ
ดังนี้.
ในคำว่า เตนหิ เป็นต้นนั้น ศัพท์ว่า เตนหิ เป็นการอ้างถึงเหตุ.
อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านถามอย่างนี้ ข้าพเจ้าจึงขอย้อนถามท่านในข้อนี้.
บทว่า เกสํ โน ความว่า แก่ใครหนอแล. บทว่า สธมฺมุกฺกํสนา ความว่า
ยกลัทธิของตนขึ้นตั้งไว้. บทว่า ปรธมฺมาปสาทนา ความว่า ไม่กระทบ-
กระเทียบ ข่มขู่ เสียดสี ลัทธิของผู้อื่น. บทว่า อายตเนว ธมฺมเทสนา
ความว่า แสดงธรรมมีเหตุ. บทว่า อตฺโถ จ วุตฺโต ความว่า และชี้แจง
เนื้อความแห่งปัญหาที่เราถามแล้ว. บทว่า อตฺตา จ อนุปนีโต ความว่า
และไม่อวดอ้างตนอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นอย่างนี้ ปาฐะว่า นุปนีโต ดังนี้ก็มี.
จบอรรถกถาอาชีวกสูตรที่ 2

3. สักกสูตร



ว่าด้วยไตรสิกขาของพระเสขะและพระอเสขะ



[513] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ วัดนิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ ประเทศสักกะ
คราวนั้น พระองค์ทรงพระประชวรไข้
เพิ่งหาย เจ้ามหานาม สักกะ เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า นานมาแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง-
แสดงว่า ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ หาเกิดแก่บุคคล
ผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิไม่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลถาม สมาธิเกิดก่อน
ญาณเกิดทีหลังหรือ หรือว่าญาณเกิดก่อน สมาธิเกิดทีหลัง พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ปริวิตกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประ-
ชวรไข้ เพิ่งหาย ก็แลเจ้ามหานามมากราบทูลถามปัญหาอันลึกยิ่ง อย่ากระนั้นเลย
เราจะเชิญเจ้ามหานามไปเสียทางหนึ่งแล้วแสดงธรรม (แทน) เถิด จึงจับพระ
พาหาเชิญเจ้ามหานามไป ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแสดงธรรมนี้ว่า
มหานาม ศีลเป็นเสขะก็มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นอเสขะ
ก็มี ตรัสสมาธิเป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ตรัสปัญญาเป็นเสขะก็มี
ตรัสเป็นอเสขะก็มี...
ศีลเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวม
ในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมาตรว่า
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลเสขะ.