เมนู

อานันทวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถาฉันนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในฉันนสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ ปริพาชกผู้มีผ้าปกปิด (ร่างกาย) ผู้มีชื่อ
อย่างนี้. บทว่า ตุมฺเหปิ อาวุโส ความว่า ฉันนปริพาชกถามว่า ดูก่อน
อาวุโส พวกเราบัญญัติการละกิเลส มีราคะเป็นต้นอย่างใด แม้ท่านทั้งหลาย
ก็บัญญัติอย่างนั้นหรือ ? ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า ปริพาชกนี้กล่าวกะพวก
เราว่า เราทั้งหลายบัญญัติการละราคะเป็นต้น แต่การบัญญัติการละราคะ
เป็นต้นนี้ ไม่มีในลัทธิภายนอก ดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มยํ โข อาวุโส
ดังนี้. ศัพท์ว่า โข ในคำว่า มยํ โข อาวุโส นั้น เป็นนิบาตใช้ใน
ความหมายว่าห้าม อธิบายว่า พวกเราเท่านั้นบัญญัติไว้. ลำดับนั้น ปริพาชก
คิดว่า พระเถระนี้ เมื่อจะคัดลัทธิภายนอกออกไป จึงกล่าวว่า พวกเราเท่านั้น
สมณะเหล่านี้เห็นโทษอะไรหนอ จึงบัญญัติการละราคะเป็นต้นเหล่านี้ไว้.
ลำดับนั้น ฉันนปริพาชก เมื่อจะเรียนถามพระเถระ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กึ
ปน ตุมฺเห
ดังนี้.
พระเถระเมื่อจะพยากรณ์แก่เขา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รตฺโต โข
อาวุโส
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตตฺถํ ความว่า ประโยชน์
ของตนทั้งในปัจจุบัน และสัมปรายภพ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. แม้ใน
ประโยชน์ของผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบ
วินิจฉัยในบทว่า อนฺธกรโณ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ราคะชื่อว่า อนฺธกรโณ

เพราะทำผู้ที่มีราคะเกิดขึ้นให้มืดบอด โดยห้ามการรู้ การเห็นตามความ
เป็นจริง. ชื่อว่า อจกฺขุกรโณ เพราะไม่ทำให้เกิดปัญญาจักษุ. ชื่อว่า
อญฺญาณกรโณ เพราะไม่กระทำให้เกิดญาณ. ชื่อว่า ปญฺญานิโรธิโก
เพราะปัญญาทั้ง 3 อย่างเหล่านี้ คือ กัมมัสสกตปัญญา (ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน) ฌานปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการเพ่ง) และวิปัสสนา
ปัญญา (ปัญญาพิจารณาเห็นแจ้ง) ดับไป โดยไม่ทำให้เป็นไป. ชื่อว่า
วิฆาตปกฺขิโก เพราะเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความเดือดร้อน กล่าวคือทุกข์
เพราะอำนวยผลที่ไม่น่าปรารถนาเท่านั้น. ชื่อว่า อนิพฺพานสํวตฺตนิโก
เพราะไม่ยังการดับกิเลสให้เป็นไป. บทว่า อลํ จ ปนาวุโส อานนฺท
อปฺปมาทาย
ความว่า ฉันนปริพาชก อนุโมทนาถ้อยคำของพระเถระว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ ถ้าหากปฏิปทาแบบนี้มีอยู่ไซร้ ก็เพียงพอ
เหมาะสม เพื่อท่านทั้งหลายจะไม่ประมาท ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญความไม่
ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว หลีกไป. ในพระสูตรนี้ พระอานนทเถระเจ้ากล่าวถึง
อริยมรรค ที่เจือด้วยโลกุตระไว้แล้ว. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ มีใจความง่าย
ทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาฉันนสูตรที่ 1

2. อาชีวกสูตร



ว่าด้วยความดี 3 อย่าง



[512] สมัยหนึ่งท่านพระอานนท์อยู่ที่วัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
ครั้งนั้น คฤหบดีสาวกของอาชีวกผู้หนึ่งเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นเข้าไปถึง
แล้วอภิวาทท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง คฤหบดีนั้นแลนั่ง ณ
ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เราสอง
พวก ธรรมของพวกใครเป็นสวากขาตะ (กล่าวดี) พวกใครเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ในโลก พวกใครเป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลก
ท่านคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น อาตมาจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพอใจ
อย่างใด พึงตอบอย่างนั้น ท่านสำคัญข้อนี้ว่ากระไร บุคคลเหล่าใดแสดงธรรม
เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ธรรมของบุคคลเหล่านั้นเป็นสวากขาตะหรือไม่
หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ท่านผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
ธรรมของบุคคลเหล่านั้นเป็นสวากขาตะ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
ท่านสำคัญข้อนี้ว่ากระไร ท่านคฤหบดี บุคคลเหล่าใดปฏิบัติเพื่อ
ละราคะ โทสะ โมหะ บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วในโลกหรือไม่
หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ท่านผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
ท่านสำคัญข้อนี้ว่ากระไร ท่านคฤหบดี ราคะ โทสะ โมหะ
บุคคลเหล่าใดละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว