เมนู

อานันทวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถาฉันนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในฉันนสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ ปริพาชกผู้มีผ้าปกปิด (ร่างกาย) ผู้มีชื่อ
อย่างนี้. บทว่า ตุมฺเหปิ อาวุโส ความว่า ฉันนปริพาชกถามว่า ดูก่อน
อาวุโส พวกเราบัญญัติการละกิเลส มีราคะเป็นต้นอย่างใด แม้ท่านทั้งหลาย
ก็บัญญัติอย่างนั้นหรือ ? ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า ปริพาชกนี้กล่าวกะพวก
เราว่า เราทั้งหลายบัญญัติการละราคะเป็นต้น แต่การบัญญัติการละราคะ
เป็นต้นนี้ ไม่มีในลัทธิภายนอก ดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มยํ โข อาวุโส
ดังนี้. ศัพท์ว่า โข ในคำว่า มยํ โข อาวุโส นั้น เป็นนิบาตใช้ใน
ความหมายว่าห้าม อธิบายว่า พวกเราเท่านั้นบัญญัติไว้. ลำดับนั้น ปริพาชก
คิดว่า พระเถระนี้ เมื่อจะคัดลัทธิภายนอกออกไป จึงกล่าวว่า พวกเราเท่านั้น
สมณะเหล่านี้เห็นโทษอะไรหนอ จึงบัญญัติการละราคะเป็นต้นเหล่านี้ไว้.
ลำดับนั้น ฉันนปริพาชก เมื่อจะเรียนถามพระเถระ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กึ
ปน ตุมฺเห
ดังนี้.
พระเถระเมื่อจะพยากรณ์แก่เขา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รตฺโต โข
อาวุโส
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตตฺถํ ความว่า ประโยชน์
ของตนทั้งในปัจจุบัน และสัมปรายภพ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. แม้ใน
ประโยชน์ของผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบ
วินิจฉัยในบทว่า อนฺธกรโณ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ราคะชื่อว่า อนฺธกรโณ