เมนู

เป็นต้น แก่พระราชโอรส และพระมเหสี พร้อมทั้งป้องกันอุปัทวันตราย
ทั้งปวง ให้แก่พระราชโอรส และพระมเหสีนั้น ชื่อ ว่า จัดแจง การรักษา
การป้องกัน และการคุ้มครองที่เป็นธรรมให้. แม้ในกษัตริย์เป็นต้น ก็มีนัย
(ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.
กษัตริย์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรงอุปเคราะห์
แม้ด้วยการพระราชทานรัตนะ มีม้าอาชาไนยตัวที่มีลักษณะดีเป็นต้นให้.
กษัตริย์ที่ตามเสด็จ พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องให้พอพระทัยแม้ด้วยการพระ-
ราชทานยานพาหนะที่คู่ควรให้. พลนิกาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์
แม้ด้วยการพระราชทาน อาหาร บำเหน็จให้ โดยไม่ให้ล่วงเวลา.
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์ด้วยไทยธรรม
มีข้าว น้ำ และผ้าเป็นต้น. คฤหบดีทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรง
อนุเคราะห์ด้วยการพระราชทานภัตร พืช ไถ และโคพลิพัทเป็นต้นให้.
ประชาชน ผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เนคมะ ประชาชนที่อยู่ในชนบท ชื่อว่า
ชานปทะ ประชาชนเหล่านั้นทั้งหมด ก็เหมือนกัน คือ พระเจ้าจักรพรรดิ
ก็ต้องทรงอนุเคราะห์ด้วย.
ส่วนสมณพราหมณ์ ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ลอยบาปได้แล้ว พระเจ้า
จักรพรรดิ ก็ต้องทรงสักการะ ด้วยการพระราชทานสมณบริขารให้ เนื้อและ
นก พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทำให้ปลอดโปร่งใจด้วยการพระราชทานอภัยให้.

พระเจ้าจักรพรรดิใครขัดขวางไม่ได้



บทว่า ธมฺเมเนว จกฺกํ วตฺเตติ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรง
หมุนจักรให้เป็นไปโดยธรรม คือกุศลกรรมบถ 10 นั่นเอง. บทว่า ตํ โหติ
จกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ
ความว่า จักร คือ อาญาสิทธิ์ นั้น คือ ที่พระเจ้า

จักรพรรดินั้นให้หมุนไปแล้วอย่างนั้น เป็นของอันมนุษย์คนไหน ให้หมุนกลับ
ไม่ได้. บทว่า เกนจิ มนุสฺสภูเตน ความว่า ธรรมดาเทวดาทั้งหลายย่อม
ทำสิ่งที่คนปรารถนา ๆ ได้ สำเร็จสมปรารถนา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า มนุสฺสภูเตน ดังนี้ โดยไม่ทรงรวมถึงเทวดาเหล่านั้นด้วย.
บทว่า ปจฺจตฺถเกน ได้แก่ ข้าศึก อธิบายว่า เป็นศัตรูเฉพาะหน้า.
บทว่า ธมฺมิโก ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นธัมมิกะ ด้วย
อำนาจกุศลธรรมบถ 10 ส่วนพระตถาคตทรงเป็นธัมมิกะด้วยอำนาจโลกุตร
ธรรม 9. บทว่า ธมฺมราชา ความว่า พระตถาคตชื่อว่าเป็นธรรมราชาเพราะ
หมายความว่า ทำมหาชนให้ยินดี ด้วยโลกุตรธรรม 9. บทว่า ธมฺมํเยว
ความว่า พระตถาคตทรงอาศัยโลกุตรธรรม 9 นั่นแล สักการะธรรมนั้น
เคารพธรรมนั้น นอบน้อมธรรมนั้น. ธรรมของพระตถาคตนั้นแลชื่อว่าเป็น
ธงชัย เพราะหมายความว่าอยู่สูง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่ามี
ธรรมเป็นธงชัย. ธรรมนั้นแล ของพระตถาคตนั้น เป็นตรา เพราะ
เหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมเป็นตรา. พระตถาคตชื่อว่า
ธัมมาธิปเตยยะ เพราะหมายความว่า ทรงทำธรรมให้เป็นอธิบดี คือให้เป็น
ใหญ่อยู่. บทว่า ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ ความว่า การรักษา การป้องกัน
และการคุ้มครองที่ให้ โลกิยธรรม และ โลกุตรธรรม. บทว่า สํวิทหติ
ได้แก่ทรงวาง คือ ทรงบัญญัติ. บทว่า เอวรูปํ ความว่า บุคคลไม่ควรเสพ
ทุจริต 3 อย่าง แต่ควรเสพ สุจริต.* ในทุกบท ก็พึงทราบ อรรถาธิบาย
อย่างนี้.
บทว่า สํวิทหิตฺวา ได้แก่ ทรงวางไว้ คือ ตรัสบอก. บทว่า
ธมฺเมเนว อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ความว่า พระตถาคตทรงหมุน
* ปาฐะว่า อจฺจนฺตํ น เสวิตพฺพํ ฉบับพม่าเป็น สฺจริตํ เสวิตพฺพํ แปลตามฉบับพม่า

ธรรมจักร ที่ไม่มีจักรใดเสมอเหมือนให้เป็นไปโดยโลกุตรธรรม 9 นั่นแล.
บทว่า ตํ โหติ จกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ ความว่า จักรคือธรรมนั้น ที่พระตถาคต-
เจ้าให้หมุนไปแล้วอย่างนั้น อันใคร ๆ แม้สักคนหนึ่ง ในบรรดาบุคคลเหล่านี้
มีสมณะเป็นต้น ไม่สามารถจะให้หมุนกลับคือขัดขวางได้. บทที่เหลือในที่
ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ 4

5. ปเจตนสูตร



ว่าด้วยความคดของไม้กับคน



[454] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตน-
มิคทายวัน
ใกล้กรุงพาราณสี พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้ง
หลายในที่นั้นแล ด้วยพระพุทธพจน์ว่า ภิกฺขโว แน่ะภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลขานรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำว่า ภทนฺเต พระพุทธ-
เจ้าข้า แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยังมีพระราชานามว่า
ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะ ตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งว่าแน่ะ
สหายช่างทำรถ แต่นี้ล่วงไป 6 เดือน สงความจักมีแก่ข้า เจ้าอาจทำล้อรถ
ใหม่คู่หนึ่งให้ข้าได้หรือไม่ ช่างทำรถทูลรับต่อพระเจ้าปเจตนะว่า ได้พระเจ้า
ข้า ครั้งนั้น ช่างทำรถทำล้อได้ข้างเดียวสิ้นเวลาถึง 6 เดือนหย่อนอยู่ 6 วัน
พระเจ้าปเจตนะจึงตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งถามว่า แน่ะสหายช่างทำรถ