เมนู

เป็นผู้มีธรรมเป็นอธิบดี และเพราะทำกิริยาทั้งปวง (ราชกิจทุกอย่าง) ด้วย
อำนาจธรรมนั่นแล. ในบทว่า ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ สํวิทหติ พึงทราบ
อธิบายว่า การรักษาเป็นต้น ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เพราะหมายความว่า
มีธรรม. การรักษาการป้องกัน และการคุ้มครอง ชื่อว่า รักขาวรณคุตติ.
บรรดาการรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองเหล่านั้น คุณธรรมมีขันติ
เป็นต้น ชื่อว่าการรักษา ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลเมื่อรักษาคนอื่น ชื่อว่า
รักษาตน. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บุคคลรักษาคนอื่น ด้วยวิธีอย่างไร จึงชื่อว่า รักษาตน
บุคคลรักษาคนอื่นด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยเมตตาจิต
(และ) ด้วย
ความเป็นผู้มีความเอ็นดู จึงชื่อว่า รักษาตนด้วย
ดังนี้. การป้องกัน
สมบัติ มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเรือนเป็นต้น ชื่อว่าอาวรณะ. การคุ้มครองเพื่อ
ป้องกันอุปัทวันตรายจากโจรเป็นต้น ชื่อว่า คุตติ. อธิบายว่า พระเจ้าจักร-
พรรดิ ทรงจัดคือทรงวาง การรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองที่ชอบ
ธรรมนั้นทั้งหมดด้วยดี.

ผู้ที่ต้องจัดอารักขาให้



บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลที่จะต้องจัดการรักษา ป้องกันและ
คุ้มครอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนฺโตชนสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ใน
บทว่า อนฺโตชนสฺมึ เป็นต้นนั้น มีความย่อดังต่อไปนี้
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงให้พระราชโอรส และพระมเหสี ที่เรียกว่า
คนภายใน ดำรงอยู่ในศีลสังวร พระราชทานผ้า ของหอม และพวงมาลา

เป็นต้น แก่พระราชโอรส และพระมเหสี พร้อมทั้งป้องกันอุปัทวันตราย
ทั้งปวง ให้แก่พระราชโอรส และพระมเหสีนั้น ชื่อ ว่า จัดแจง การรักษา
การป้องกัน และการคุ้มครองที่เป็นธรรมให้. แม้ในกษัตริย์เป็นต้น ก็มีนัย
(ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.
กษัตริย์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรงอุปเคราะห์
แม้ด้วยการพระราชทานรัตนะ มีม้าอาชาไนยตัวที่มีลักษณะดีเป็นต้นให้.
กษัตริย์ที่ตามเสด็จ พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องให้พอพระทัยแม้ด้วยการพระ-
ราชทานยานพาหนะที่คู่ควรให้. พลนิกาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์
แม้ด้วยการพระราชทาน อาหาร บำเหน็จให้ โดยไม่ให้ล่วงเวลา.
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์ด้วยไทยธรรม
มีข้าว น้ำ และผ้าเป็นต้น. คฤหบดีทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรง
อนุเคราะห์ด้วยการพระราชทานภัตร พืช ไถ และโคพลิพัทเป็นต้นให้.
ประชาชน ผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เนคมะ ประชาชนที่อยู่ในชนบท ชื่อว่า
ชานปทะ ประชาชนเหล่านั้นทั้งหมด ก็เหมือนกัน คือ พระเจ้าจักรพรรดิ
ก็ต้องทรงอนุเคราะห์ด้วย.
ส่วนสมณพราหมณ์ ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ลอยบาปได้แล้ว พระเจ้า
จักรพรรดิ ก็ต้องทรงสักการะ ด้วยการพระราชทานสมณบริขารให้ เนื้อและ
นก พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทำให้ปลอดโปร่งใจด้วยการพระราชทานอภัยให้.

พระเจ้าจักรพรรดิใครขัดขวางไม่ได้



บทว่า ธมฺเมเนว จกฺกํ วตฺเตติ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรง
หมุนจักรให้เป็นไปโดยธรรม คือกุศลกรรมบถ 10 นั่นเอง. บทว่า ตํ โหติ
จกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ
ความว่า จักร คือ อาญาสิทธิ์ นั้น คือ ที่พระเจ้า