เมนู

อรรถกถามูลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมูลสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ธรรมที่เป็นมูลแห่งอกุศล ชื่อว่า อกุศลมูล. อีกอย่างหนึ่ง ธรรม
นั้นด้วยเป็นมูลด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล. บทว่า ยทปิ ภิกฺขเว
โลโภ
เท่ากับ โยปิ ภิกฺขเว โลโภ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโลภ
แม้ใด. บทว่า ตทปิ อกุสลมูลํ ความว่า แม้ความโลภนั้น เป็นรากเง่าแห่ง
อกุศล หรือเป็น (ตัว) อกุศลก็ได้ อธิบายว่า ในที่นี้แม้อกุศลนั้นหมายถึง
อกุศลมูลนั้นก็ควรเหมือนกัน. ในบททั้งปวง พึงนำนัยนี้ (ไป) โดยอุบายนี้.
บทว่า อภิสงฺขโรติ ความว่า ย่อมประมวล คือรวบรวมมาได้แก่
ทำให้เป็นกอง. บทว่า อสตา ทุกฺขํ อุปทหติ ความว่า ก่อทุกข์โดย
กล่าวโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ไม่เป็นจริงแก่เขา ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง คือ
ไม่มีอยู่. บทว่า วเธน วา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรง
แสดงอาการ ที่เขาก่อทุกข์ขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานิยา ได้แก่ความเสื่อมทรัพย์. บทว่า
ปพฺพาชนาย ความว่า ได้แก่การขับออกจากบ้าน ออกจากป่า หรือจากรัฐ.
บทว่า พลวมฺหิ ความว่า เราเป็นผู้มีกำลัง. บทว่า พลตฺโถ อิติปิ ความว่า
พูดว่า เราต้องการกำลังบ้าง เราอยู่ในกำลังบ้าง.
บทว่า อกาลวาที ความว่า ไม่พูดในเวลาที่ควรพูด ชื่อว่าพูดใน
เวลาอันไม่ควร. ว่า อภูตวาที ความว่า ไม่พูดเรื่องจริง ชื่อว่าพูดเรื่อง
ไม่จริง. บทว่า อนตฺวาที ความว่า ไม่พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า
พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์. บทว่า อธมฺมวาที ความว่า ไม่พูดสิ่งที่เป็นธรรม

ชื่อว่า พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม. บทว่า อวินยวาที ความว่า ไม่พูดสิ่งที่เป็นวินัย
ชื่อว่า พูดสิ่งที่มิใช่วินัย.
บทว่า ตถาหยํ ตัดบทเป็น ตถา หิ อยํ. บทว่า น อาตปฺปํ
กโรติ ตสฺส นิพฺเพธนาย
ความว่า ไม่ทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่
การแก้เรื่องที่ไม่เป็นจริงนั้น. บทว่า อิติเปตํ อตจฺฉํ ความว่า สิ่งนี้ไม่แท้
ด้วยเหตุแม้นี้. บทนอกนี้ (อภูตํ) เป็นไวพจน์ของบทว่า อตจฺฉํ นั้น
นั่นแหละ.
บทว่า ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ความว่า ทุคติที่แยกประเภทเป็นนรก
เป็นต้น พึงหวังได้ อธิบายว่า ทุคติจะต้องเป็นส่วนของเขาแน่นอน คือ
เขาจะต้องบังเกิดในทุคตินั้น.1 บทว่า อุทฺธสฺสโต ความว่า ถูกเถาย่านทราย
ขึ้นปกคลุมแล้วในเบื้องบน. บทว่า ปริโยนทฺโธ ความว่า ถูกเถาย่านทราย
ขึ้นปกคลุมแล้วโดยรอบ.
บทว่า อนยํ อาปชฺชติ แปลว่า ถึงความไม่เจริญเติบโต. บทว่า
พฺยสนํ อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึงความพินาศ อธิบายว่า ในฤดูร้อน
เมื่อผลย่านทรายสุกแตกออกแล้ว เมล็ดทั้งหลายจะกระเด็นไปตก ที่โคน
ต้นไทรเป็นต้น ในต้นไม้เหล่านั้น ที่โคนต้นไม้ต้นใดมีเมล็ดตกไป 3 เมล็ด
ในทิศทั้ง 3 เมื่อต้นไม้นั้นถูกฝนในฤดูฝนโชยหน่อ 3 หน่อ จากเมล็ดทั้ง 3
จะงอกขึ้นแนบติดต้นไม้นั้น ต่อแต่นั้นรุกขเทวดาเป็นต้น ก็ไม่สามารถจะ
อาศัยอยู่ตามทางของตนได้ หน่อแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น งอกงามขึ้น กลายเป็นเถา
เลื้อยเกาะต้นไม้นั้น เกี่ยวพัน คาคบ กิ่งน้อย กิ่งใหญ่ทั้งหมด คลุมต้นไม้
นั้นจนมิด. ต้นไม้นั้นถูกเถาย่านทรายเกี่ยวพันไว้ ดาดาษไปด้วยเถาย่านทราย
หนา (และ) ใหญ่ เมื่อฝนตกลงมา หรือลมพัด ก็จะหักล้มลงในที่นั้นๆ
1. ปาฐะว่า ตตฺถ เนน ฉบับพม่าเป็น ตตฺถาเนน.

เหลือแต่ตอเท่านั้น. บทว่า พฺยสนํ อาปชฺชติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายถึงต้นไม้นั้น.
ก็ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ ก็สัตว์โลก
พึงเห็นเหมือนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ในบรรดาต้นรังเป็นต้น อกุศลมูล 3
พึงเห็นเหมือนเถาย่านทราย 3 เถา. เวลาที่ความโลภเป็นต้น ยังไม่ประจวบ
ทวาร พึงเห็นเหมือนการที่เถาวัลย์เหล่านั้น โอบต้นไม้ขึ้นไปตรง ๆ ยังไม่
ถึงกิ่งไม้. เวลาที่ความโลภเป็นต้น ดำเนินไปด้วยอำนาจแห่งทวาร พึงเห็น
เหมือนเวลาที่เถาวัลย์เลื้อยไปตามแนวกิ่งไม้. เวลาที่ความโลภเป็นต้น
กลุ้มรุมจิตใจ พึงเห็นเหมือนเวลาที่เถาวัลย์คลุมต้นไม้. เวลาที่ภิกษุต้อง
อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยอำนาจแห่งกิเลสทั้งหลายที่มาประจวบทวารแล้ว
พึงเห็นเหมือนเวลาที่กิ่งเล็ก ๆ หลุดลงมา. เวลาที่ภิกษุต้องครุกาบัติ พึง
เห็นเหมือนเวลาที่กิ่งไม้ใหญ่หักลงมา. เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก แล้ว
ตกลงไปในอบายทั้ง 4 ตามลำดับ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ต้นไม้ล้มลงที่พื้นดิน
ในเมื่อโคนชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ ที่ไหลลงมาตามแนวเถาวัลย์.
ธรรมฝ่ายขาว (กุศลธรรม) พึงทราบโดยตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
แต่ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ สัตว์โลกนี้
พึงเห็นเหมือนต้นไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาต้นรังเป็นต้น. อกุศลมูล
ทั้ง 3 พึงเห็นเหมือนเถาย่านทราย 3. พระโยคาวจร พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้
มาทำเถาวัลย์เหล่านั้นให้เป็นไป (ขุดเถาวัลย์ทิ้ง). ปัญญาพึงเห็นเหมือนจอบ.
พลังแห่งศรัทธา พึงเห็นเหมือนพลังแห่งจอบ. การขุดด้วยวิปัสสนา พึงเห็น
เหมือนการขุดด้วยจอบ. เวลาที่พระโยคาวจร ใช้วิปัสสนาญาณ ตัดรากของ
อวิชชา พึงเห็นเหมือนการตัดรากของเถาวัลย์ โดยการขุด. เวลาที่พระโยคา-
วจรเห็น (รูปนาม) ด้วยสามารถแห่งขันธ์ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ตัดเถาวัลย์

ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่. เวลาที่พระโยคาวจรถอนกิเลสขึ้นได้ด้วยมัคคญาณ
พึงเห็นเหมือนเวลาที่ผ่าเถาวัลย์. เวลาที่เบญจขันธ์ยังดำรงอยู่ พึงเห็น
เหมือนเวลาทำเถาวัลย์ให้เป็นขี้เถ้า. เวลาที่พระโยคาวจร ดับอุปาทินนกขันธ์
โดยการดับไม่ให้มีปฏิสนธิ แล้วไม่ถือปฏิสนธิในภพใหม่ พึงเห็นเหมือนเวลา
ที่เขาโปรยขี้เถ้าลงไปที่พายุใหญ่ ทำให้ไม่ไห้เกิดอีกฉะนั้นแล. ในพระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั้งวัฏฏะ และ วิวัฏฏะ.
จบอรรถกถามูลสูตรที่ 9

10. อุโปสถสูตร



ว่าด้วยอุโบสถ 3 อย่าง



[510] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ บุพพาราม
ปราสาทของ (นางวิสาขา) มิคารมารดา กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นวันอุโบสถ
นางวิสาขา มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ารับสั่งทักนางวิสาขา มิคารมารดา ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
เชิญ วิสาขา มาจากไหนแต่เช้า.
นางกราบทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้ารักษาอุโบสถ พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสพระธรรมเทศนาว่า วิสาขา อุโบสถ 3 นี้ 3 คืออะไร คือ
โคปาลกอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงโคบาล) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยง
นิครนถ์) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ).