เมนู

หลุดพ้นแห่งใจ [จากปฏิฆะ] ด้วยเมตตา) เมื่อบุคคลที่ทำในใจโดยแยบคาย
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย โทสะที่เกิดแล้วย่อม
เสื่อมไปด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งทำโทสะที่ยังไม่เกิด
มิให้เกิดขึ้นบ้าง ทำโทสะที่เกิดแล้วให้เสื่อมไปบ้าง
ถ้าถามว่า โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นก็ดี ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป
ก็ดี เพราะอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย พึงแก้ว่า เพราะโยนิโสมนสิการ (ความทำ
ในใจโดยแยบคาย) เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดย่อม
ไม่เกิดขึ้นด้วย โมหะที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็น
เหตุเป็นปัจจัยซึ่งทำโมหะที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้นบ้าง ทำโมหะที่เกิดแล้วให้
เสื่อมไปบ้าง.
จบติตถิยสูตรที่ 8

อรรถกถาติตถิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในติตถิยสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภควํมูลกา ความว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ภควมูลกา
เพราะมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์
เหล่านี้ อันพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้บังเกิดแล้วในกาลก่อน เมื่อ
พระองค์ปรินิพพานแล้ว ขึ้นชื่อว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ๆ จะสามารถ
ยังธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ชั่วพุทธันดรหนึ่งไม่มีเลย แต่ธรรมเหล่านี้ของ

ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บังเกิดขึ้นแล้ว ข้าพระองค์-
ทั้งหลายจะรู้ทั่วถึง คือ ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ได้ โดยอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพราะฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย ชื่อว่ามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ภควํเนตฺติกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะคือ
ทรงนำออก คือตามแนะนำซึ่งธรรมทั้งหลาย ได้เเก่การตั้งชื่อธรรมแต่ละอย่างๆ
แล้วทรงแสดงตามสภาพ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า มีพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้นำ.
บทว่า ภควํปฏิสรณา ความว่า ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 เมื่อมา
สู่คลองแห่งพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าย่อมแฝงอยู่ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควปฏิสรณา (มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย).
บทว่า ปฏิสรนฺติ1 ได้แก่รวมอยู่ คือชุมนุมอยู่. อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงตั้งชื่อธรรมที่เป็นไปในภูมิ4 แต่ละข้อ ๆ ตามความเป็นจริง
จึงทรงหวนระลึกถึงธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดของพระองค์
ผู้ประทับนั่ง ณ ควงต้นไม้มหาโพธิ์ อย่างนี้ว่า ผัสสะ (เสมือน) มาทูลถามว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่ออะไร. ตรัสตอบว่า เจ้าชื่อว่าผัสสะ
เพราะอรรถว่าถูกต้อง. เวทนา...สัญญา...สังขาร... วิญญาณ (เสมือน)
มาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มีชื่ออย่างไร. ตรัสตอบว่า
เจ้าชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
ภควปฏิสรณา. บทว่า ภควนฺตํเยว ปฏิภาตุ ความว่า ความแห่งภาษิต
นี้จงปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์
นั่นแหละ. จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย.
1. ปาฐะว่า ปฏิสรนฺติ ฉบัมพม่าเป็น ปฏิสรนฺตีติ

บทว่า ราโค โข ได้แก่ ราคะที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
ความยินดี. บทว่า อปฺปสาวชฺโช ความว่า มีข้อที่ควรตำหนิน้อย อธิบายว่า
มีโทษน้อย โดยโทษทั้ง 2 สถาน คือด้วยสามารถแห่งโทษที่เป็นโลกวัชชะ
(โทษในปัจจุบัน) บ้าง ด้วยสามารถแห่งโทษที่เป็นวิปากวัชชะ (โทษใน
อนาคต) บ้าง. ข้อนี้อย่างไร. คือมารดาบิดาให้ที่กับน้องเป็นต้น แต่งงานกัน 1
ให้พวกลูกจัดแต่งงานให้กับพี่น้องของลูกเขา 1. ราคะนี้มีโทษน้อย โดยที่
เป็นโลกวัชชะเท่านี้ก่อน. ส่วนราคะที่มีโทษน้อย โดยที่เป็นวิปากวัชชะ
อย่างนี้คือ ชื่อว่าปฏิสนธิในอบาย ที่มีสทารสันโดษเป็นมูลหามีไม่.
บทว่า ทนฺธวิราคี ความว่า ก็ราคะนี้เมื่อจะคลาย ก็จะค่อย ๆ คลาย
ไม่หลุดพ้นไปเร็ว จะติดตามอยู่นาน เหมือน (ผ้า) ที่ย้อมด้วยเขม่าเจือด้วย
น้ำมัน ถึงจะไปสู่ภพอื่น 2-3 ภพ ก็ยังไม่จากไป1 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทันธวิราคี (คลายออกช้า ๆ) ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง

เรื่องหญิงฆ่าผัว



เล่ากันมาว่า บุรุษผู้หนึ่งประพฤติมิจฉาจาร ต่อภรรยาของพี่ชาย
เขาเองได้เป็นที่รักของหญิงนั้น ยิ่งกว่าสามีของตน. นางพูดกับเขาว่า เมื่อเหตุนี้
ปรากฏแล้ว ข้อครหาอย่างใหญ่หลวงจักมี ท่านจงฆ่าพี่ชายของท่านเสีย เขาข่มขู่
หญิงนั้นว่า ฉิบหายเถิด อีถ่อย มึงอย่าพูดอย่างนี้อีก. นางก็นิ่ง ล่วงไป
2-3 วัน ก็พูดอีก จิตของเขาถึงความลังเล ต่อแต่นั้น ถูกนางรบเร้าถึง
3 ครั้ง จึงพูดว่า เราจะทำอย่างไร ถึงจะได้โอกาส. ลำดับนั้นนางได้บอก
อุบายแก่เขาว่า ท่านจงทำตามที่ข้าพเจ้าบอกเท่านั้น ใกล้บ้านมหากกุธะ
1. ปาฐะว่า คนฺตวาปิ นาคจฺฉตีติ ทนฺธวิราคี เทฺว ติณิ ภวนฺตรานิ อาคจฺฉตีติ ทนฺธวิราคี
ฉบับพม่าเป็น เทฺว ตีณิ ภวนฺตรานิ คนฺตวาปิ นาปคจฺฉตีติ ทนฺธวิราคี เเปลตามฉบับพม่า.