เมนู

บทว่า อญฺญวาเท สณฺฐาติ ความว่า บุคคลบางคนถามปัญหาแล้ว
มีผู้กล่าวว่า ท่านถามปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ถามปัญหาควรถามอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว ก็รับรองไม่ให้เกิดความฉงน (แก่ผู้อื่น). แม้ตอบปัญหาแล้ว เมื่อมีผู้
พูดว่า ท่านตอบปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ตอบปัญหา ควรตอบอย่างนี้ ก็รับรอง
ไม่ให้เกิดความฉงนขึ้น (อย่างนี้ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่ในเพราะวาทะของผู้อื่น)
บทว่า ปฏิปทาย สณฺฐาติ ความว่า ภิกษุบางรูปเขานิมนต์ให้นั่ง
ในเรือน ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้น นั่งอยู่ในระหว่างจนกว่าจะ
เสร็จภัตกิจ จึงจะถามปัญหา ถือ เอาเภสัช มีเนยใส เป็นต้น น้ำปานะ 8
อย่าง หรือผ้าเครื่องปกปิด ระเบียบ และของหอมเป็นต้น เดินไปวิหาร
ให้ของเหล่านั้นแล้ว เข้าสู่ที่พักกลางวัน ขอโอกาสแล้วจึงถามปัญหา จริงอยู่
ผู้ถามปัญหาโดยรู้ธรรมเนียมอย่างนี้ ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ในปฏิปทา เธอจะตอบ
ปัญหาของเขาก็ควร.
บทว่า อญฺเญนญฺญํ ปฏิจรติ ความว่า กลบเกลื่อนถ้อยคำอย่าง
หนึ่ง ด้วยถ้อยคำอีกอย่างหนึ่ง หรือถูกถามปัญหาอย่างหนึ่ง ตอบไปอีก
อย่างหนึ่ง. บทว่า พหิทฺธา กถํ อปนาเมติ ความว่า เมื่อข้ามเรื่องแรก
เสีย ชื่อว่าพูดถลากไถล (ไม่ตรงไปตรงมา). ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้

เรื่องพระพูดถลากไถลนอกเรื่อง


เล่ากันมาว่า ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
ว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ และชื่อนี้. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ผมเดินทางไปนาคทวีป. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส พวกเราไม่
สนใจเรื่องที่ท่านไปนาคทวีป แต่พวกเราถามท่านว่า ท่านต้องอาบัติหรือ.
ภิกษุหนุ่ม. ท่านขอรับ ผมไปนาคทวีป แล้วฉันปลา

ภิกษุทั้งหลาย. อาวุโส เรื่องฉันปลาของคุณ พวกเราไม่เกี่ยว เขาว่า
คุณต้องอาบัติ.
ภิกษุหนุ่ม. ครับผม ปลาไม่ค่อยสุก ทำให้ผมไม่สบาย.
ภิกษุทั้งหลาย. อาวุโส คุณจะสบาย หรือไม่สบาย พวกเราไม่เกี่ยว
(แต่) คุณต้องอาบัติ.
ภิกษุหนุ่ม. ขอรับ กระผมเกิดไม่สบาย ตลอดเวลาที่อยู่ในนาคทวีป
นั้น.
ด้วยเรื่องตามที่เล่ามานี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมพูดถลากไถลไป
นอกเรื่อง โดยการเอาเรื่องอื่นเข้ามาพูดแทรก.
บทว่า อภิหรติ ความว่า พูดพล่าม โดยนำเอาพระสูตรโน้นบ้าง
นี้บ้าง ดุจพระเตปิฎกติสสเถระ. เล่ากันมาว่า เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายประชุม
กันที่ลานมหาเจดีย์ กระทำกิจของสงฆ์แล้ว ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
สนทนาได้ถามปัญหากัน. ในที่ประชุมนั้น พระเถระรูปนี้ ชักพระสูตรมาจาก
คัมภีร์นั้น ๆ จากพระไตรปิฎก ตลอดทั้งวัน แม้ปัญหาข้อเดียวก็จบไม่ได้.
บทว่า อภิมทฺทติ ความว่า ชักเหตุมาพูดย่ำยี. บทว่า อนูปชคฺฆติ
ความว่า เมื่อภิกษุรูปอื่นถามปัญหาก็ดี ตอบปัญหาก็ดี ปรบมือ หัวเราะเฮฮา
อันเป็นเหตุให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า เราถามปัญหาที่ผู้อื่นเขาไม่ถาม หรือ
ตอบปัญหาที่เขาไม่ตอบกัน. บทว่า ขลิตํ คณฺหาติ ความว่า จับเอาข้อความ
ที่กล่าวพลาดไปเล็กน้อย คือเที่ยวยกโทษว่า ข้อนี้ต้องตอบอย่างนี้ในเมื่อพูด
พลาดไปอักขระ 1 บท 1 หรือพยัญชนะ 1.
บทว่า สอุปนิโส ได้แก่มีอุปนิสัย. คือมีปัจจัย. บทว่า โอหิตโสโต
ได้แก่ตั้งใจฟัง. บทว่า อภิชานาติ เอกํ ธมฺมํ ความว่า รู้ยิ่งซึ่งกุศลธรรม
อย่างหนึ่ง คือรู้อริยมรรค. บทว่า ปริชานาติ เอกํ ธมฺมํ ความว่า

กำหนดรู้ทุกขสัจธรรมอย่างหนึ่ง ด้วยตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ด้วยการ
พิจารณา). บทว่า ปชหติ เอกํ ธมฺมํ ความว่า ละธรรมอย่างหนึ่ง คือ
อกุศลธรรมทั้งหมด. บทว่า สจฺฉิกโรติ เอกํ ธมฺมํ ความว่า กระทำ
ธรรมอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลธรรม หรือนิโรธนั่นแหละให้ประจักษ์. บทว่า
สมฺมา วิมุตตึ ผุสติ ความว่า ถูกต้องวิโมกข์ คืออรหัตผล ด้วยการถูกต้อง
ด้วยญาณ โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ.
บทว่า เอตทตฺถา ภิกฺขเว กถา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย กถา
ที่เราแสดงไว้ว่า ด้วยการพูดสนทนาปราศรัยกัน มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์
ได้แก่มีความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดมั่นนี้ เป็นพื้นฐาน คือ เป็นที่ตั้ง
เป็นวัตถุ แห่งกถานั้น พึงทราบการประกอบความในทุก ๆ บท ดังพรรณนา
มานี้. บทว่า เอตทตฺถา มนฺตนา ความว่า ในบรรดาบุคคลผู้สมควรและ
ไม่สมควร การปรึกษากับบุคคลผู้สมควรแม้นี้ มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์เหมือน
กัน. บทว่า เอตทตฺถา อุปนิสา ความว่า แม้อุปนิสัยที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ผู้มีอุปนิสัย มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์เหมือนกัน. บทว่า
เอตทตฺถํ โสตาวธานํ ความว่า แม้การเงี่ยโสตลงพร้อมทั้งอุปนิสัย ของผู้นั้น
มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์เหมือนกัน. บทว่า อนุปาทา แปลว่า เพราะไม่ยึดมั่น
ด้วยอุปาทานทั้ง 4. ความหลุดพ้นคือพระอรหัตผล ชื่อว่า ความหลุดพ้น
แห่งจิต.
เพราะว่าคำทั้งหมดนี้ ตรัสไว้เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล เพราะฉะนั้น
เมื่อพระองค์จะทรงสรุปพระสูตร รวมยอดด้วยพระคาถาต่อไป จึงตรัสคำมี
อาทิว่า เย วิรุทฺธา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิรุทฺธา ความว่า
ผิดใจกันเพราะโกรธ กล่าวคือพิโรธ. บทว่า สลฺลปนฺติ ได้แก่การเจรจา
ปราศรัยกัน. บทว่า วินิวิฏฺฐา ได้แก่เป็นผู้หมายมั่น. บทว่า สมุสฺสิตตา
ความว่า ยกขึ้นสูงโดยการยกด้วยอำนาจมานะ. บทว่า อนริยคุณมาสชฺช

ความว่า กล่าวคุณกถาที่ไม่ใช่แบบอย่างพระอริยะ กระทบกระเทือนคุณความดี
อธิบายว่า กล่าวกถากระทบกระทั่งคุณความดี ที่ชื่อว่า อนริยกถา ไม่ใช่
อริยกถา บทว่า อญฺโญญฺญวิวเรสิโน ความว่า จ้องหาช่อง คือความผิด
ของกันแลกัน. บทว่า ทุพฺาสิตํ ได้แก่พูดไม่ดี. บทว่า วิกฺขลตํ ได้แก่
พูดพลั้งปากไปเล็กน้อย. บทว่า สมฺปโมหํ ปราชยํ ความว่า ยินดีข้อ
พลาดพลั้ง และความพ่ายแพ้ของกันและกัน เพราะปากร้าย ไปเล็กน้อย.
บทว่า อภินนฺทนฺติ แปลว่า ยินดี. บทว่า นาจเร ความว่า ไม่ประพฤติ
คือไม่พูด.
บทว่า ธมฺมฏฺปฏิสํยุตฺตา ความว่า กถาที่ผู้ตั้งอยู่ในธรรมสนทนา
กันชื่อว่า ธัมมัฏฐปฏิสังยุตตา เพราะตั้งอยู่ในธรรมด้วย ประกอบด้วย
ธรรมนั้นด้วย. บทว่า อนุตฺติณฺเณน มนสา ได้แก่ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า อปฬาโส ความว่า ไม่ตีเสมอ ด้วยการตีเสมอ โดยถือเป็นคู่แข่ง*.
บทว่า อสาหโส ความว่า ไม่รุนแรง ด้วยสามารถแห่งความรุนแรง คือ
ราคะ โทสะ และโมหะ.
บทว่า อนุสฺสุยฺยายมาโน ได้แก่ไม่ริษยา. บทว่า ทุพฺภฏเฐ
นาปสาทเย
ความว่า ไม่รุกราน ในเพราะถ้อยคำที่พลั้งพลาด. บทว่า
อุปารมฺภํ น สิกฺเขยฺย ความว่า ไม่สนใจคำติเตียนที่มีลักษณะเกินกว่าเหตุ.
บทว่า ขลิตญฺจ น คาหเย ความว่า คำพูดที่พลั้งปากไปเล็กน้อยก็ไม่
ถือว่า นี้เป็นความผิดของท่าน. บทว่า นาภิหเร ได้แก่ไม่พูดทับถม. บทว่า
นาภิมทฺเท ได้แก่ไม่พูดย่ำยี โดยอ้างเหตุอีกอย่างหนึ่ง.
จบอรรถกถากถาวัตถุสูตรที่ 7
1. ปาฐะว่า อปฬาโส หุตฺวา ฉบับพม่าเป็น ยุคคฺคาหปฬาสวเสน อปฬาโส หุตฺวา แปลตาม
ฉบับพม่า.

8. ติตถิยสูตร



ว่าด้วยความแตกต่างเเห่งอกุศลมูล 3



[508] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชก1 ผู้ถือลัทธิอื่น จะพึง
ถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ธรรม 3 นี้ ธรรม 3 คืออะไร คือ ราคะ
โทสะ โมหะ นี้แล อาวุโสทั้งหลาย ธรรม 3. ธรรม 3 นี้ วิเศษแปลกต่าง
กันอย่างไร ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงแก้ว่ากระไร แก่พวกปริพาชก
ผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ธรรม
ทั้งหลายของข้าพระพุทธเจ้ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล มีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นแบบฉบับ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย สาธุ ขอเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเองเถิด2 ภิกษุทั้งหลายฟัง
จากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.
ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ-
ทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกผู้นับถือลัทธิอื่นจะพึงถามอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ธรรม 3 นี้ ฯลฯ วิเศษแปลกต่างกันอย่างไร ท่านทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้ พึงแก้อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อย แต่
คลายช้า โทสะมีโทษมาก แต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วย คลายช้าด้วย.
1. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ถ้าเพศหญิงเรียกว่า ปริพาชิกา
2. เป็นสำนวน หมายความว่า ขอพระองค์ประทานคำตอบเองเถิด