เมนู

บทว่า อญฺญวาเท สณฺฐาติ ความว่า บุคคลบางคนถามปัญหาแล้ว
มีผู้กล่าวว่า ท่านถามปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ถามปัญหาควรถามอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว ก็รับรองไม่ให้เกิดความฉงน (แก่ผู้อื่น). แม้ตอบปัญหาแล้ว เมื่อมีผู้
พูดว่า ท่านตอบปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ตอบปัญหา ควรตอบอย่างนี้ ก็รับรอง
ไม่ให้เกิดความฉงนขึ้น (อย่างนี้ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่ในเพราะวาทะของผู้อื่น)
บทว่า ปฏิปทาย สณฺฐาติ ความว่า ภิกษุบางรูปเขานิมนต์ให้นั่ง
ในเรือน ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้น นั่งอยู่ในระหว่างจนกว่าจะ
เสร็จภัตกิจ จึงจะถามปัญหา ถือ เอาเภสัช มีเนยใส เป็นต้น น้ำปานะ 8
อย่าง หรือผ้าเครื่องปกปิด ระเบียบ และของหอมเป็นต้น เดินไปวิหาร
ให้ของเหล่านั้นแล้ว เข้าสู่ที่พักกลางวัน ขอโอกาสแล้วจึงถามปัญหา จริงอยู่
ผู้ถามปัญหาโดยรู้ธรรมเนียมอย่างนี้ ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ในปฏิปทา เธอจะตอบ
ปัญหาของเขาก็ควร.
บทว่า อญฺเญนญฺญํ ปฏิจรติ ความว่า กลบเกลื่อนถ้อยคำอย่าง
หนึ่ง ด้วยถ้อยคำอีกอย่างหนึ่ง หรือถูกถามปัญหาอย่างหนึ่ง ตอบไปอีก
อย่างหนึ่ง. บทว่า พหิทฺธา กถํ อปนาเมติ ความว่า เมื่อข้ามเรื่องแรก
เสีย ชื่อว่าพูดถลากไถล (ไม่ตรงไปตรงมา). ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้

เรื่องพระพูดถลากไถลนอกเรื่อง


เล่ากันมาว่า ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
ว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ และชื่อนี้. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ผมเดินทางไปนาคทวีป. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส พวกเราไม่
สนใจเรื่องที่ท่านไปนาคทวีป แต่พวกเราถามท่านว่า ท่านต้องอาบัติหรือ.
ภิกษุหนุ่ม. ท่านขอรับ ผมไปนาคทวีป แล้วฉันปลา