เมนู

การพูดของสัตบุรุษทั้งหลาย เป็น
การพูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความเลื่อมใส
อารยชนทั้งหลายย่อมพูดกันอย่างนี้ นี่เป็น
การสนทนากันแห่งอารยชน ผู้มีปัญญา
รู้ความข้อนี้แล้ว พึงพูดจาอย่ายกตัว.

จบกถาวัตถุสูตรที่ 7

อรรถกถาวัตถุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกถาวัตถุสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กถาวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุที่ให้เกิดกถา อธิบายว่าเป็นพื้นฐาน
คือเป็นที่ตั้งแห่งกถา. บทว่า อตีตํ วา ภิกฺขเว อทฺธานํ ความว่า กาลก็ดี
ขันธ์ก็ดี ชื่อว่า อตีตัทธา (ระยะกาลอันยืนยาวนานที่ผ่านมาแล้ว) ก็ควร.
แม้ในอนาคตและปัจจุบัน ก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.
ในบรรดากาลทั้ง 3 นั้น เมื่อพูดโดยนัยนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ ที่มาแล้วในอดีต พระเจ้ากรุงกาสีทรงพระนามว่า กิงกิ
ได้เป็นอรรคอุปัฏฐากของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนนานถึง
20,000 ปี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวคาถาปรารภอดีต.
เมื่อกล่าวโดยนัยนี้ว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่า เมตไตรย จักมีมาใน
อนาคต พระราชาพระนามว่า สังขะ. จักเป็นอรรคอุปัฏฐากของพระองค์
พระองค์จะมีพระชนมายุ 80,000 ปี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวคาถาปรารภอนาคต.

เมื่อกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ในปัจจุบันนี้ พระราชาพระนามอย่างโน้น
เป็นธรรมิกราช พระองค์โน้นก็เป็นธรรมิกราช ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวกถาปรารภ
ปัจจุบัน.
บทว่า กถาสมฺปโยเคน ได้แก่ ประคารมกัน. บทว่า กจฺโฉ
แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. บทว่า อกจฺโฉ ความว่า ไม่ควรเพื่อจะกล่าว.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำมีอาทิว่า เอกํสพฺยากรณียํ ปญฺหํ ดังต่อไปนี้
ผู้ถูกถามว่า จักษุไม่เที่ยงหรือ ควรตอบโดยส่วนเดียวว่า ถูกแล้ว
จักษุไม่เที่ยง. ในอินทรีย์ทั้งหลายมีโสตะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. นี้
ชื่อว่า เป็นปัญหาที่พึงตอบโดยส่วนเดียว (คือตอบประเด็นเดียว).
แต่ผู้ถูกถามว่า จักษุ ชื่อว่า ไม่เที่ยงหรือ ก็ควรแยกตอบอย่างนี้ว่า
ไม่ใช่จักษุอย่างเดียวที่ไม่เที่ยง ถึงโสตะก็ไม่เที่ยง ถึงฆานะก็ไม่เที่ยง นี้ ชื่อว่า
เป็นปัญหาที่ต้องแยกตอบ.
ผู้ถูกถามว่า โสตะเหมือนกับจักษุ จักษุเหมือนกับโสตะหรือ ควร
ย้อนถามว่า ท่านถามโดยหมายความอย่างไร ? เมื่อเขาตอบว่า เราถามหมาย
ถึงการเห็น แล้วจึงตอบว่า ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อเขาตอบว่า ผมถามหมายถึง
ความไม่เที่ยง ก็ควรตอบว่า ถูกแล้ว นี้ชื่อว่า เป็นปัญหาที่ต้องย้อนถาม
แล้วจึงตอบ
.
แต่ผู้ถูกถามปัญหา เป็นต้นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ ?
ควรงดตอบ โดยพูดว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาแบบนี้
เป็นปัญหาที่ไม่ควรพยากรณ์ นี้ชื่อว่า เป็นปัญหาที่ควรงดตอบ.
บทว่า ฐานฏฺฐาเน น สณฺฐาติ ความว่า ไม่ตั้งอยู่ในเหตุหรือ
ในสิ่งที่ไม่ใช่เหตุ. ในข้อนั้นมีนัยดังต่อไปนี้ ก็สัสสตวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่า
ยั่งยืน) สามารถเพื่อจะข่มอุจเฉทวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่าขาดสูญ) ด้วยเหตุ

ที่สมควรได้ อุจเฉทวาทีบุคคลเมื่อถูกข่มขู่ จะแสดงความเป็นสัสสตวาทีบุคคล
ออกมาว่า ก็ผมพูดความขาดสูญหรือ ? เขาชื่อว่าไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในวาทะ
ของตนได้ เมื่ออุจเฉทวาทีบุคคลสามารถ (ข่มเขาอยู่) อย่างนี้ เขาจะกลาย
เป็นสัสสตวาทีบุคคลไป เมื่อปุคคลวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่ามีบุคคล) สามารถ
(ข่มเขาอยู่) เขาก็จะกลายเป็นสุญญตวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่าสูญ) ไป เมื่อ
สุญญตวาทีบุคคลสามารถ (ข่มเขาอยู่) เขาก็จะกลายเป็น ปุคคลวาทีบุคคลไป
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ย่อมชื่อว่า ไม่ยืนหยัดอยู่ ทั้งในฐานะและอฐานะ.
คำว่า ปริกปฺเป น สณฺฐาติ นี้ ได้ทั้งในการถามปัญหาและการ
ตอบปัญหา. ถามว่า ข้อนี้อย่างไร ตอบว่า ก็คนบางคน ชูคอหมายจะถาม
ปัญหาว่า เราจักถามปัญหาเขาดู อีกฝ่ายหนึ่งพูดว่า ท่านจะถามปัญหานี้หรือ
รู้ว่าเขารู้แล้วก็พูดว่า ไม่ใช่ข้อนี้ ผมจะถามข้ออื่น. แม้เธอถูกถามปัญหาก็เชย
คางหมายจะตอบปัญหาว่า เราจักตอบปัญหา. เธอถูกอีกฝ่ายหนึ่งพูดว่า ท่าน
จักตอบปัญหานี้หรือ รู้ว่าเขารู้แล้ว ก็พูดว่า ไม่ใช่ข้อนี้ เราจะตอบข้ออื่น
อย่างนี้ ชื่อว่าไม่ตั้งมั่นอยู่ในข้อที่กำหนดไว้.
บทว่า อญฺญวาเท น สณฺฐาติ ความว่า ไม่ตั้งมั่นในวาทะที่
รู้แล้ว คือในวาทะที่ทราบแล้ว. ถามว่า ข้อนี้อย่างไร ตอบว่า คนลางคน
ถามปัญหาอยู่ อีกฝ่ายหนึ่งพูดกะเขาว่า ท่านถามปัญหาถูกใจ ปัญหานี้ ท่าน
เรียนมาจากไหน ? ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งถามปัญหา ตามแนวที่จะต้องถามนั่นแหละ
ก่อให้เกิดความฉงนในถ้อยคำแก่ผู้นั้นว่า ที่เราถามแล้วไม่ตรงประเด็นหรือ
อย่างไร ? ฝ่ายหนึ่งที่ถูกถามปัญหาแล้ว ตอบปัญหาอยู่. คนอื่นพูดกะเขาว่า
ท่านตอบปัญหาดีแล้ว ท่านเรียนปัญหามาจากไหน ธรรมดาผู้จะตอบปัญหา
ต้องตอบอย่างนี้ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง แม้แก้ปัญหาตามแนวที่จะต้องแก้นั่นแหละ

แต่ก่อให้เกิดความฉงนในถ้อยคำแก่ผู้นั้นว่า ที่เราตอบไปแล้ว ไม่ตรงประเด็น
หรืออย่างไร ?
บทว่า ปฏิปทาย น สณฺฐาติ ความว่า ไม่ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ
อธิบายว่า ถามในสิ่งที่ไม่ควรถาม โดยไม่รู้ธรรมเนียม. ก็ธรรมดาปัญหานี้
ผู้ที่ถูกเขาถามที่ลานเจดีย์ ไม่ควรตอบ. ในทางภิกษาจารก็ดี ในเวลาเที่ยวไป
บิณฑบาตในบ้านก็ดี ในเวลานั่งบนอาสนศาลาก็ดี ในเวลานั่งรับข้าวยาคูและ
ภัตรก็ดี ในเวลานั่งฉันก็ดี แม้ในเวลาเดินทางไปสู่ที่พักกลางวันก็ดี ก็ไม่ควร
ตอบเหมือนกัน. แต่ในเวลานั่งในที่พักกลางวัน เมื่อเขาขอโอกาสก่อนถาม
ก็ควรตอบ เมื่อไม่ขอโอกาสแล้วถาม ก็ไม่ควรตอบ. ผู้ถามโดยไม่รู้ธรรมเนียม
นี้ ชื่อว่า ไม่ตั้งมั่น อยู่ในปฏิปทา. บทว่า เอวํ สนฺตายํ ภิกฺขเว ปุคฺคโล
อกจฺโฉ โหติ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเหตุนี้มีอยู่ บุคคลนี้
ชื่อว่า ไม่ควรตอบปัญหานี้.
บทว่า ฐานฏฺฐาเน สณฺฐาติ ความว่า สัสสตวาทีบุคคลมีพอที่จะ
ข่มอุจเฉทวาทีบุคคล. อุจเฉทวาทีบุคคล แม้ถูกสัสสตวาทีบุคคลข่มอยู่ ก็กล่าว
(ยืนยัน ) ว่า เราแม้จะถูกท่านข่มขู่อยู่ 7 ครั้ง ก็ยังคงเป็นอุจเฉทวาทีอยู่นั่นเอง
แม้ในสัสสตวาทีบุคคล ปุคคลวาทีบุคคลและสุญญตวาทีบุคคล ก็พึงนำนัย
ไปโดยนัยนี้แหละ อย่างนี้ ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ.
บทว่า ปริปฺเป สณฺฐาติ ความว่า คนบางคนชูคอหมายจะถาม
ปัญหาว่า เราจะถามปัญหา เมื่อถูกเขาพูดว่า ท่านจักถามปัญหาชื่อนี้หรือ ?
ก็ตอบว่า ถูกละ เราจะถามปัญหาข้อนี้แหละ (ถึงเธอถูกถามปัญหา) ก็เชยคาง
หมายจะตอบปัญหาว่า เราจะตอบปัญหา เมื่อถูกถามว่า ท่านจักตอบปัญหา
ข้อนี้หรือ ? ก็พูดยืนยันว่า ถูกละ เราจะตอบปัญหาข้อนี้แหละ อย่างนี้ ชื่อว่า
ตั้งมั่น อยู่ในข้อที่กำหนด.

บทว่า อญฺญวาเท สณฺฐาติ ความว่า บุคคลบางคนถามปัญหาแล้ว
มีผู้กล่าวว่า ท่านถามปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ถามปัญหาควรถามอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว ก็รับรองไม่ให้เกิดความฉงน (แก่ผู้อื่น). แม้ตอบปัญหาแล้ว เมื่อมีผู้
พูดว่า ท่านตอบปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ตอบปัญหา ควรตอบอย่างนี้ ก็รับรอง
ไม่ให้เกิดความฉงนขึ้น (อย่างนี้ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่ในเพราะวาทะของผู้อื่น)
บทว่า ปฏิปทาย สณฺฐาติ ความว่า ภิกษุบางรูปเขานิมนต์ให้นั่ง
ในเรือน ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้น นั่งอยู่ในระหว่างจนกว่าจะ
เสร็จภัตกิจ จึงจะถามปัญหา ถือ เอาเภสัช มีเนยใส เป็นต้น น้ำปานะ 8
อย่าง หรือผ้าเครื่องปกปิด ระเบียบ และของหอมเป็นต้น เดินไปวิหาร
ให้ของเหล่านั้นแล้ว เข้าสู่ที่พักกลางวัน ขอโอกาสแล้วจึงถามปัญหา จริงอยู่
ผู้ถามปัญหาโดยรู้ธรรมเนียมอย่างนี้ ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ในปฏิปทา เธอจะตอบ
ปัญหาของเขาก็ควร.
บทว่า อญฺเญนญฺญํ ปฏิจรติ ความว่า กลบเกลื่อนถ้อยคำอย่าง
หนึ่ง ด้วยถ้อยคำอีกอย่างหนึ่ง หรือถูกถามปัญหาอย่างหนึ่ง ตอบไปอีก
อย่างหนึ่ง. บทว่า พหิทฺธา กถํ อปนาเมติ ความว่า เมื่อข้ามเรื่องแรก
เสีย ชื่อว่าพูดถลากไถล (ไม่ตรงไปตรงมา). ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้

เรื่องพระพูดถลากไถลนอกเรื่อง


เล่ากันมาว่า ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
ว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ และชื่อนี้. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ผมเดินทางไปนาคทวีป. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส พวกเราไม่
สนใจเรื่องที่ท่านไปนาคทวีป แต่พวกเราถามท่านว่า ท่านต้องอาบัติหรือ.
ภิกษุหนุ่ม. ท่านขอรับ ผมไปนาคทวีป แล้วฉันปลา