เมนู

เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น
อธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ด้วยโอวาทว่า
กายกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ กายกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ ... ในวจีกรรม
ด้วยโอวาทว่า วจีกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ วจีกรรมอย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ
... ในมโนกรรม ด้วยโอวาทว่า มโนกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ มโนกรรม
อย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะผู้ทรง
ธรรมเป็นพระธรรมราชานั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ...
เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น
อธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ... ในวจีกรรม
... ในมโนกรรมแล้ว ทรงยังพระธรรมจักรอย่างยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรม
นั่นเทียว พระธรรมจักรนั้นจึงเป็นจักรอันสมณะหรือพราหมณ์หรือเทวดา
หรือมารหรือพรหมหรือใคร ๆ ในโลก ให้เป็นไปตอบไม่ได้.
จบจักกวัตติสูตรที่ 4

อรรถกถาจักกวัตติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-

ความหมายของคำว่า ราชา



ที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรักด้วยสังคห-
วัตถุ 4. ที่ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะหมายความว่า ทำจักรให้หมุนไป.
ที่ชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะหมายความว่า มีธรรม. ที่ชื่อว่า ธรรมราชา

เพราะหมายความว่า ทรงเป็นพระราชาด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยจักรพรรดิ
วัตร 10 ประการ. บทว่า โสปิ น อราชกํ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น
เมื่อไม่ได้พระราชาอื่นเป็นที่อาศัย1 ก็ไม่ทรงสามารถจะปล่อยจักรไปได้.
พระศาสดาทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเสีย. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะพระองค์ทรงดำริว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในอนุสนธิ
จักลุกขึ้นถามอนุสนธิ. เนื่องจากว่า ในที่นี้มีภิกษุทำนองนั้นมากอยู่มาก ครั้นแล้ว
เราตถาคตอันภิกษุเหล่านั้น ถามแล้ว จึงจักขยายเทศนา. ทันใดนั้น ภิกษุ
ผู้ฉลาดในอนุสนธิรูปหนึ่ง เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลคำว่า
โก ปน ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์
แก่ภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า ธมฺโม ภิกขุ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ธรรม คือ กุศลกรรมบถ
10 ประการ. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า
นิสฺสาย ได้แก่ ทำธรรมนั้นแลให้เป็นที่อาศัยด้วยใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม
นั้น. บทว่า ธมฺมํ สกุกโรนฺโต ความว่า ธรรมที่ตนสักการะแล้วนั่นแล
ย่อมเป็นอันทำด้วยดีด้วยประการใด ก็กระทำโดยประการนั้นทีเดียว. บทว่า
ธมฺมํ ครุกโรนฺโต ความว่า เคารพธรรมนั้นด้วยการเกิดความเคารพใน
ธรรมนั้น. บทว่า ธมฺมํ อปจายมาโน ความว่า ทำความอ่อนน้อมถ่อมตน
ด้วยสามีจิกรรม มีการประคองอัญชลีเป็นต้น แก่ธรรมนั้นนั่นแล.
บทว่า ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นธงชัย
และชื่อว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นตรา เพราะทำธรรมนั้นไว้ข้างหน้า เหมือนนัก
รบยกธงไว้ข้างหน้า และยกธรรมนั้นขึ้น เหมือนนักรบยกทวนขึ้นเป็นไป.
บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ เพราะความ
1. ปาฐะว่า นิสฺสาย ราชานํ ลภิตฺวา ฉบับพม่าเป็น นิสฺสยราชานํ อลภิตฺวา แปลตามฉบับพม่า

เป็นผู้มีธรรมเป็นอธิบดี และเพราะทำกิริยาทั้งปวง (ราชกิจทุกอย่าง) ด้วย
อำนาจธรรมนั่นแล. ในบทว่า ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ สํวิทหติ พึงทราบ
อธิบายว่า การรักษาเป็นต้น ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เพราะหมายความว่า
มีธรรม. การรักษาการป้องกัน และการคุ้มครอง ชื่อว่า รักขาวรณคุตติ.
บรรดาการรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองเหล่านั้น คุณธรรมมีขันติ
เป็นต้น ชื่อว่าการรักษา ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลเมื่อรักษาคนอื่น ชื่อว่า
รักษาตน. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บุคคลรักษาคนอื่น ด้วยวิธีอย่างไร จึงชื่อว่า รักษาตน
บุคคลรักษาคนอื่นด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยเมตตาจิต
(และ) ด้วย
ความเป็นผู้มีความเอ็นดู จึงชื่อว่า รักษาตนด้วย
ดังนี้. การป้องกัน
สมบัติ มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเรือนเป็นต้น ชื่อว่าอาวรณะ. การคุ้มครองเพื่อ
ป้องกันอุปัทวันตรายจากโจรเป็นต้น ชื่อว่า คุตติ. อธิบายว่า พระเจ้าจักร-
พรรดิ ทรงจัดคือทรงวาง การรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองที่ชอบ
ธรรมนั้นทั้งหมดด้วยดี.

ผู้ที่ต้องจัดอารักขาให้



บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลที่จะต้องจัดการรักษา ป้องกันและ
คุ้มครอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนฺโตชนสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ใน
บทว่า อนฺโตชนสฺมึ เป็นต้นนั้น มีความย่อดังต่อไปนี้
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงให้พระราชโอรส และพระมเหสี ที่เรียกว่า
คนภายใน ดำรงอยู่ในศีลสังวร พระราชทานผ้า ของหอม และพวงมาลา