เมนู

อรรถกถาสาฬหสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสาฬหสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มิคารนตฺตา แปลว่า เป็นหลานของมิคารเศรษฐี. บทว่า
เขณิยนตฺตา1 แปลว่า เป็นหลานของเขณิยเศรษฐี. บทว่า อุปสงฺกมึสุ
ความว่า หลานทั้งสอง รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีทาสและกรรมกรห้อมล้อม
เข้าไปหาแล้ว. ได้ยินว่า เวลาเช้า ก่อนอาหาร ที่เรือนของหลานเศรษฐี
ทั้งสองนั้น ตั้งปัญหาข้อหนึ่ง แต่ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้. เขาทั้งสอง
คิดว่า เราจักฟังปัญหานั้น จึงไปยังสำนักของพระเถระไหว้แล้ว นั่งดุษณี-
ภาพอยู่.
พระเถระรู้ใจของเขาเหล่านั้นว่า เขาจักมาพึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้าน
นั้น2 ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มพูดกันถึงปัญหานั้นแหละ3 จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
เอถ ตุมฺเห สาฬฺหา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ โลโภ
ความว่า พระนันทกเถระ ถามว่า ชื่อว่า ความโลภ มีความอยากได้เป็น
สภาพ มีอยู่หรือ. บทว่า อภิชฺฌาติ โข อหํ สาฬฺหา เอตมตฺถํ วทามิ
ความว่า พระนันทกเถระ เมื่อจะแสดงความแห่งปัญหาที่ตั้งขึ้น จึงกล่าวว่า
เรากล่าวความข้อนี้ กล่าวคือความโลภ ว่าเป็นอภิชฌา ว่าเป็นตัณหา
ดังนี้. ควรนำนัยนี้ ไปใช้ในทุก ๆ วาระอย่างนี้.
บทว่า โส เอวํ ปชานาติ ความว่า พระอริยสาวกนั้น เจริญ-
พรหมวิหาร 4 ดำรงอยู่แล้ว ออกจากสมาบัติแล้ว เมื่อเริ่มวิปัสสนา ย่อมรู้ชัด
1. บาลีเป็น เปขุณิยนตฺตา ม. เสขุณิยตฺตา
2. ปาฐะว่า คามนฺตรสมุฏฺฐิตํ ฉบับพม่าเป็น คาเม ตํ สมุฏฺฐิตํ แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า ตเถว ฉบับพม่าเป็น ตเม บญฺหํ แปลตามฉบับพม่า.

อย่างนี้. บทว่า อตฺถิ อิทํ ความว่า พระอริยสาวกนี้ เมื่อกำหนดรู้ขันธ-
ปัญจก กล่าวคือทุกขสัจ ด้วยสามารถแห่งนามรูปว่า ทุกขสัจมีอยู่ ท่านเรียกว่า
รู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีอยู่. บทว่า หีนํ ได้แก่สมุทยสัจ. บทว่า ปณีตํ ได้แก่
มัคคสัจ. บทว่า อิมสฺส สญฺญาคตสฺส อุตฺตริ นิสฺสรณํ ความว่า
พระนันทกเถระ แสดงนิโรธสัจด้วยคำนี้ว่า ธรรมดาการแล่นออกไปอย่างยิ่ง
แห่งสัญญา กล่าวคือ วิปัสสนาสัญญานี้ ชื่อว่า นิพพาน นิพพานนั้นมีอยู่.
บทว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺติมิติ ญาณํ ความว่า ปัจจเวกขณญาณ
19 อย่าง ท่านกล่าวไว้แล้ว. บทว่า อหุ ปุพฺเพ โลโภ ความว่า
ความโลภของเราได้มีแล้วในกาลก่อน. บทว่า ตทหุ อกุสลํ ความว่า
นั้นได้ชื่อว่าเป็นอกุศล อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อกุศล ได้มีแล้วในกาลนั้น.
บทว่า อิจฺเจตํ กุสลํ ตัดบทเป็น อิติ เอตํ กุสลํ แปลว่า อย่างนี้เป็น
กุศล. พระนันทกเถระกล่าวหมายเอา ความไม่มีแห่งอกุศลนั่นแหละ ว่าเป็นกุศล
คือเป็นแดนเกษม.
บทว่า นิจฺฉาโต แปลว่า หมดตัณหา. บทว่า นิพฺพุโต ความว่า
ชื่อว่าดับแล้ว เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำควานเร่าร้อนในภายใน. บทว่า สีติภูโต
แปลว่า เป็นผู้เยือกเย็นแล้ว. บทว่า สุขปฏิสํเวที ได้แก่ เป็นผู้เสวยสุข
ทางกายและทางใจ. บทว่า พฺรหฺมภูเตน ได้แก่เป็นผู้ประเสริฐสุด. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสาฬหสูตรที่ 6

7. กถาวัตถุสูตร



ว่าด้วยถ้อยคำที่ควรพูด 3 อย่าง



[507] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ 3 นี้ กถาวัตถุ 3 คืออะไร
คือบุคคลพึงพูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นอดีตว่า กาลที่ล่วงแล้วได้เป็นอย่างนี้
อย่าง 1 พูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นอนาคตว่า กาลภายหน้าจักเป็นอย่างนี้
อย่าง 1 พูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นปัจจุบันบัดนี้ว่า กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
บัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ อย่าง 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว ไม่แก้ตรงซึ่งเอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องแก้ตรง) ไม่แก้
จำแนกซึ่งวิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องแก้จำแนก) ไม่ย้อนถาม
แล้วจึงแก้ซึ่งปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงแก้)
ไม่ยกเลิกซึ่งฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ต้องยกเลิก) เช่นนี้ บุคคลนี้เป็น
บุคคลไม่ควรสนทนา
ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหาแล้ว แก้ตรงซึ่ง เอกังสพ-
ยากรณียปัญหา
แก้จำแนกซึ่งวิภัชชพยากรณียปัญหา ย้อนถามแล้วจึงแก้
ซึ่งปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ยกเลิกซึ่งฐปนียปัญหา เช่นนี้ บุคคลนี้เป็น
บุคคลควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว ไม่มั่นอยู่ในฐานะ (ข้อที่เป็นได้) และอฐานะ (ข้อที่เป็นไม่ได้)
ไม่มั่น อยู่ในข้อที่กำหนดไว้ ไม่มั่น อยู่ในวาทะของผู้อื่น ไม่มั่นอยู่ในข้อปฏิบัติ