เมนู

อรรถกถาสาฬหสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสาฬหสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มิคารนตฺตา แปลว่า เป็นหลานของมิคารเศรษฐี. บทว่า
เขณิยนตฺตา1 แปลว่า เป็นหลานของเขณิยเศรษฐี. บทว่า อุปสงฺกมึสุ
ความว่า หลานทั้งสอง รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีทาสและกรรมกรห้อมล้อม
เข้าไปหาแล้ว. ได้ยินว่า เวลาเช้า ก่อนอาหาร ที่เรือนของหลานเศรษฐี
ทั้งสองนั้น ตั้งปัญหาข้อหนึ่ง แต่ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้. เขาทั้งสอง
คิดว่า เราจักฟังปัญหานั้น จึงไปยังสำนักของพระเถระไหว้แล้ว นั่งดุษณี-
ภาพอยู่.
พระเถระรู้ใจของเขาเหล่านั้นว่า เขาจักมาพึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้าน
นั้น2 ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มพูดกันถึงปัญหานั้นแหละ3 จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
เอถ ตุมฺเห สาฬฺหา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ โลโภ
ความว่า พระนันทกเถระ ถามว่า ชื่อว่า ความโลภ มีความอยากได้เป็น
สภาพ มีอยู่หรือ. บทว่า อภิชฺฌาติ โข อหํ สาฬฺหา เอตมตฺถํ วทามิ
ความว่า พระนันทกเถระ เมื่อจะแสดงความแห่งปัญหาที่ตั้งขึ้น จึงกล่าวว่า
เรากล่าวความข้อนี้ กล่าวคือความโลภ ว่าเป็นอภิชฌา ว่าเป็นตัณหา
ดังนี้. ควรนำนัยนี้ ไปใช้ในทุก ๆ วาระอย่างนี้.
บทว่า โส เอวํ ปชานาติ ความว่า พระอริยสาวกนั้น เจริญ-
พรหมวิหาร 4 ดำรงอยู่แล้ว ออกจากสมาบัติแล้ว เมื่อเริ่มวิปัสสนา ย่อมรู้ชัด
1. บาลีเป็น เปขุณิยนตฺตา ม. เสขุณิยตฺตา
2. ปาฐะว่า คามนฺตรสมุฏฺฐิตํ ฉบับพม่าเป็น คาเม ตํ สมุฏฺฐิตํ แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า ตเถว ฉบับพม่าเป็น ตเม บญฺหํ แปลตามฉบับพม่า.