เมนู

4. จักกวัตติสูตร



ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์



[453] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ยังจักรอันไม่มีพระราชาให้เป็นไป ครั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรม เป็นพระราชา
ของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ... ทรงอาศัยธรรมนั่นแล ทรง
สักการะ ... เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มี
ธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน1
... ในกษัตริย์ ... ในอนุยนต์2... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ใน
ชาวนิคมชนบท ... ในสมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ
พระเจ้าจักรพรรดิ ... นั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ... เคารพ ...
นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการ
รักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน ... ในกษัตริย์ ... ใน
อนุยนต์ ... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ในชาวนิคมชนบท ... ใน
สมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลายแล้ว ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม
นั้นเทียว จักรนั้นจึงเป็นจักรอันข้าศึกผู้เป็นมนุษย์ไร ๆ ให้เป็นไปตอบไม่ได้
(คือต้านทานคัดค้านไม่ได้)
ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็อย่างนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น ทรงสักการะ ...
1. คนในครัวเรือน คือ ในราชสำนัก 2. ราชบริพาร

เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น
อธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ด้วยโอวาทว่า
กายกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ กายกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ ... ในวจีกรรม
ด้วยโอวาทว่า วจีกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ วจีกรรมอย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ
... ในมโนกรรม ด้วยโอวาทว่า มโนกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ มโนกรรม
อย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะผู้ทรง
ธรรมเป็นพระธรรมราชานั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ...
เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น
อธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ... ในวจีกรรม
... ในมโนกรรมแล้ว ทรงยังพระธรรมจักรอย่างยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรม
นั่นเทียว พระธรรมจักรนั้นจึงเป็นจักรอันสมณะหรือพราหมณ์หรือเทวดา
หรือมารหรือพรหมหรือใคร ๆ ในโลก ให้เป็นไปตอบไม่ได้.
จบจักกวัตติสูตรที่ 4

อรรถกถาจักกวัตติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-

ความหมายของคำว่า ราชา



ที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรักด้วยสังคห-
วัตถุ 4. ที่ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะหมายความว่า ทำจักรให้หมุนไป.
ที่ชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะหมายความว่า มีธรรม. ที่ชื่อว่า ธรรมราชา