เมนู

และแสดงตนเป็นอุบาสกว่า ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก ๆ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนาโดยบรรยาย (เหตุหรือกระแสความ)
หลายอย่าง ให้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นทางที่จะปฏิบัติแจ้งชัดแก่ปัญญา อุปมา
ดุจบุคคลหงายของที่คว่ำ หรือเช่นเปิดของที่มีสิ่งกำบังไว้ หรือเหมือนบอกทาง
ให้แก่คนหลงทาง หรือเปรียบอย่างตามตะเกียงไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีนัยน์ตา
จักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งพำนัก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้า
ไว้ว่าเป็นอุบาสก ถึงสรณะ (สิ่งที่ควรถึงว่าเป็นที่พึ่งพำนัก) จนตลอดชีวิต
จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้.
จบกาลามสูตรที่ 5

อรรถกถากาลามสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกาลามสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาลามานํ นิคโม ได้แก่ นิคมของพวกกษัตริย์ ชื่อว่า
กาลามะ. บทว่า เกสปุตฺติยา ได้แก่ผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เกสปุตตะ. บทว่า
อุปสงฺกมึสุ ความว่า ให้ถือเอาเภสัช มีเนยใส เนยข้น เป็นต้น และน้ำปานะ
8 อย่าง เข้าไปเฝ้า.
บทว่า สกํเยว วาทํ ทีเปนฺติ ความว่า กล่าวลัทธิของตนนั่นแหละ.
บทว่า โชเตนฺติ ได้แก่ประกาศ. บทว่า ขุํเสนฺติ ได้แก่ พูดกระทบ
กระเทียบ. บทว่า วมฺเภนฺติ ได้แก่พูดดูหมิ่น. บทว่า ปริภวนฺติ ได้แก่
กระทำให้ลามก. บทว่า โอปปกฺขี กโรนฺติ ได้แก่ทำการลบล้าง คือยก

ทิ้งไป. บทว่า อปเรปิ ภนฺเต ความว่า เล่ากันมาว่า บ้านนั้นตั้งอยู่ที่
ปากดง เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ข้ามดงมาก็ดี จะถอยกลับก็ดี
ต้องพักอยู่ในบ้านนั้น. แม้บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่มาถึงก่อน
จะแสดงลัทธิของตนแล้วหลีกไป พวกที่มาภายหลัง ก็แสดงลัทธิของตนว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะรู้อะไร เขาเหล่านั้นเป็นอันเตวาสิกของพวกเรา
เล่าเรียนศิลปะบางอยู่ในสำนักของเรา ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. ชาวกาลามะ
ทั้งหลายไม่สามารถ เพื่อจะยืนหยัดอยู่แม้ในลัทธิเดียวได้.
ชาวกาลามะเหล่านั้น แสดงความนี้แล้ว จึงกราบพูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าอย่างนี้ แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า เตสํ โน ภนฺเต ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า โหเตว กงฺขา ความว่า (ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย) มีความ
เคลือบแคลงจริง ๆ. บทว่า วิจิกิจฺฉา เป็นไวพจน์ของ กงฺขา นั่นแหละ.
บทว่า อลํ แปลว่า ควรแล้ว.
บทว่า มา อนุสฺสเวน ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำตามที่ได้
ฟังมา. บทว่า มา ปรมฺปราย ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำที่นำสืบๆ
กันมา. บทว่า มา อิติกิริยาย ได้แก่อย่าเชื่อถือว่า ได้ยินว่าข้อนี้เป็น
อย่างนี้. บทว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน ได้แก่อย่าเชื่อถือว่า ข้อความนี้
สมกับตำราของเราบ้าง. บทว่า มา ตกฺกเหตุ ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดย
การถือเอาตามที่ตรึกไว้. บทว่า มา นยเหตุ ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือ
เอาตามนัย. บทว่า มา อาการปริวิตกฺเกน ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยการตรึก
ตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เหตุนี้ดี. บทว่า ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา ได้แก่
อย่าเชื่อถือว่า ข้อนี้สมกับความเห็น ที่พวกเราพินิจพิจารณา ทนต่อการ
พิสูจน์ จึงถือเอา. บทว่า มา ภพฺพรูปตาย ได้แก่อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่า

ภิกษุนี้เหมาะสม ควรเธอถือถ้อยคำของภิกษุนี้ได้. บทว่า มา สมโณ โน
ครุ
ได้แก่อย่าเชื่อถือว่า พระสมณะรูปนี้ เป็นครูของเรา ควรเธอถือถ้อยคำ
ของพระสมณะรูปนี้ได้.
บทว่า สมตฺตา ได้แก่บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺนา ได้แก่ที่เรา
ถือเอาแล้ว คือลูบคลำแล้ว. บทว่า ยํ ตสฺส โหติ ความว่า เหตุใดมีแก่
บุคคลนั้น. กุศลมูลทั้งหลาย มีอโลภะเป็นต้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรม
ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบุพภาคแห่งเมตตา
ด้วยบทมีอาทิว่า วิคตาภิชฺโฌ ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสกัมมัฏฐาน มีเมตตาเป็นต้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เมตฺตาสหคเตน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทใด
พึงกล่าวโดยนัยแห่ง กัมมัฏฐานกถา และภาวนาปธาน หรือโดยอรรถกถา
แห่งบาลี คำทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล้ว
บทว่า เอวํ อเวรจิตฺโต ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาเวรมิได้เพราะ
ไม่มี ทั้งเวรที่เป็นอกุศล ทั้งบุคคลผู้เป็นคู่เวร. บทว่า อพฺยาปชฺฌจิตฺโต
ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาทุกข์มิได้ เพราะไม่มีจิตโกรธเคือง. บทว่า อสงฺ-
กิลิฏฺ ฐจิตฺโต
ความว่า ชื่อว่า ผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง เพราะไม่มีกิเลส. บทว่า
วิสุทฺธจิตฺโต มีอธิบายว่า ชื่อว่ามีจิตบริสุทธิ์ เพราะไม่มีมลทิน คือ กิเลส.
บทว่า ตสฺส ได้แก่พระอริยสาวกนั้น คือ เห็นปานนั้น. บทว่า อสฺสาสา
ได้แก่เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่ง.
บทว่า สเจ โข ปน อตฺถิ ปโร โลโก ความว่า ถ้าชื่อว่า
โลกอื่น นอกจากโลกนี้ มีอยู่ไซร้. บทว่า ฐานเมตํ เยนาหํ กายสฺส
เภทา ฯ เป ฯ อุปปชฺชิสฺสามิ
ความว่า ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

หลังจากตายแล้ว เพราะกายแตกสลายไป เป็นเหตุที่มีได้ ฉะนั้น ในทุก ๆ บท
พึงทราบนัยดังที่พรรณนามานี้. บทว่า อนีฆํ แปลว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า
สุขึ แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความสุข. บทว่า อุภเยเนว วิสุทฺธํ อตฺตานํ
สมนุปสฺสามิ
ความว่า เราจะพิจารณาเห็นตัวเอง เป็นผู้บริสุทธิ์ ด้วยเหตุ
ทั้งสองนี้ คือ (ถ้าบาปเป็นอันบุคคลต้องทำ) เราก็ไม่ได้ทำบาป แม้เมื่อ
บุคคลทำบาปมีอยู่ เราก็ไม่ได้ทำ 1. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากาลามสูตรที่ 5

6. สาฬหสูตร



ว่าด้วยมิให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง



[506] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมาตา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะ
หลานชายของมิคารเศรษฐี กับนายโรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้
ชวนกันเข้าไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ
มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา...
อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา ดูก่อนสาพหะและ
โรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้
มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะ