เมนู

ในเวลาที่เราบำเพ็ญพุทธจริยา ผู้อื่นที่จะสามารถนำพาธุระแทนเรา แม้เมื่อเกิด
ในอเหตุกปฏิสนธิ ไม่เคยมีแล้ว. ก็เพื่อจะยังความข้อนี้ให้ชัดเจน ควรนำ
กัณหชาดก (มาแสดงประกอบ) ด้วยดังนี้
เมื่อใด มีงานหนัก เมื่อใด การเดิน
ทางลำบาก เมื่อนั้น เจ้าของก็จะเทียมโค
ชื่อกัณหะ โคกัณหะนั้น จะต้องนำธุระ
นั้นไปโดยแท้.


เรื่องโคกาฬกะ



เล่ากันมาว่า ในอดีตสมัย พ่อค้าเกวียนผู้หนึ่ง พำนักอยู่ในเรือนของ
หญิงแก่คนหนึ่ง. ครั้งนั้นแม่โคนมตัวหนึ่งของเขาได้ตกลูกในเวลากลางคืน.
มันตกลูกเป็นโคผู้ตัวหนึ่ง. จำเดิมแต่หญิงแก่เห็นลูกโคแล้ว เกิดความสิเนหา
อย่างลูก. ในวันรุ่งขึ้น บุตรของพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ท่านจงรับค่าเช่าบ้าน
ของท่าน. หญิงแก่ พูดว่า เราไม่ต้องการสิ่งแลกเปลี่ยนอย่างอื่น ท่านจงให้
ลูกวัวตัวนี้ แก่เราเถิด. บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ท่านจงรับมันไว้เถิด แม่.
หญิงแก่รับลูกโคนั้นไว้แล้ว ให้ดื่มนม ให้ข้าวยาคู ภัตรและหญ้าเป็นต้น
เลี้ยงดูแล้ว. มันเจริญเติบโตขึ้น มีรูปร่างอ้วนพี สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเพียร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มีชื่อว่า กาฬกะ. ครั้นต่อมาเมื่อพ่อค้าเกวียนคนหนึ่ง
เดินทางมาพร้อมด้วยเกวียน 500 เล่ม ล้อเกวียนติดหล่มอยู่ในที่น้ำเซาะ.
เขาพยายามเทียมวัว 10 ตัว บ้าง 20 ตัวบ้าง ก็ไม่สามารถจะฉุดเกวียนขึ้น
(จากหล่ม) ได้ จึงเข้าไปหาโคกาฬกะ กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ เราจักให้
รางวัลแก่เจ้า ขอให้เจ้าช่วยยกเกวียนของเราขึ้นด้วยเถิด ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ก็พาโคกาฬกะนั้นไป คิดว่า โคอื่นจะสามารถลากแอกไป พร้อมกับเกวียนนี้