เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงเปล่งพระสิงหนาท 3 วาระแล้ว เสด็จ
กลับไปทางอากาศ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่ช้า ปริพาชกเหล่านั้นก็รุมกัน
ถากถางสรภปริพาชกว่า แน่ะอาวุโสสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่ทะยานใจ
ว่าจักร้องให้เหมือนเสียงราชสีห์ ก็ร้องเป็นเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ ร้องเป็น
เสียงสุนัขป่าอยู่นั่นเองฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแหละ อาวุโสสรภะ ลับหลังพระ-
สมณโคดมคุยว่า ข้าจักบันลือสิงหนาท ก็...เสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ...
เสียงสุนัขป่านั่นเอง ไก่ตัวเมียกระหยิ่มใจว่า จักขันให้เหมือนเสียงไก่ตัวผู้
ก็ ...เสียงไก่ตัวเมียอยู่นั่นฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแหละ อาวุโสสรภะ ลับหลัง
พระสมณโคดมคุยว่า ข้าจักขัน ก็กะต๊ากนั่นเอง โค ในโรงว่าง ย่อมสำคัญว่า
เสียง ลึก ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแหละ. อาวุโสสรภะ ลับหลังพระสมณโคดม
ก็สำคัญว่าเสียง (ของตัว) ลึก. ครั้งนั้นแล ปริพาชกเหล่านั้นต่างช่วยกันเอา
ปฏัก คือวาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบข้าง.
จบสรภสูตรที่ 4

อรรถกถาสรภสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสรภสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราชคเห ได้แก่ ในพระนครอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า คิชฺฌกูเฏ
ปพฺพเต
ความว่า ภูเขานั้นมียอดเหมือนนกแร้ง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
คิชฌกูฏ เพราะนกแร้งอยู่บนยอดของภูเขานั้น. ณ ภูเขาคิชฌกูฏนั้น. ด้วย

บทว่า คิชฺฌกูเฏ นี้ ท่านแสดงถึงที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรง
ประทับอยู่ โดยเอากรุงราชคฤหเป็นโคจรคาม. อธิบายว่า เขาสร้างวิหาร
ถวายพระตถาคตเจ้าบนภูเขาคิชฌกูฏ. ฉะนั้น คำว่า คิชฺฌกูฏวิหาโร จึงเป็น
ชื่อของวิหารนั้น. ในสมัยนั้น ปริพาชกชื่อว่า สรภะ นี้ อยู่ ณ ที่นั้น ฉะนี้แล.
บทว่า สรโภ นาม ปริพฺพาชโก อจิรปกฺกนฺโต โหติ ความว่า
ปริพาชกผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า สรภะ บวชแล้วในศาสนานี้ ไม่นานก็เลี่ยงออกไป.
อธิบายว่า ไม่นานก็สึก.
แท้จริง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เหล่าเดียรถีย์
พากันเสื่อมลาภ สักการะ. ลาภสักการะมากมายเกิดขึ้นแก่พระรัตนตรัย ดัง
เช่นที่พระธรรมสังคาหกาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าเป็นผู้อันชนทั้งหลาย สักการะ เคารพนบนอบ บูชา
ยำเกรงแล้ว เป็นผู้ได้รับบริขาร คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจยเภสัช ส่วนอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย (และ) ปริพาชก
ทั้งหลาย ไม่มีผู้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และยำเกรง ไม่ได้
รับบริขาร คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช ดังนี้

อัญญเดียรถีย์ ประมาณ 500 เหล่านั้น ผู้เสื่อมลาภและสักการะ
อย่างนี้ นัดประชุมในอารามของปริพาชกแห่งหนึ่ง หารือกันว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย จำเดิมแต่เวลาที่พระสมณโคดมอุบัติขึ้นแล้ว พวกเรากลายเป็นผู้
เสื่อมจากลาภสักการะ ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญหาโทษของพระสมณโคดม
และสาวกของพระสมณโคดมสักข้อหนึ่ง กระจายโทษออกไป ติเตียนคำสอน

ของพระสมณโคดมนั้น แล้วจักยังลาภสักการะให้เกิดขึ้น แก่พวกเราทั้งหลาย
อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อตรวจดูโทษ ได้พูดกันว่า พวกเราไม่สามารถจะ
มองเห็นโทษของพระสมณโคดม ในที่ 4 สถาน คือในทวาร 3 และอาชีวะ
1 ได้ ท่านทั้งหลายจงละฐานะทั้ง 4 ไว้ก่อน แล้วตรวจดูในฐานะอื่น.
ลำดับนั้น ในระหว่างพวกเดียรถีย์เหล่านั้น เดียรถีย์คนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าไม่เห็นอุบายอย่างอื่น ก็แต่ว่า สมณะเหล่านี้ ลงประชุมกันทุกกึ่งเดือน
ปิดประตูหน้าต่าง ไม่ให้แม้แต่สามเณรเข้าไป ถึงอุปัฏฐากผู้ใกล้ชิด ก็ไม่
ได้เห็น สมณะเหล่านี้ ร่ายมายามนต์ที่ทำให้คนหลงใหล แล้วทำให้คนกลับใจ
เข้าเป็นพวก. ถ้าเราทั้งหลาย จักสามารถนำเอามายามนต์ที่ทำให้คนหลงใหล
นั้นมาได้ด้วยอุบายนี้ ลาภสักการะอันโอฬาร จักมีแก่พวกเรา. เดียรถีย์แม้
อีกคนหนึ่ง ได้ลุกขึ้นกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. เดียรถีย์ทั้งหมด ได้มีวาทะ
เป็นอย่างเดียวกัน. ต่อแต่นั้น เดียรถีย์ทั้งหมดพูดว่า ผู้ใดจักสามารถนำ
มายามนต์นั้นมาได้ พวกเราจักแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า ในลัทธิของพวกเรา
ทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์ถามกันตั้งแต่คนสุดท้ายขึ้นไปว่า ท่านสามารถ
ไหม ? ท่านสามารถไหม ? เมื่อส่วนมากตอบว่า ผมไม่สามารถ ผมไม่
สามารถ จึงพากันถามสรภปริพาชกว่า อาจารย์ครับ ท่านอาจารย์จักสามารถ
ไหม ? เขาตอบว่า การนำมายามนต์นี้มาไม่ใช่เรื่องหนักหนา ถ้าพวกท่าน
จักยืนยันตามถ้อยคำของตน แต่งตั้งเราเป็นหัวหน้า พวกเดียรถีย์กล่าวว่า
อย่าหนักใจเลยท่านอาจารย์ ท่านจงนำมายามนต์มาเถิด ท่านทำสำเร็จแล้ว
พวกผมแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแน่. เขาพูดว่า ผู้จะนำมายามนต์นั้นมาได้ ไม่

ใช่จะสามารถนำมาได้โดยการขโมย หรือปล้นเอา แต่ต้องทำเป็นพวกเดียวกับ
สาวกของพระสมณโคดม. คือต้องไหว้สาวกของพระสมณโคดม ทำวัตรปฏิบัติ
ฉันอาหารในบาตรของสาวกแห่งพระสมณโคดมเหล่านั้น จึงจะสามารถนำมาได้
กิริยาของคนเช่นนี้นั้น พวกท่านพอใจหรือ เดียรถีย์ทั้งหลายตอบว่า ท่าน
จงทำอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมามอบให้พวกเรา. สรภปริพาชกได้ให้สัญญา
แก่ปริพาชกทั้งหลายว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายเห็นผมแล้ว ต้องทำเป็น
เหมือนไม่เห็น แล้วในวันที่สองจึงลุกขึ้นแต่เช้า เข้าไปยังมหาวิหาร ชื่อว่า
คิชฌกูฏ กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ที่ตนเห็นแล้ว ๆ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์
ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า เดียรถีย์เหล่าอื่น กระด้าง หยาบคาย แต่ชะรอย
เดียรถีย์คนนี้ จักเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใสแล้ว. เขากล่าวว่า ท่านเจ้าข้า
ท่านทั้งหลายบวชแล้วในสำนัก ที่เหมาะสมทีเดียว เพราะรู้ (ดี) แล้ว ส่วนผม
ไม่ได้ใคร่ครวญ เมื่อแล่นไปผิดท่า จึงเที่ยวไปผิดในทิศทาง ที่ไม่ได้นำสัตว์
ออกจากทุกข์. ก็ครั้นเขากล่าวอย่างนี้แล้ว ไหว้ภิกษุทุกรูปที่ตนเห็นแล้ว ๆ
เตรียมน้ำสำหรับอาบเป็นต้นไว้ ทำไม้ชำระฟันให้เป็นกัปปิยะ ล้างเท้า ทา-
น้ำมันให้ได้ภัตรที่เหลือแล้วบริโภค.
พระมหาเถระรูปหนึ่ง เห็นเขาอยู่โดยทำนองนี้ จึงพูดว่า ท่านมี
ศรัทธาเลื่อมใสแล้ว จะไม่บวชหรือ เขาตอบว่า ท่านผู้เจริญใครจักให้
ผมบวช เพราะพวกผมประพฤติตนเป็นข้าศึกต่อพระคุณท่านทั้งหลายมาตลอด
กาลนาน. พระเถระกล่าวว่า ถ้าท่านประสงค์จะบวช เราก็จะบวชให้ แล้วให้
เขาบรรพชา. นับแต่วาระที่บวชแล้ว เขาได้ทำวัตรปฏิบัติเป็นนิตย์ พระเถระ
พอใจในวัตรปฏิบัติของเขา ไม่นานก็ให้เขาอุปสมบท. ในวันอุปสมบทท่าน
เข้าไปในโรงอุโบสถ พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เห็นภิกษุทั้งหลายยกย่องพระ
ปาฏิโมกข์ด้วยอุตสาหะมาก จึงคิดว่า ภิกษุเหล่านี้ ร่ายมายามนต์ที่ทำให้คน

หลงใหล แล้วทำให้กลับใจเข้าเป็นพวก. อีก 2-3 วัน เท่านั้น เราก็จักสวดได้
เธอไปสู่บริเวณไหว้พระอุปัชฌาย์แล้วเรียนถามว่า ท่านขอรับ ธรรมนี้ชื่อ
อะไร ? พระอุปัชฌาย์ตอบว่า ชื่อว่า ปาฏิโมกข์. ท่านขอรับ ปาฎิโมกข์นี้
เป็นธรรมอันสูงสุดหรือ ? ถูกแล้วคุณ สิกขานี้จะทรงไว้ได้ ซึ่งสาสนธรรม
ทั้งหมด.
ท่านขอรับ ถ้าสิกขาธรรมนี้ เป็นธรรมสูงสุดแล้วไซร้ ผมจะเรียน
เอาสิกขาธรรมนี่แหละเสียก่อน. พระเถระรับคำว่า เรียนเถิดคุณ เธอกำลัง
เรียนอยู่ พบปริพาชกทั้งหลาย ถูกเขาถามว่า เป็นอย่างไรอาจารย์ จึงบอกว่า
พวกท่านอย่าคิดอะไรเลย อีก 2-3 วัน ผมจักนำไปให้. ไม่ช้าก็เรียนจนจบ
แล้วพูดกับอุปัชฌาย์ว่า มีเพียงเท่านี้หรือขอรับ หรือแม้อย่างอื่นก็ยังมี.
พระเถระตอบว่า มีเท่านี้เท่านั้นแหละคุณ. ในวันรุ่งขึ้น เธอนุ่งห่มตามปกติ
ถือบาตรตามทำนองที่เคยถือ แล้วออกจากอาราม ชื่อว่า คิชฌกูฏ ไปยังอาราม
ของปริพาชก ปริพาชกทั้งหลายเห็นเธอแล้ว พากันห้อมล้อมเธอ ถามว่า
เป็นอย่างไรท่านอาจารย์ ชะรอยจะไม่สามารถนำเอามายามนต์ที่ทำให้คน
หลงใหลมาได้กระมัง ? เธอตอบว่า อย่าหนักใจเลยอาวุโสทั้งหลาย มายามนต์
ที่ทำให้คนหลงใหลเรานำมาได้แล้ว ตั้งแต่นี้ไป เราทั้งหลายจักมีลาภสักการะ
มาก ท่านทั้งหลายจงสมัครสมานสามัคคีกัน อย่าทะเลาะวิวาทกัน ปริพาชก
ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ถ้าท่านเรียนได้มาแล้ว ก็จงบอกมายามนต์
ที่ทำให้คนหลงใหลนั้นแก่พวกผมบ้าง. เธอสวดปาฏิโมกข์เริ่มแต่ต้น (จนจบ).
ลำดับนั้น ปริพาชกทั้งหมดเหล่านั้น พูดกันว่า มาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกเราจะเข้าไปในพระนคร กล่าวโทษของพระสมณโคดม. เมื่อประตูเมือง
ยังไม่ทันเปิด พากันไปใกล้ประตู เข้าไปก่อนใคร ๆ ทั้งหมดทางประตูที่เปิด
แล้ว. คำว่า สรโภ นาม ปริพฺพาชโก อจิรปกฺกนฺโต โหติ (ปริพาชก

ชื่อว่า สรภะ หลีกไปแล้วไม่นาน) ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึงปริพาชกนั้น
ผู้หลบหลีกไปด้วยทั้งเพศของตน อย่างนี้.
ก็ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาย่ำรุ่ง
ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า วันนี้ สรภปริพาชกจักเที่ยวไปในพระนคร แล้วทำ
ประกาศนียกรรม (ประกาศเป่าร้อง) เมื่อเธอกล่าวคำตำหนิพระรัตนตรัย ชื่อว่า
โปรยยาพิษลง แล้วไปสู่อารามแห่งปริพาชก ถึงเราตถาคตก็จักไป ณ ที่นั้น
เหมือนกัน บริษัทแม้ทั้ง 4 จักประชุมกันในอารามของปริพาชกนั้นแล ใน
สมาคมนั้นจักมีคน 84,000 ได้ดื่มน้ำอมฤต. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า สรภปริพาชกจงมีโอกาส จงประกาศโทษตามชอบใจ แล้ว
ตรัสเรียกพระอานันทเถระมา รับสั่งว่า อานนท์ เธอจงไปบอกภิกษุสงฆ์ใน
มหาวิหาร 18 แห่ง ให้ไปบิณฑบาตพร้อมกับเราตถาคต. พระเถระได้ปฏิบัติ
ดังนั้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลายต่างถือบาตรจีวร ห้อมล้อมพระตถาคตแล้วเทียว.
พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไปบิณฑบาต ที่บ้านใกล้ประตูพระนคร ฝ่ายสรภ
ปริพาชกก็เข้าไปสู่พระนคร พร้อมด้วยปริพาชกทั้งหลาย ครั้นถึงท่ามกลาง
หมู่บริษัท ประตูพระราชวัง ประตูบ้านอำมาตย์ และที่ถนน 4 แยกเป็นต้น
ได้ประกาศว่า ธรรมของพวกสมณศากยบุตรทั้งหลาย เรารู้หมดแล้ว ดังนี้
เป็นต้น ในที่นั้น ๆ. คำมีอาทิว่า โส ราชคเห ปริสติ เอวํ วาจํ ภาสติ
(สรภปริพาชกนั้น กล่าวคำอย่างนี้ ในบริษัท ในกรุงราชคฤห์) นี้ ท่านกล่าว
หมายถึง การกล่าวโทษนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อญฺญาโต
สรภปปริพาชกแสดงว่า (ธรรมของพวกสมณศากยบุตร) เรารู้แล้ว คือเข้าใจ
แล้ว ได้แก่เรียนให้แจ่มแจ้งแล้ว. บทว่า อญฺญาย แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า
อปกฺกนโต ได้แก่หลีกไป ทั้งๆ ที่ยังทรงเพศนั่นแหละ. สรภปริพาชกนั้น

เมื่อจะแสดงความนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ถ้าหากศาสนาของพระสมณโคคม
จักมีสาระอะไรอยู่บ้างแล้วไซร้ เราก็จะไม่หลีกออกไป แต่ศาสนาของ
พระสมณโคดมนั้นไร้สาระ ไม่มีแก่นสาร สมณะทั้งหลายร่ายมายามนต์ที่
ทำให้คนหลงใหล จึงลวงชาวโลกอยู่ได้.1
บทว่า อถโข สมฺพหุลา ภิกฺขู ความว่า ครั้งนั้นเมื่อปริพาชกนั้น
กล่าวอยู่อย่างนี้ ภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี 500 รูป ไม่รู้ว่าพระศาสดาเสด็จไป
บิณฑบาต ณ ที่ชื่อโน้น จึงเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในเวลาภิกษาจาร
คำว่า อถโข สพฺพหุลา ภิกฺขู นี้ ท่านกล่าวหมายถึงภิกษุเหล่านั้น. บทว่า
อสฺโสุํ แปลว่า ได้ยินแล้ว. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า
เข้าไปด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักกราบทูลเรื่องนี้ แด่พระทศพล บทว่า สิปฺปิ-
นิยา ตีรํ
ได้แก่ฝั่งแม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้ว่า สิปปินิกา.
บทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน มีอรรถาธิบายว่า ทรงไว้
ซึ่งขันติในภายใน ทรงรับรู้ไว้ด้วยจิตอย่างเดียว โดยไม่ทรงไหวองค์คือกาย
และองค์คือวาจา. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงรับทราบ (โดยดุษณีภาพ)
อย่างนี้แล้ว ทรงพระดำริต่อไปว่า วันนี้ เราตถาคตเมื่อจะไปหักล้างวาทะของ
สรภปริพาชกควรจะไปเพียงผู้เดียว หรือมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมไปด้วย. ลำดับนั้น
พระองค์ทรงตกลงพระทัยดังนี้ว่า ถ้าเราจักมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมไป มหาชนจัก
คิดอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเมื่อจะเข้าไปสู่ที่โต้วาทะ. ก็ต้องยกพวกไป ใช้พลัง
ของบริษัท หักล้างวาทะที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามโงหัวขึ้นได้เลย
ก็เมื่อวาทะเกิดขึ้นแก่เราแล้ว กิจคือการโต้วาทะ โดยพาผู้อื่นไปด้วย จะไม่มี
แก่เราเลย เราผู้เดียวนี่แหละจะไปหักล้างวาทะนั้น. และการที่เราเป็นพระ-
พุทธเจ้าหักล้างวาทะที่เกิดขึ้นแก่ตนในปัจจุบันนี้ ไม่เป็นของอัศจรรย์ เพราะ
1. ปาฐะว่า ลาภํ ขาทนฺติ ฉบับพม่าเป็น โลกํ ขาทนฺติ.

ในเวลาที่เราบำเพ็ญพุทธจริยา ผู้อื่นที่จะสามารถนำพาธุระแทนเรา แม้เมื่อเกิด
ในอเหตุกปฏิสนธิ ไม่เคยมีแล้ว. ก็เพื่อจะยังความข้อนี้ให้ชัดเจน ควรนำ
กัณหชาดก (มาแสดงประกอบ) ด้วยดังนี้
เมื่อใด มีงานหนัก เมื่อใด การเดิน
ทางลำบาก เมื่อนั้น เจ้าของก็จะเทียมโค
ชื่อกัณหะ โคกัณหะนั้น จะต้องนำธุระ
นั้นไปโดยแท้.


เรื่องโคกาฬกะ



เล่ากันมาว่า ในอดีตสมัย พ่อค้าเกวียนผู้หนึ่ง พำนักอยู่ในเรือนของ
หญิงแก่คนหนึ่ง. ครั้งนั้นแม่โคนมตัวหนึ่งของเขาได้ตกลูกในเวลากลางคืน.
มันตกลูกเป็นโคผู้ตัวหนึ่ง. จำเดิมแต่หญิงแก่เห็นลูกโคแล้ว เกิดความสิเนหา
อย่างลูก. ในวันรุ่งขึ้น บุตรของพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ท่านจงรับค่าเช่าบ้าน
ของท่าน. หญิงแก่ พูดว่า เราไม่ต้องการสิ่งแลกเปลี่ยนอย่างอื่น ท่านจงให้
ลูกวัวตัวนี้ แก่เราเถิด. บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ท่านจงรับมันไว้เถิด แม่.
หญิงแก่รับลูกโคนั้นไว้แล้ว ให้ดื่มนม ให้ข้าวยาคู ภัตรและหญ้าเป็นต้น
เลี้ยงดูแล้ว. มันเจริญเติบโตขึ้น มีรูปร่างอ้วนพี สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเพียร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มีชื่อว่า กาฬกะ. ครั้นต่อมาเมื่อพ่อค้าเกวียนคนหนึ่ง
เดินทางมาพร้อมด้วยเกวียน 500 เล่ม ล้อเกวียนติดหล่มอยู่ในที่น้ำเซาะ.
เขาพยายามเทียมวัว 10 ตัว บ้าง 20 ตัวบ้าง ก็ไม่สามารถจะฉุดเกวียนขึ้น
(จากหล่ม) ได้ จึงเข้าไปหาโคกาฬกะ กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ เราจักให้
รางวัลแก่เจ้า ขอให้เจ้าช่วยยกเกวียนของเราขึ้นด้วยเถิด ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ก็พาโคกาฬกะนั้นไป คิดว่า โคอื่นจะสามารถลากแอกไป พร้อมกับเกวียนนี้