เมนู

ก็ได้ ดังนี้ เครื่องลาดแม้เหล่านี้จึงควรโดยวิธีเดียวกัน แต่เพราะอาศัยสิ่งที่
เป็นอกัปปิยะ เครื่องลาดทั้งหมดนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่สนควร.
บทว่า วนนฺตํเยว ปจารยามิ ความว่า เราตถาคตเข้าไปสู่ป่าทีเดียว. บทว่า
ยเทว คือ ยานิเยว (แปลว่า เหล่าใด). บทว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา คือ
นั่งให้อาสนะติดกับขาอ่อนชิดกันไปโดยชอบ. บทว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย
คือ ทั้งกายให้ตรง ให้กระดูกสันหลัง 18 ข้อ เอาปลายจรดปลายกัน. บทว่า
ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ความว่า ตั้งสติมุ่งตรงต่อพระกัมมัฏฐาน หรือ
ทำการกำหนดและการนำออก (จากทุกข์) ให้ปรากฏชัด. สมจริงดังคำที่ท่าน
กล่าวไว้ดังนี้ ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความหมายว่า กำหนด ศัพท์ว่า มุขํ
มีความหมายว่า นำออก ศัพท์ว่า สติ มีความหมายว่า ตั้งมั่น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า. บทว่า อุปสมฺปชฺช
วิหรามิ
ความว่า เราตถาคตได้ คือ ทำให้ประจักษ์อยู่.

พระพุทธเจ้าเข้าฌานเดินจงกรม



บทว่า เอวมฺภูโต ความว่า (เราตถาคต) เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย
ฌานใดฌานหนึ่งในบรรดาฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า ทิพฺโพ
เม เอโส ตสฺมึ สมเย จงฺกโม โหติ
ความว่า ก็การจงกรมของเรา
ตถาคตผู้เข้ารูปฌาน 4 เดินจงกรมอยู่ ชื่อว่า เป็นการจงกรมทิพย์ แม้เมื่อ
เราตถาคตออกจากสมาบัติเดินจงกรม การจงกรม (นั้น) ชื่อว่า เป็นการ
จงกรมทิพย์เหมือนกัน. แม้ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
ในการอยู่ 2 อย่างนอกนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า โส เอวํ ปชานามิ ราโค
เม ปหีโน
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงราคะที่ละได้แล้ว