เมนู

เหลือง เอายางไม้ทาแล้ววางไว้บนผ้ากัมพลสีแดง. บทว่า ภาลเต ได้แก่
เปล่งแสงเพราะมีแสงเกิดเอง. บทว่า ตปเต ได้แก่ ส่องสว่าง เพราะกำจัด
ความมืด. บทว่า วิโรจติ ได้แก่ แผ่ไพโรจน์โชติช่วง อธิบายว่า สง่างาม.
ในบทว่า อุจฺจาสยนมหาสยนานิ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ที่นอน
(สูง) เกินขนาด ชื่อว่า ที่นอนสูง. ที่นอนที่เป็นอกัปปิยภัณฑ์ (ของที่ไม่ควร
แก่สมณะ) ทั้งยาวและกว้าง ชื่อว่า ที่นอนใหญ่. บัดนี้ เมื่อจะแสดง
ที่นอนสูง และที่นอนใหญ่นั้น พราหมณ์วัจฉโคตรจึงกล่าวคำว่า เสยฺยถีทํ
อาสนฺทิ
เป็นต้น.

อธิบายเรื่องอาสนะเป็นต้น



ในคำว่า อาสนฺทิ เป็นต้นนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า
อาสันทิ ได้แก่ อาสนะ (ที่นั่ง ) เกินขนาด ที่ชื่อว่า บัลลังก์ ได้แก่
บัลลังก์ (เตียงหรือแท่น) ที่เขาทำโดยติดรูปสัตว์ร้ายไว้ที่เท้า. ที่ชื่อว่า
โคณกะ ได้แก่ ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ที่มีขนยาว. เล่ากันว่า ขนของผ้า
โกเชาว์ผืนใหญ่นั้น (ยาว) เกิน 4 นิ้ว. ที่ชื่อว่า จิตติกา ได้แก่ เครื่อง
ลาดขนแกะวิจิตรด้วยรัตนะ. ที่ชื่อว่า ปฏิกา ได้แก่ เครื่องลาดสีขาว
ทำจากขนแกะ. ที่ชื่อว่า ปฏลิกา ได้แก่ เครื่องลาดขนแกะมีดอกหนา ซึ่ง
เรียกว่า แผ่นมะขามป้อม บ้าง. ที่ชื่อว่า ตูลิกา ได้แก่ เครื่องลาดทำจาก-
สำลี ซึ่งยัดเต็มด้วยสำลีชนิดใดชนิดหนึ่งในสำลี 3 ชนิด. ที่ชื่อว่า วิกติกา
ได้แก่เครื่องลาดขนแกะซึ่งวิจิตรด้วยรูปราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น . ที่ชื่อว่า
อุทธโลมี ได้แก่ เครื่องลาดขนแกะที่มีชายทั้งสองข้าง. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า เครื่องลาดขนแกะที่มีดอกนูนขึ้นข้างเดียว. ที่ชื่อว่า เอกันตโลมี
ได้แก่ เครื่องลาดขนแกะที่มีชายข้างเดียว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เครื่อง-

ลาดขนแกะที่มีดอกนูนขึ้นทั้งสองข้าง. ที่ชื่อว่า กัฏฐิสสะ ได้แก่ เครื่องลาด
ทำจากไหม เย็บติดด้วยรัตนะ. ที่ชื่อว่า โกเสยยะ ได้แก่ เครื่องลาดคทำจาก
เส้นไหม เย็บติดด้วยรัตนะเหมือนกัน. ที่ชื่อว่า กุตตกะ ได้แก่ เครื่องลาด
ขนแกะขนาด ที่นางระบำ 16 นางใช้ยืนร่ายรำได้. ที่ชื่อว่า เครื่องลาดช้าง
เป็นต้น ได้แก่เครื่องลาดที่ลาดบนหลังช้างเป็นต้น และเครื่องลาดที่ทำแสดง
เป็นรูปช้างเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อชินัปปเวณิ ได้แก่ เครื่องลาดที่เอาหนังเสือ
ดาวมาเย็บทำโดยขนาดเท่าเตียง. บทที่เหลือมีความหมายดังกล่าวแล้วในตอน
ต้นนั่นเอง.
บทว่า นิกามลาภี แปลว่า (พระสมณโคดมผู้เจริญ) มีปกติได้
ตามปรารถนา คือ มีปกติได้ที่นอนสูงและใหญ่ตามที่ต้องการ ๆ. บทว่า
อกิจฺฉลาภี แปลว่า มีปกติได้โดยไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี แปลว่า
มีปกติได้ที่นอนอันไพบูลย์ คือ มีปกติได้ที่นอนใหญ่ พราหมณ์วัจฉโคตร
กล่าวหมายเอาว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เห็นจะได้ที่นอนที่โอฬารทีเดียว.
เล่ากันว่า พราหมณ์นี้ตระหนักในการนอน (ชอบนอน). เขาเห็นว่า อินทรีย์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผ่องใสเป็นต้นสำคัญอยู่ว่า พระสมณโคดมนี้ นั่งและ
นอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่เห็นปานนี้เป็นแน่แท้ ด้วยเหตุนั้น อินทรีย์
ทั้งหลายของท่านจึงผ่องใส ผิวพรรณจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง จึงได้กล่าวสรรเสริญ
คุณของเสนาสนะนี้.
ในบทว่า ลทฺธา จ ปน น กปฺปนฺติ นี้ มีอธิบายว่า
เพราะพระบาลีว่า เครื่องลาดบางอย่างใช้ได้ อธิบายว่า เครื่องลาดแกมไหมล้วน
จะปูลาดแม้บนเตียงก็ใช้ได้ เครื่องลาดทำด้วยผ้าขนสัตว์เป็นต้น จะปูลาดโดย
ใช้เป็นเครื่องปูพื้นก็ใช้ได้ จะตัดเท้าของอาสันทิ (แล้วนั่ง) ก็ได้ จะทำลาย
รูปสัตว์ร้ายของแท่น (แล้วนั่ง) ก็ได้ จะฉีกอาสนะยัดนุ่นเอามาทำเป็นหมอน

ก็ได้ ดังนี้ เครื่องลาดแม้เหล่านี้จึงควรโดยวิธีเดียวกัน แต่เพราะอาศัยสิ่งที่
เป็นอกัปปิยะ เครื่องลาดทั้งหมดนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่สนควร.
บทว่า วนนฺตํเยว ปจารยามิ ความว่า เราตถาคตเข้าไปสู่ป่าทีเดียว. บทว่า
ยเทว คือ ยานิเยว (แปลว่า เหล่าใด). บทว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา คือ
นั่งให้อาสนะติดกับขาอ่อนชิดกันไปโดยชอบ. บทว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย
คือ ทั้งกายให้ตรง ให้กระดูกสันหลัง 18 ข้อ เอาปลายจรดปลายกัน. บทว่า
ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ความว่า ตั้งสติมุ่งตรงต่อพระกัมมัฏฐาน หรือ
ทำการกำหนดและการนำออก (จากทุกข์) ให้ปรากฏชัด. สมจริงดังคำที่ท่าน
กล่าวไว้ดังนี้ ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความหมายว่า กำหนด ศัพท์ว่า มุขํ
มีความหมายว่า นำออก ศัพท์ว่า สติ มีความหมายว่า ตั้งมั่น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า. บทว่า อุปสมฺปชฺช
วิหรามิ
ความว่า เราตถาคตได้ คือ ทำให้ประจักษ์อยู่.

พระพุทธเจ้าเข้าฌานเดินจงกรม



บทว่า เอวมฺภูโต ความว่า (เราตถาคต) เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย
ฌานใดฌานหนึ่งในบรรดาฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า ทิพฺโพ
เม เอโส ตสฺมึ สมเย จงฺกโม โหติ
ความว่า ก็การจงกรมของเรา
ตถาคตผู้เข้ารูปฌาน 4 เดินจงกรมอยู่ ชื่อว่า เป็นการจงกรมทิพย์ แม้เมื่อ
เราตถาคตออกจากสมาบัติเดินจงกรม การจงกรม (นั้น) ชื่อว่า เป็นการ
จงกรมทิพย์เหมือนกัน. แม้ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
ในการอยู่ 2 อย่างนอกนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า โส เอวํ ปชานามิ ราโค
เม ปหีโน
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงราคะที่ละได้แล้ว