เมนู

ประดับประดาด้วยรัตนะ คือ อนุพยัญชนะ 80 ประการ แวดวงด้วยพระรัศมี
ที่แผ่ซ่านออกไปประมาณหนึ่งวา น่าทัศนาไม่น้อย มีกระแสเสียงแสดงธรรม
ไพเราะยิ่งนัก ได้เสียงเรียกขาน (นาม) ว่า เป็นพระอรหันต์ในโลก เพราะ
ได้บรรลุคุณตามเป็นจริง. บทว่า ทสฺสนํ โหติ ความว่า แม้เพียงลืมนัยน์ตา
ที่เป็นประกายด้วยความเลื่อมใสเป็นต้นขึ้นดูก็ยังเป็นการดี เพราะทำอัธยาศัย
อย่างนี้ว่า ก็ถ้าว่า เมื่อพระพุทธเจ้า เช่น พระโคดมผู้เจริญแสดงธรรมอยู่. ด้วย
พระสุรเสียงดุจเสียงพรหมซึ่งประกอบด้วยองค์ 8 เราทั้งหลายจักได้ฟังสักบท
หนึ่งไซร้ ก็จักเป็นการดียิ่งขึ้นไปอีกทีเดียว.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ชาวเวนาคปุระ
ทั้งหลายละทิ้งการงานทุกอย่างมีใจยินดี. ในบทว่า อญฺชลิมฺปณาเมตฺวา นี้
มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดเข้ากันได้กับทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายสัมมาทิฏฐิและ
มิจฉาทิฏฐิ ชนเหล่านั้นคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกมิจฉาทิฏฐิจักทักท้วงพวกเราว่า
เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลาย จึงกราบพระสมณโคดม เราทั้งหลายจักตอบพวก
มิจฉาทิฏฐินั้นว่า แม้ด้วยเหตุเพียงทำอัญชลี ก็จัดเป็นการกราบด้วยหรือ ? ถ้า
พวกสัมมาทิฏฐิจักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงไม่กราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เราทั้งหลายจักตอบว่า เพราะศีรษะกระทบพื้นดินเท่านั้น
หรือจึงจัดเป็นการกราบ แม้การประนมมือก็ถือเป็นการกราบเหมือนกันมิใช่
หรือ ?

ประกาศชื่อและโคตร


บทว่า นามโคตฺตํ ความว่า ชาวเวนาคปุระทั้งหลายเมื่อกล่าวว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อทัตตะเป็นบุตรของคนโน้น ชื่อมิตตะ เป็น

บุตรของคนโน้น มาในที่นี้ดังนี้ ชื่อว่า ประกาศชื่อ เมื่อกล่าวว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อ วาเสฏฐะ ข้าพเจ้าชื่อ กัจจายนะ มาในที่นี้ ดังนี้
ชื่อว่า ประกาศโคตร.
เล่ากันว่า ชาวเวนาคปุระเหล่านั้นยากจน เป็นคนแก่ ทำอย่างนั้นก็
ด้วยหวังว่า เราทั้งหลายจักปรากฏด้วยอำนาจชื่อและโคตรในท่ามกลางบริษัท.
ก็แล ชาวเวนาคปุระเหล่าใดนั่งนิ่ง ชาวเวนาคปุระเหล่านั้นเป็นคนตระหนี่
เป็นคนโง่. บรรดาชนเหล่านั้น พวกที่ตระหนี่คิดว่า เมื่อเราทำการสนทนา
ปราศัยคำหนึ่ง สองคำ พระสมณโคดมก็จะคุ้นเคยด้วย เมื่อมีความคุ้นเคยจะ
ไม่ให้ภิกษาหนึ่ง สองทัพพี ก็จะไม่เหมาะ ดังนี้ เมื่อจะปลีกตัวจากการสนทนา
ปราศัยนั้นจึงนั่งนิ่ง. พวกคนโง่นั่งนิ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งเหมือนก้อนดินที่ขว้างลง
เพราะความที่ตนเป็นคนไม่รู้. บทว่า เวนาคปุริโก ได้แก่ชาวเมืองเวนาคบุรี.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ชาวเมืองเวนาคบุรีมองดูพระสรีระของพระ-
ตถาคตเจ้า ตั้งแต่ปลายพระบาทขึ้นไปจนถึงปลายพระเกศา ก็เห็นพระสรีระ
ของพระตถาคตเจ้าประดับประดาด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ซึ่งรุ่งเรือง
ด้วยอนุพยัญชนะ 80 แวดล้อมด้วยพระพุทธรัศมีสีเข้ม 6 สี ซึ่งเปล่งออกจาก
พระสรีระไปครอบคลุมประเทศ โดยรอบได้ 80 ศอก จึงเกิดความพิศวง
งงงวย เมื่อจะกล่าวสรรเสริญคุณจึงได้กล่าวอย่างนี้ คือ ได้กล่าวคำมี อาทิว่า
อจฺฉริยํ โภ โคตม.

จิตผ่องใสทำให้อินทรีย์ 5 ผ่องใส



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวญฺจิทํ นี้ เป็นคำบ่งถึงการกำหนด
ประมาณยิ่ง. บทว่า ยาวญฺจิทํ นั้น สัมพันธ์เข้ากับบทว่า วิปฺปสนฺนํ.