เมนู

ความหมายเพียงทำบทให้เต็ม. บรรดาความหมาย 2 อย่างนั้น ด้วยความหมาย
แห่งอวธารณะ พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า พราหมณคหบดีทั้งหลายได้ยินแล้ว
ทีเดียว พราหมณคหบดีเหล่านั้นมิได้มีอันตรายแห่งการฟังอะไรเลย. และ
ในการทำบทให้เต็ม (ปทปูรณะ) พึงทราบแต่เพียงว่าเป็นความสละสลวยแห่ง
พยัญชนะเท่านั้น.

ความหมายของสมณะ



บัดนี้ เพื่อจะประกาศเนื้อความที่พราหมณคหบดีทั้งหลายได้ฟังแล้ว
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคำว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้นไว้.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะมีบาปอัน
สงบแล้ว. ศัพท์ว่า ขลุ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า ได้ฟังสืบ ๆ มา.
บทว่า โภ เป็นเพียงพราหมณคหบดีเหล่านั้นร้องเรียกกันและกัน. บทว่า
โคตโม เป็นบทแสดงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอำนาจโคตร. เหตุนั้น
ในบทว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณะผู้โคตมโคตร. ส่วนบทว่า สกฺยปุตฺโต นี้
เป็นบทแสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า สกฺยกุลา
ปพฺพชิโต
เป็นบทแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชด้วยศรัทธา. มีคำ
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ถูกความเสื่อมอะไรเลยครอบงำ ทรงละตระกูล
นั้นที่ยังไม่เสื่อมสิ้นเลย ทรงผนวชด้วยศรัทธา.
บทว่า ตํ โข ปน เป็นทุติยาวิภัติใช้ในความหมายบ่งบอกว่าเป็น
อย่างนี้. อธิบายว่า ก็ของพระโคดมผู้เจริญนั้นแล. บทว่า กลฺยาโณ
ได้แก่ ประกอบด้วยคุณอันงาม มีคำอธิบายว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า

กิตฺติสทฺโท ได้แก่ เกียรตินั่นเองหรือเสียงชมเชย. บทว่า อพฺภุคฺคโต
ได้แก่ ระบือไปถึงเทวโลก. ถามว่า กิตติศัพท์ระบือไปอย่างไร. ตอบว่า
ระบือไปว่า อิติปิ โส ภควา ฯ เป ฯ พุทฺโธ ภควา. ในพระบาลีนั้น
มีบทสัมพันธ์ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ ฯลฯ เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
เพราะเหตุนี้. มีคำอธิบายว่า เพราะเหตุนี้ด้วย เพราะเหตุนี้ด้วย. ในพระ-
พุทธคุณนั้น ท่านตั้งมาติกาไว้โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึง
ทราบว่า เป็นพระอรหันต์ ด้วยเหตุเหล่านี้คือ
1. เพราะเป็นผู้ไกล (จากกิเลส)
2. เพราะทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย
3. เพราะทรงหักซี่กำทั้งหลาย
4. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น
5. เพราะไม่มีความลับในการทำบาป
ดังนี้ แล้วขยายบทเหล่านี้ทุกบททีเดียว ให้พิสดารในพุทธานุสตินิเทศ
ในปกรณ์พิเศษชื่อวิสุทธิมรรค. นักศึกษาพึงถือเอาความพิสดารของบท
เหล่านั้นจากปกรณ์พิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรคนั้นเทอญ.
บทว่า โส อิมํ โลกํ ความว่า พระโคดมผู้เจริญนั้น ... โลกนี้.
ต่อไปนี้ จะแสดงคำที่จะพึงกล่าว. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ (สัตว์โลก)
พร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า สเทวกะ (สัตว์โลก) พร้อมทั้งมารอย่างนี้
ชื่อว่า สมารกะ (สัตว์โลก) พร้อมทั้งพรหม ชื่อว่า สพรหมกะ หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี หมู่สัตว์ที่ชื่อว่า ปชา

เพราะมีตัวตนเกิดจากน้ำ ซึ่งปชานั้น ปชาพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ชื่อว่า สเทวมนุสสะ. บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ พึงทราบว่า
มุ่งถึงเทวดาชั้นกามาจร 5 ชั้น ด้วยคำว่า สมารกะ พึงทราบว่า มุ่งถึงเทวดา
ชั้นกามาวจรชั้นที่ 6. ด้วยคำว่า สพรหมกะ พึงทราบว่า มุ่งถึงพรหม. ด้วย
คำว่า สัสสมณพรามณี พึงทราบว่า มุ่งถึงสมณพราหมณ์ผู้เป็นข้าศึกศัตรู
ต่อพระศาสนา และมุ่งถึงสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ผู้ลอยบาปแล้ว.
ด้วยคำว่า ปชา พึงทราบว่า มุ่งถึงสัตว์โลก. ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ
พึงทราบว่า มุ่งถึงสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ. ในที่นี้ สัตว์โลกพร้อมทั้ง
โอกาสโลก พึงทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วย 3 บท สัตว์โลกคือหมู่สัตว์ พึง
ทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วย 2 บท ดังพรรณนามาฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง โลกชั้นอรูปาวจร ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สเทวกะ
เทวโลกชั้นกามาวจร 6 ชั้น ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สมารกะ โลกของ
รูปพรหม ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สพรหมกะ มนุษยโลกพร้อมทั้งบริษัท
4 หรือสมมติเทพ หรือสัตว์โลกทั้งหมดที่เหลือ ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า
สัสมณพราหมณะ เป็นต้น. ฝ่ายพระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า
สเทวกํ ได้แก่ โลกที่เหลือพร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย. บทว่า สมารกํ ได้แก่
โลกที่เหลือพร้อมทั้งมาร. บทว่า สพฺรหฺมกํ ได้แก่ โลกที่เหลือพร้อมทั้ง
พรหม. เพื่อจะประมวลสัตว์ที่เข้าถึงภพ 3 ทั้งหมดไว้ใน 3 บท ด้วยอาการ
3 แล้วกำหนดถือเอาอีกด้วย 2 บท ท่านจึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณึ
ปชํ สเทวมนุสฺสํ
ดังพรรณนามานี้. ท่านกำหนดถือเอาธาตุ 3 นั่นแล
โดยอาการนั้น ๆ ด้วยบท 5 อย่างนี้แล.

บทว่า สยํ ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ มี
ความว่า ด้วยพระองค์เอง คือ ไม่มีคนอื่นแนะนำ. บทว่า อภิญฺญา แปลว่า
ด้วยอภิญญา อธิบายว่า ทรงรู้ด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สฺจฉิกตฺวา คือ
ทรงทำให้ประจักษ์ชัด. ท่านทำการปฎิเสธการคาดคะเนเป็นต้น ด้วยบทว่า
สจฺฉิกตฺวา นั้น. บทว่า ปเวเทติ คือ ทรงให้รู้ ได้แก่ทรงให้ทราบ คือ
ทรงประกาศ.

เบื้องต้น - ท่ามกลาง - ที่สุด



บทว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ ฯ ล ฯ ปริโยสานกลฺยาณํ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ถึงจะ
ทรงงด (พระธรรมเทศนาไว้ชั่วคราว) แล้วทรงแสดงความสุขอันเกิดจากวิเวก
อย่างยอดเยี่ยม.1 ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความสุขอันเกิด
จากวิเวกนั้นน้อยบ้าง มากบ้าง ก็ทรงแสดงเฉพาะประการที่มีความงามใน
เบื้องต้น เป็นต้นเท่านั้น มีคำอธิบายว่า ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่
ไม่ให้มีโทษเลย ทั้งในเบื้องต้น ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่ไม่ให้มีโทษเลย
ทั้งในท่ามกลางทั้งในที่สุด. ในข้อนั้นมีอธิบายว่า เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
ของเทศนามีอยู่ เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของศาสนา (คำสอน) ก็มีอยู่.
สำหรับเทศนาก่อน ในคาถา 4 บท บทที่ 1 ชื่อว่า เป็นเบื้องต้น
สองบทจากนั้นชื่อว่า เป็นท่ามกลาง บาทเดียวในตอนท้ายชื่อว่า เป็นที่สุด.
1. ปาฐะว่า หิตฺวาปิ อนุตฺตรํ วิเวกสุขํ เทเสติ ฏิกาจารย์ได้ขยายความออกไปว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า กำลังทรงแสดงธรรม ขณะที่บริษัทให้สาธุการ หรือพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังแล้ว
จะทรงงดแสดงธรรม ชั้นต้นไว้ชั่วคราวก่อน ทรงเข้าผลสมาบัติ และทรงออกจากสมาบัติ ตาม
ที่ทรงกำหนดไว้แล้ว จึงจะทรงแสดงธรรม ต่อจากที่ได้หยุดพักไว้.