เมนู

เสด็จจาริก 2 อย่างนั้น การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้ควรจะ
แนะนำให้รู้ได้แม้ในที่ไกลแล้ว ด่วนเสด็จไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะสอน
บุคคลนั้นให้รู้ ชื่อว่า การเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน. การเสด็จจาริก
อย่างรีบด่วนนั้น พึงเห็นในเวลาที่เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปะเป็นต้น.
ส่วนการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุเคราะห์โลกด้วยพุทธกิจ มีการ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น เสด็จไปตามลำดับหมู่บ้านวันละหนึ่งโยชน์ สองโยชน์
ชื่อว่า การเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอา
การเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วนนี้จึงตรัสคำนี้ว่า จาริกญฺจรมาโน. ก็กถาว่า
ด้วยการเสด็จจาริก ได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในอัมพัฏฐสุตตวรรณนา ใน
อรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี.

บ้านพราหมณ์


บทว่า พฺราหฺมณคาโม ความว่า หมู่บ้านที่พราหมณ์ทั้งหลายมาสโมสร
กันก็ดี หมู่บ้านที่พราหมณ์ทั้งหลายมาบริโภคก็ดี เรียกว่า หมู่บ้านพราหมณ์
(ทั้งนั้น). ในที่นี้ หมู่บ้านที่พราหมณ์ทั้งหลายมาสโมสรกัน ประสงค์เอาว่า
เป็นหมู่บ้านพราหมณ์. บทว่า ตทวสริ คือ เสด็จไปในหมู่บ้านพราหมณ์นั้น
อธิบายว่า เสด็จถึงแล้ว. ส่วนการประทับอยู่มิได้กำหนดไว้ในที่นี้. เหตุนั้น จึง
ควรทราบว่า ในที่ไม่ไกลหมู่บ้านพราหมณ์นั้น มีไพรสณฑ์แห่งหนึ่งซึ่งสมควร
แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระศาสดาเสด็จไปยังไพรสณฑ์นั้น.
บทว่า อสฺโสสุํ ความว่า (พราหมณคหบดีทั้งหลาย) ฟัง คือ ได้
เข้าไป ได้แก่ทราบตามกระแสเสียงที่เปล่งออกเป็นคำพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์
ว่า โข เป็นนิบาต ใช้ในความหมายแห่งอวธารณะ (ห้ามความอื่น) หรือใน

ความหมายเพียงทำบทให้เต็ม. บรรดาความหมาย 2 อย่างนั้น ด้วยความหมาย
แห่งอวธารณะ พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า พราหมณคหบดีทั้งหลายได้ยินแล้ว
ทีเดียว พราหมณคหบดีเหล่านั้นมิได้มีอันตรายแห่งการฟังอะไรเลย. และ
ในการทำบทให้เต็ม (ปทปูรณะ) พึงทราบแต่เพียงว่าเป็นความสละสลวยแห่ง
พยัญชนะเท่านั้น.

ความหมายของสมณะ



บัดนี้ เพื่อจะประกาศเนื้อความที่พราหมณคหบดีทั้งหลายได้ฟังแล้ว
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคำว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้นไว้.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะมีบาปอัน
สงบแล้ว. ศัพท์ว่า ขลุ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า ได้ฟังสืบ ๆ มา.
บทว่า โภ เป็นเพียงพราหมณคหบดีเหล่านั้นร้องเรียกกันและกัน. บทว่า
โคตโม เป็นบทแสดงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอำนาจโคตร. เหตุนั้น
ในบทว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณะผู้โคตมโคตร. ส่วนบทว่า สกฺยปุตฺโต นี้
เป็นบทแสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า สกฺยกุลา
ปพฺพชิโต
เป็นบทแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชด้วยศรัทธา. มีคำ
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ถูกความเสื่อมอะไรเลยครอบงำ ทรงละตระกูล
นั้นที่ยังไม่เสื่อมสิ้นเลย ทรงผนวชด้วยศรัทธา.
บทว่า ตํ โข ปน เป็นทุติยาวิภัติใช้ในความหมายบ่งบอกว่าเป็น
อย่างนี้. อธิบายว่า ก็ของพระโคดมผู้เจริญนั้นแล. บทว่า กลฺยาโณ
ได้แก่ ประกอบด้วยคุณอันงาม มีคำอธิบายว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า