เมนู

บทว่า ยํ คือในสมัยใด. บทว่า ตตฺถ มาตาปิ ปุตฺตํ น ปฏิลภติ
ความว่า เมื่ออัคคีภัยนั้นเกิดขึ้นแล้ว แม้มารดาก็ไม่ได้เห็นบุตร แม้บุตรก็
ไม่ได้เห็นมารดา.
บทว่า ภยํ โหติ ความว่า มีภัยคือความหวาดสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า
อฏวีสงฺโกโป ได้แก่ ความกำเริบของโจรผู้ซุ่มซ่อนอยู่ในดง. ก็ในบทว่า
อฏวี นี้ พึงทราบว่า ได้แก่โจรที่ซุ่มซ่อนอยู่ในดง. อธิบายว่า เมื่อใด
โจรเหล่านั้นออกจากดงลงสู่ชนบท เที่ยวปล้นทำลาย คาม นิคม และราชธานี
เมื่อนั้น ชื่อว่า มีความกำเริบของโจรอยู่ในดง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย
ถึงความกำเริบของโจรที่อยู่ในดงนั้น จึงตรัสคำนี้ว่า อฏวีสงฺโกโป.

คนขึ้นล้อ


ในบทว่า จกฺกสมารุฬฺหา นี้ มีอธิบายว่า หมุนไปทั้งจักร คือ
อิริยาบถ ทั้งจักรคือยาน. เพราะว่าเมื่อภัยมาถึง คนเหล่าใดมียาน คนเหล่านั้น
ก็ยกสิ่งของบริขารของตนขึ้นยานเหล่านั้น แล้วขับหนีไป คนเหล่าใดไม่มี
คนเหล่านั้นก็ใช้หาบ หรือใช้ศีรษะเทินหนีไปจนได้. คนเหล่านั้นชื่อว่า ขึ้นล้อ.
บทว่า ปริยายนฺติ ได้แก่ ไปข้างโน้น ข้างนี้.
บทว่า กทาจิ คือในกาลบางครั้งนั่นแล. บทว่า กรหจิ เป็น
ไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั่นเอง. บทว่า มาตาปิ ปุตฺตํ ปฏิลภติ
ความว่า (แม้มารดา) ย่อมได้เห็นบุตรผู้มาอยู่ ผู้ไปอยู่ หรือผู้หลบแอบอยู่
ในที่แห่งหนึ่ง. บทว่า อุทกวาหโก คือ เต็มแม่น้ำ. บทว่า มาตาปิ ปุตฺตํ
ปฏิลภติ
ความว่า บุตรลอยน้ำติดอยู่บนทุ่นหรือแพ ในภาชนะดินหรือบน
ท่อนไม้ มารดาก็ได้เห็น. ก็หรือว่า มารดาได้เห็นบุตรว่ายข้ามไปโดยปลอด
ภัยแล้ว ยืนอยู่ในหมู่บ้านหรือในป่า.