เมนู

บทว่า วิญฺญาณธาตุ ได้แก่ จิต. จิตนั้นได้แก่ วิญญาณขันธ์
เวทนาที่เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ สัญญาที่เกิดร่วมกับ
วิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ผัสสะและเจตนาที่เกิดร่วมกับวิญญาณ
ขันธ์นั้น ชื่อว่า สังขารขันธ์ ขันธ์ทั้ง 4 ดังว่ามานี้ ชื่อว่า อรูปขันธ์. อนึ่ง
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ชื่อว่า รูปขันธ์. บรรดารูปขันธ์
และอรูปขันธ์นั้น อรูปขันธ์ 4 เป็นนาม รูปขันธ์เป็นรูป. มีธรรมอยู่ 2 อย่าง
เท่านั้นคือ นาม 1 รูป 1. ไม่มีสัตว์หรือชีวะนอกจากธรรม 2 อย่างนั้น.
พึงทราบกัมมัฏฐานที่ทำให้บรรลุอรหัตผลตัวอำนาจธาตุ 6 โดยย่อของภิกษุ
รูปหนึ่ง ดังว่ามานี้.

กำหนดโดยพิสดาร



แต่พระโยคาวจร เมื่อจะกำหนดโดยพิสดาร ครั้นกำหนดมหาภูตรูป 4
แล้วจึงกำหนดอุปาทารูป 23 ตามแนวแห่งการกำหนดอากาสธาตุ. ต่อมา
เมื่อจะกำหนดปัจจัยของรูปเหล่านั้น ก็พิจารณาดูมหาภูตรูป 4 นั่นแลอีก
แล้วประมวลลงเป็นโกฏฐาสะ. (ส่วน) คือ บรรดามหาภูตรูป 4 นั้น ปฐวีธาตุ
มี 20 ส่วน อาโปธาตุมี 12 ส่วน เตโชธาตุมี 4 ส่วน วาโยธาตุมี 6 ส่วน
(รวมเป็น) กำหนดมหาภูตรูป 42 ส่วน. เพิ่มอุปาทารูป 23 เข้าไป (รวม
เป็น) กำหนดรูป 65 พระโยคาวจร พิจารณาเห็นรูป 65 เหล่านั้น และ
รวมวัตถุรูปเข้าด้วยเป็นรูป 66.
ส่วน วิญญาณธาตุ ได้แก่ จิต 81 โดยเป็นโลกิยจิต จิต 81
ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ แม้เวทนาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิต 81
นั้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน รวมความว่า เวทนา 81 ชื่อว่า เวทนาขันธ์
สัญญา 81 ชื่อว่า สัญญาขันธ์ เจตนา 81 ชื่อว่า สังขารขันธ์ รวมความว่า
อรูปขันธ์ทั้ง 4 เหล่านี้ เมื่อกำหนดด้วยอำนาจธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ก็ได้แก่
ธัมมายตนะ 324.