เมนู

อธิบายธาตุ



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาวะทั้งหลาย
ความหมายว่า สภาวะที่ประกาศถึงความไม่ใช่ชีวะไม่ใช่สัตว์ ชื่อว่า ความหมาย
ของธาตุ. บทว่า ผสฺสายตนานิ ได้แก่ ชื่อว่า อายตนะ เพราะหมายความ
ว่าเป็นบ่อเกิดของวิปากผัสสะทั้งหลาย. บทว่า มโนปวิจารา ได้แก่ การ
ท่องเที่ยวไปของใจในฐานะ 18 ด้วยเท้า คือ วิตกและวิจาร. บทว่า ปฐวีธาตุ
ได้แก่ ธาตุที่ตั้งมั่น. บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่เชื่อมประสาน
บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่ให้อบอุ่น. บทว่า วาโยธาตุ
ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่ให้เคลื่อนไหว. บทว่า อากาสธาตุ ได้แก่ ธาตุที่
ถูกต้องไม่ได้. บทว่า วิญฺญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่รู้แจ้ง.

ธาตุกัมมัฏฐาน



ธาตุกัมมัฏฐานนี้มาแล้วอย่างนี้. ก็แลกัมมัฏฐานนี้นั้น ในที่มาโดยย่อ
ควรกล่าวทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร แต่ในที่มาโดยพิสดาร จะกล่าวโดยย่อ
ไม่ควร ควรกล่าวแต่โดยพิสดารอย่างเดียว. ส่วนในติตถายตนสูตรนี้ กัม-
มัฏฐานนี้มาแล้ว ด้วยอำนาจธาตุ 6โดยย่อ. จะกล่าวกัมมัฏฐานนั้นทั้งสองอย่าง
(ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร) ก็ควร.

กำหนดโดยย่อ



พระโยคาวจรแม้เมื่อกำหนดกัมมัฏฐานด้วยอำนาจธาตุ 6 โดยย่อก็ย่อม
กำหนดอย่างนี้. รูป 5 เหล่านี้คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
จัดเป็นมหาภูตรูป อากาสธาตุ จัดเป็นอุปาทารูป และเมื่อเห็นอุปาทารูป
ประเภทเดียว อุปาทารูป 23 ที่เหลือ พึงกำหนดว่า ถูกเห็นด้วยเหมือนกัน.