เมนู

ของถ่องแท้อย่างนี้. ก็ถ้าบุคคลจะพึงได้ที่สิ่งที่ควรทำ จะพึงได้เว้นจากสิ่งที่
ไม่ควรทำไซร้ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เขาก็จะพึงได้โดยความเป็นของ
จริง โดยเป็นของแท้. แต่เพราะเหตุที่ไม่ได้ทั้ง 2 อย่าง อย่างนี้ ฉะนั้น กิจที่
ควรทำและไม่ควรทำนั้น เขาจึงไม่ได้โดยความเป็นของจริง โดยเป็นของแท้
คือว่าไม่ได้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า มุฏฺฐสฺสตีนํ ได้แก่ มีสติเลือนหายไป คือ ปล่อยสติไป.
บทว่า อนารกฺขานํ วิหรตํ ได้แก่ปราศจากอารักขา (ในทวารทั้ง 6) อยู่
บทว่า น โหติ ปจฺจตฺตํ สหธมฺมิโก สมณวาโท ความว่า วาทะว่า
เป็นสมณะ พร้อมทั้งเหตุเฉพาะตัว ว่าเราทั้งหลายเป็นสมณะ ย่อมไม่มี คือ
ไม่สำเร็จ แก่ท่านทั้งหลายหรือบุคคลเหล่าอื่น ผู้เป็นอย่างนี้. เพราะว่า แม้
สมณะทั้งหลายก็เป็นผู้มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกัน แม้ผู้มิใช่
สมณะก็เป็นผู้มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกันแล. บทว่า สหธมฺ-
มิโก
ได้แก่ พร้อมทั้งเหตุ. บทว่า นิคฺคโห โหติ ได้แก่ การข่มของเรา
ตถาคตมีอยู่. ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นเป็นอันถูกข่มแล้วแล. ครั้นทรงข่ม
ปุพเพกทวาทีบุคคลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงข่มอิสสรนิมมานวาทีบุคคล
จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว เป็นต้น. ความหมายของคำนั้น พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในปุพเพกตวาทะ ในอเหตุวาทะก็เหมือนกัน.

กระต่ายตื่นตูม



พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่ลัทธิเดียรถีย์เหล่านี้ว่าง
เปล่าแล้วอย่างนี้ เพราะถึงการสืบต่อกันมาดำรงอยู่ในฐานะเป็น อกิริยทิฏฐิ

ก็ดี ความที่ลัทธิเดียรถีย์เหล่านี้ไม่ใช่คุณธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ก็ดี
ความที่บุคคลผู้เธอถือในลัทธิเดียรถีย์ เป็นเหมือนกับแมลงค่อมทอง
ที่ส่งเสียงร้อง ด้วยความสำคัญในไฟ เพราะถึงความเป็นสภาพเหมือนกับการ
ตำแกลบ เนื่องจากไม่มีแก่นสารก็ดี ความที่บุคคลผู้มีลัทธิเดียรถีย์นั้น
เป็นทิฏฐิอุปมาเหมือนช่างสานตาบอด เพราะไม่มีการมองเห็นควานหมายของ
ลัทธิเดียรถีย์ ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งสุดท้ายก็ดี ความที่บุคคลผู้ยึดถือ
ลัทธิเดียรถีย์เหล่านั้น ด้วยเหตุเพียงเสียงเท่านั้น แล้วมีความเห็นว่าเป็นแก่นสาร
มีสภาพคล้ายกับกระต่ายที่ได้ฟังเสียงน่ากลัวของผลตาลสุกที่หล่นลงบนพื้นดิน
แล้วหนีไปด้วยสำคัญว่า แผ่นดินถล่มก็ดี บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความที่ธรรม
ที่พระองค์แสดงเป็นธรรมมีแก่นสาร และความเป็นธรรมเครื่องนำออก
จากทุกข์ จึงตรัสคำว่า อยํ โข ปน ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ส่วนว่าธรรมที่เราแสดงนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิคฺคหิโต คือ ไม่ถูกคนอื่นข่ม ได้แก่
ไม่มีใครสามารถจะข่มได้. บทว่า อสํกิลิฏฺโฐ คือ เป็นธรรมไม่หมองมัว ได้แก่
บริสุทธิ์ คือ อันบุคคลแม้คิดว่า จักทำธรรมนั้นให้เศร้าหมอง แล้วประพฤติ
ก็ไม่สามารถจะทำให้เป็นอย่างนั้นได้. บทว่า อนูปวชฺโช ได้แก่พ้นจากการ
ถูกว่าร้าย. บทว่า อปฺปฏิกุฏโฐ ความว่า ไม่ถูกปฏิเสธหรือไม่ถูกคัดค้าน
อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยธรรมนี้ ท่านทั้งหลายจงนำธรรมนั้นไปเสีย.
บทว่า วิญฺญูหิ ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. เพราะคำพูดของคนที่ไม่ใช่บัณฑิต
พูดโดยไม่รู้ ไม่เป็นประมาณ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิญฺญูหิ
ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตั้งปัญหาถามว่า
กตโม จ ภิกขเว แล้วตั้งมาติกาโดยนัยเป็นต้นว่า อิมา ฉ ธาตุโย เมื่อจะ
ทรงจำแนกแสดงตามลำดับ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิมา ฉ ธาตุโย อีก.

อธิบายธาตุ



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาวะทั้งหลาย
ความหมายว่า สภาวะที่ประกาศถึงความไม่ใช่ชีวะไม่ใช่สัตว์ ชื่อว่า ความหมาย
ของธาตุ. บทว่า ผสฺสายตนานิ ได้แก่ ชื่อว่า อายตนะ เพราะหมายความ
ว่าเป็นบ่อเกิดของวิปากผัสสะทั้งหลาย. บทว่า มโนปวิจารา ได้แก่ การ
ท่องเที่ยวไปของใจในฐานะ 18 ด้วยเท้า คือ วิตกและวิจาร. บทว่า ปฐวีธาตุ
ได้แก่ ธาตุที่ตั้งมั่น. บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่เชื่อมประสาน
บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่ให้อบอุ่น. บทว่า วาโยธาตุ
ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่ให้เคลื่อนไหว. บทว่า อากาสธาตุ ได้แก่ ธาตุที่
ถูกต้องไม่ได้. บทว่า วิญฺญาณธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่รู้แจ้ง.

ธาตุกัมมัฏฐาน



ธาตุกัมมัฏฐานนี้มาแล้วอย่างนี้. ก็แลกัมมัฏฐานนี้นั้น ในที่มาโดยย่อ
ควรกล่าวทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร แต่ในที่มาโดยพิสดาร จะกล่าวโดยย่อ
ไม่ควร ควรกล่าวแต่โดยพิสดารอย่างเดียว. ส่วนในติตถายตนสูตรนี้ กัม-
มัฏฐานนี้มาแล้ว ด้วยอำนาจธาตุ 6โดยย่อ. จะกล่าวกัมมัฏฐานนั้นทั้งสองอย่าง
(ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร) ก็ควร.

กำหนดโดยย่อ



พระโยคาวจรแม้เมื่อกำหนดกัมมัฏฐานด้วยอำนาจธาตุ 6 โดยย่อก็ย่อม
กำหนดอย่างนี้. รูป 5 เหล่านี้คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
จัดเป็นมหาภูตรูป อากาสธาตุ จัดเป็นอุปาทารูป และเมื่อเห็นอุปาทารูป
ประเภทเดียว อุปาทารูป 23 ที่เหลือ พึงกำหนดว่า ถูกเห็นด้วยเหมือนกัน.