เมนู

ทั้ง 3 นี้ ใครๆ ไม่สามารถจะเสวยได้ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปัจจุบันเป็น
มูลบ้าง เพราะการสั่งบังคับ (ของคนอื่น) เป็นมูลบ้าง เพราะกรรมที่ทำไว้
ในชาติก่อนบ้าง เพราะการนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุบ้าง บุรุษบุคคลเสวย
เวทนาเหล่านี้ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเลย. ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นมีวาทะ
อย่างนี้ จึงไม่ยอมรับเหตุทั้งหลายที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น มีโรคเป็นต้น
แม้สักอย่างหนึ่ง ปฏิเสธทั้งหมด.

พระพุทธเจ้าทรงตั้งลัทธิ



พระศาสดา ครั้นทรงยกมาติกาอย่างนี้ขึ้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนก
แสดงมาติกานั้น จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
ด้วยบทว่า เอวํ วทามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราตถาคตกล่าว
อย่างนี้ ก็เพื่อตั้งลัทธิ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตั้งลัทธิแล้ว ย่อมก้าว
เข้าสู่ลัทธิจากลัทธิที่ถูกข่มไว้. มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายจะกล่าวคำเป็นต้นได้
ว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายกล่าวปุพเพกตวาทะหรือ. แต่เมื่อตั้ง
ลัทธิแล้ว มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายก้าวเข้าหาลัทธิไม่ได้ ก็จะถูกข่มได้โดยง่าย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เอวํ วทามิ ดังนี้. แก่มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้น
ก็เพื่อยังลัทธิให้ตั้งไว้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เตนหายสฺมนฺโต ติดบทเป็น เตนหิ อายสฺมนฺโต. มีคำ
อธิบายอย่างไร. มีคำอธิบายว่า ถ้าข้อนั้นเป็นจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ตาม
วาทะของท่านทั้งหลายนั้น. บทว่า ปาณาติปาติโนภวิสฺสนฺติปุพฺเพ กตเหตุ

ความว่า บุรุษบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกฆ่าสัตว์ บุรุษบุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดจักเป็นปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุ. เพราะ
เหตุไร เพราะท่านทั้งหลายมีลัทธิดังนี้ว่า เขาสามารถเสวยกรรม คือ ปาณา-
ติบาต เพราะกรรมที่ตนทำไว้เป็นมูลก็หามิได้ เพราะการสั่งบังคับ (ของผู้อื่น)
เป็นมูลก็หามิได้ เพราะการนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุก็หามิได้ เพราะไม่มี
เหตุไม่มีปัจจัยก็หามิได้ เขาเสวยเพราะกรรมที่ทำไว้ในภพก่อนเป็นเหตุเท่านั้น.
ก็บุรุษบุคคลเป็นปาณาติบาต โดยอาการใด แม้เมื่องดเว้นจากปาณาติบาต
ก็จักงดเว้นโดยอาการนั้น คือ เพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจับลัทธิของมิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นนั่นแลได้แล้ว
จึงทรงข่มมิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้น ด้วยประการดังพรรณนามา ฉะนี้.
พึงทราบถ้อยคำขยายความ แม้ในบทว่า อทินฺนาทายิโน เป็นต้นโดยนัยนี้.
บทว่า สารโต ปจฺจาคจฺฉตํ ได้แก่ ยึดถือโดยความเป็นสาระ.
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความพอใจความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำ). ในบทว่า อิทํ วา กรณียํ อิทํ วา อกรณียํ นี้ มีอธิบาย
ดังนี้ ว่า ไม่มีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ หรือความบากบั่นของบุรุษเฉพาะตัว
เพื่อต้องการทำสิ่งที่ควรทำ ด้วยคิดว่า สิ่งนี้ควรทำ หรือเพื่อไม่ต้องการทำสิ่ง
ที่ไม่ควรทำ ด้วยคิดว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อฉันทะและวายามะ
ไม่มี ก็ไม่มีความคิดว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ. บทว่า อิติ กรณียา
กรณีเย โข ปน สจฺจโต เถตโต อนุปลพฺภิยมาเน
ความว่า เมื่อ
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ไม่ปรากฏ คือ ไม่ได้โดยความเป็นจริง โดยเป็น

ของถ่องแท้อย่างนี้. ก็ถ้าบุคคลจะพึงได้ที่สิ่งที่ควรทำ จะพึงได้เว้นจากสิ่งที่
ไม่ควรทำไซร้ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เขาก็จะพึงได้โดยความเป็นของ
จริง โดยเป็นของแท้. แต่เพราะเหตุที่ไม่ได้ทั้ง 2 อย่าง อย่างนี้ ฉะนั้น กิจที่
ควรทำและไม่ควรทำนั้น เขาจึงไม่ได้โดยความเป็นของจริง โดยเป็นของแท้
คือว่าไม่ได้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า มุฏฺฐสฺสตีนํ ได้แก่ มีสติเลือนหายไป คือ ปล่อยสติไป.
บทว่า อนารกฺขานํ วิหรตํ ได้แก่ปราศจากอารักขา (ในทวารทั้ง 6) อยู่
บทว่า น โหติ ปจฺจตฺตํ สหธมฺมิโก สมณวาโท ความว่า วาทะว่า
เป็นสมณะ พร้อมทั้งเหตุเฉพาะตัว ว่าเราทั้งหลายเป็นสมณะ ย่อมไม่มี คือ
ไม่สำเร็จ แก่ท่านทั้งหลายหรือบุคคลเหล่าอื่น ผู้เป็นอย่างนี้. เพราะว่า แม้
สมณะทั้งหลายก็เป็นผู้มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกัน แม้ผู้มิใช่
สมณะก็เป็นผู้มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกันแล. บทว่า สหธมฺ-
มิโก
ได้แก่ พร้อมทั้งเหตุ. บทว่า นิคฺคโห โหติ ได้แก่ การข่มของเรา
ตถาคตมีอยู่. ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นเป็นอันถูกข่มแล้วแล. ครั้นทรงข่ม
ปุพเพกทวาทีบุคคลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงข่มอิสสรนิมมานวาทีบุคคล
จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว เป็นต้น. ความหมายของคำนั้น พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในปุพเพกตวาทะ ในอเหตุวาทะก็เหมือนกัน.

กระต่ายตื่นตูม



พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่ลัทธิเดียรถีย์เหล่านี้ว่าง
เปล่าแล้วอย่างนี้ เพราะถึงการสืบต่อกันมาดำรงอยู่ในฐานะเป็น อกิริยทิฏฐิ