เมนู

มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธวิบาก 2 อย่าง (ข้างต้น) ยอมรับแต่เฉพาะอปร-
ปริยายวิบากอย่างเดียวเท่านั้น.
แม้ในกองเจตนา 4 ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ กุศล
เจตนา 1 อกุศลเจตนา 1 วิปากเจตนา 1 กิริยเจตนา 1
มิจฉาทิฏฐิก
บุคคลปฏิเสธเจตนา 3 ชนิด ยอมรับแต่เฉพาะวิปากเจตนาอย่างเดียวเท่านั้น.

อธิบายอิสสรนิมมานเหตุ


บทว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ แปลว่า เพราะการนิรมิตของพระอิศวร
เป็นเหตุ. อธิบายว่า บุรุษบุคคลเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขม-
สุขเวทนา ก็เพราะถูกพระอิศวรนิรมิต (บันดาล). ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคล
เหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า เวทนาทั้ง 3 นี้ บุรุษบุคคลไม่สามารถเสวยได้
เพราะมีกรรมที่ตนทำไว้ในปัจจุบัน เป็นมูลบ้าง เพราะสั่งบังคับ (ของคนอื่น)
เป็นมูลบ้าง เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในชาติก่อนบ้าง เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
(คือ โดยบังเอิญ) บ้าง แต่บุรุษบุคคลเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะการนิรมิต
ของพระอิศวรเป็นเหตุอย่างเดียว.
ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านี้มีวาทะอย่างนี้ จึงไม่ยอมรับโรคแม้ชนิด
หนึ่งในบรรดาโรค อย่างที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ปฏิเสธทั้งหมด และไม่
ยอมรับกรรมชนิดหนึ่งในบรรดากองกรรม 3 ชนิด วิบากชนิดหนึ่งในบรรดา
กองวิบาก 3 ชนิด และเจตนาชนิดหนึ่งในบรรดากองเจตนา 4 ชนิด ที่กล่าว
ไว้แล้วในตอนต้น ปฏิเสธทั้งหมด.

อธิบายอเหตุปัจจยา


บทว่า อเหตุอปจฺจยา ได้แก่ เว้นจากเหตุและปัจจัย. อธิบายว่า
บุรุษบุคคลเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา โดย
ไม่มีเหตุเลย. ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า เวทนา

ทั้ง 3 นี้ ใครๆ ไม่สามารถจะเสวยได้ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปัจจุบันเป็น
มูลบ้าง เพราะการสั่งบังคับ (ของคนอื่น) เป็นมูลบ้าง เพราะกรรมที่ทำไว้
ในชาติก่อนบ้าง เพราะการนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุบ้าง บุรุษบุคคลเสวย
เวทนาเหล่านี้ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเลย. ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นมีวาทะ
อย่างนี้ จึงไม่ยอมรับเหตุทั้งหลายที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น มีโรคเป็นต้น
แม้สักอย่างหนึ่ง ปฏิเสธทั้งหมด.

พระพุทธเจ้าทรงตั้งลัทธิ



พระศาสดา ครั้นทรงยกมาติกาอย่างนี้ขึ้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนก
แสดงมาติกานั้น จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
ด้วยบทว่า เอวํ วทามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราตถาคตกล่าว
อย่างนี้ ก็เพื่อตั้งลัทธิ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตั้งลัทธิแล้ว ย่อมก้าว
เข้าสู่ลัทธิจากลัทธิที่ถูกข่มไว้. มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายจะกล่าวคำเป็นต้นได้
ว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายกล่าวปุพเพกตวาทะหรือ. แต่เมื่อตั้ง
ลัทธิแล้ว มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายก้าวเข้าหาลัทธิไม่ได้ ก็จะถูกข่มได้โดยง่าย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เอวํ วทามิ ดังนี้. แก่มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้น
ก็เพื่อยังลัทธิให้ตั้งไว้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เตนหายสฺมนฺโต ติดบทเป็น เตนหิ อายสฺมนฺโต. มีคำ
อธิบายอย่างไร. มีคำอธิบายว่า ถ้าข้อนั้นเป็นจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ตาม
วาทะของท่านทั้งหลายนั้น. บทว่า ปาณาติปาติโนภวิสฺสนฺติปุพฺเพ กตเหตุ