เมนู

มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธวิบาก 2 อย่าง (ข้างต้น) ยอมรับแต่เฉพาะอปร-
ปริยายวิบากอย่างเดียวเท่านั้น.
แม้ในกองเจตนา 4 ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ กุศล
เจตนา 1 อกุศลเจตนา 1 วิปากเจตนา 1 กิริยเจตนา 1
มิจฉาทิฏฐิก
บุคคลปฏิเสธเจตนา 3 ชนิด ยอมรับแต่เฉพาะวิปากเจตนาอย่างเดียวเท่านั้น.

อธิบายอิสสรนิมมานเหตุ


บทว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ แปลว่า เพราะการนิรมิตของพระอิศวร
เป็นเหตุ. อธิบายว่า บุรุษบุคคลเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขม-
สุขเวทนา ก็เพราะถูกพระอิศวรนิรมิต (บันดาล). ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคล
เหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า เวทนาทั้ง 3 นี้ บุรุษบุคคลไม่สามารถเสวยได้
เพราะมีกรรมที่ตนทำไว้ในปัจจุบัน เป็นมูลบ้าง เพราะสั่งบังคับ (ของคนอื่น)
เป็นมูลบ้าง เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในชาติก่อนบ้าง เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
(คือ โดยบังเอิญ) บ้าง แต่บุรุษบุคคลเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะการนิรมิต
ของพระอิศวรเป็นเหตุอย่างเดียว.
ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านี้มีวาทะอย่างนี้ จึงไม่ยอมรับโรคแม้ชนิด
หนึ่งในบรรดาโรค อย่างที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ปฏิเสธทั้งหมด และไม่
ยอมรับกรรมชนิดหนึ่งในบรรดากองกรรม 3 ชนิด วิบากชนิดหนึ่งในบรรดา
กองวิบาก 3 ชนิด และเจตนาชนิดหนึ่งในบรรดากองเจตนา 4 ชนิด ที่กล่าว
ไว้แล้วในตอนต้น ปฏิเสธทั้งหมด.

อธิบายอเหตุปัจจยา


บทว่า อเหตุอปจฺจยา ได้แก่ เว้นจากเหตุและปัจจัย. อธิบายว่า
บุรุษบุคคลเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา โดย
ไม่มีเหตุเลย. ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า เวทนา