เมนู

อธิบายปุพเพกตเหตุวาทะ


บทว่า ปุพฺเพกตเหตุ แปลว่า เพราะกรรมที่คนทำไว้ในชาติก่อน
เป็นเหตุ อธิบายว่า บุรุษบุคคลเสวย (สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขม-
สุขเวทนา) เพราะกรรมที่คนทำไว้ในชาติก่อนเป็นปัจจัยเท่านั้น. ด้วยบทว่า
ปุพฺเพกตเหตุ นี้ มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายปฏิเสธ กรรมเวทนา (เวทนา
เกิดแต่กรรม) และกิริยเวทนา (เวทนาเกิดแต่กิริยา) ยอมรับแต่เฉพาะวิปาก
เวทนา (เวทนาที่เกิดจากวิบาก) อย่างเดียวเท่านั้น.

ว่าด้วยโรค 8 อย่างเป็นต้น



พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโรคไว้8อย่างเหล่านี้ คืออาพาธมีน้ำดี(กำเริบ)
เป็นสมุฏฐาน 1 อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน 1 อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน 1
อาพาธที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ โรคลม มาประชุมกัน 1 อาพาธที่เกิดจาก
เปลี่ยนฤดู 1 อาพาธที่เกิดจากการบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง 1 อาพาธ
ที่เกิดจากการพยายาม (ทำให้เกิดขึ้น) 1 อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรม 1. ใน
โรคทั้ง 8 อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธโรค 7 อย่างข้างต้นแล้วยอมรับ
แต่เฉพาะโรคชนิดที่ 8 เท่านั้น.
ในบรรดากองแห่งกรรม 3 ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ
ทิฏฐธรรมเวรทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพปัจจุบัน) 1 อุปปัชชเวทนีย-
กรรม
(กรรมให้ผลในภพถัดไป) 1 อปรปริยายเวทนียกรรม (กรรมให้
ผลในภพต่อ ๆ ไป) 1 มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธกรรม 2 ชนิด (ข้างต้น )
ยอมรับแต่เฉพาะอปรปริยายกรรม อย่างเดียวเท่านั้น. แม้ในกองวิบาก 3 ชนิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ ทิฏฐธรรม เวทนียวิบาก (วิบากของกรรม
ที่ให้ผลในปัจจุบัน) 1 อุปปัชชเวทนียวิบาก (วิบากของกรรมที่ให้ผลในภพ
ถัดไป) 1 อปรปริยายเวทนียวิบาก (วิบากของกรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป)1.